วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

วันแตกบ้านที่ร้อยเอ็ด


รัฐบาล/เกษตรกร/ชาวนา/ประมงพื้นบ้าน

วันแตกบ้านที่ร้อยเอ็ด

วันนี้(16 มี.ค. 53) ชาวตำบลเทอดไทย ตำบลเหล่า ตำบลทุ่งเขาหลวง ตำบลมะบ้า ตำบลบึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด มีประเพณีแตกบ้าน โดยชาวบ้านจะหอบลูกจูงหลานออกจากบ้าน ไป รับประทานอาหาร ตามทุ่งนานอกหมู่บ้าน ทำพิธี นั่งนอน โดยมี แม่หม้ายเป็นคนไปเรียกให้ออกจากหมู่บ้าน จากนั้นเวลาประมาณ 20.00 น.จึงพากันกลับเข้าหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง เป็นการสร้างกล ให้เภทภัยหายไป โดยวันแตกบ้าน ถือเอา วัน วันที่ถือว่าเป็นวันอุบาทว์ วันจัญไร วันโลกาวินาศ หรือวันโลกแตก คือวันที่เลข 5 มาจบกัน และตรงกับวันอังคาร คำว่าเลข 5 มาจบกันคือวันขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เดือน 5 และตรงกับวันอังคารด้วยถ้าไม่ตรงกับวันอังคารจะไม่เป็นไร ส่วนปีไม่สำคัญจะเป็นปีอะไรก็ได้ หากวัน (ทางจันทรคติ) ดังกล่าวมาเจอกันต้องทำพิธีแตกบ้าน  วันที่ 16 มี.ค. 53 ตรงกันพอดี ในปี 2553

ประเพณีแตกบ้านคำว่า “แตกบ้าน” หมายถึงการอพยพเคลื่อนย้ายบ้านไปหาที่อยู่ใหม่ เพราะบ้านเดิมมีเหตุเภทภัยต่าง ๆ นานา อาจเพราะเกิดโรคระบาดรุนแรง มีผีสางนางไม้อาละงาดหมู่บ้าน มีผีห่าลงกินคนและสัตว์หรือเพราะความฝันและทำนายของพ่อกะจ้ำ (ผู้นำทางจิตวิญญาณให้หนีจากที่เดิม) ตลอดจนกลัวสัตว์ร้ายต่าง ๆ จะมาทำอันตราย ฯลฯ นั่นคือความหมายของการแตกบ้านที่เกิดจากสภาพจริง แต่ประเพณีการแตกบ้านในที่นี้คือการทำพิธีแตกบ้านหรืออพยพย้ายบ้านตามประเพณีความเชื่อเท่านั้นซึ่งปัจจุบันยังมีการปฏิบัติอย่างมากมายและค่อนข้างจะเคร่งครัดในบางท้องถิ่น ซึ่งมีความเป็นมาการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. ความเป็นมา การแตกบ้านไม่มีใครทำการศึกษาและมีหลักฐานอ้างอิงจึงไม่ทราบความเป็นมาที่ชัดเจน ถามจากคนเฒ่าคนแก่ก็บอกทำตามประเพณีเกี่ยวกับวันอุบาทว์ วันอัปมงคลที่พ่อพราหมณ์กล่าวไว้เท่านั้น เพราะเชื่อกันว่าวันที่จะต้องทำพิธีแตกบ้านนั้น เป็นวันไม่ดี จะมีความเดือนร้อน อันตรายต่าง ๆ จะตามมาหากไม่ทำพิธีแตกบ้านไปอยู่ที่อื่น เมื่อได้ปฏิบัติติดต่อกันมาเรื่อย ๆ จึงกลายเป็นประเพณีไปในที่สุด

2. วันเดือนปีที่ต้องแตกบ้าน พ่อพราหมณ์โบราณอีสานบอกว่าวันและเดือนที่จะต้องทำพิธีแตกบ้านคือวัน และเดือนต่อไปนี้

2.1 วัน วันที่ถือว่าเป็นวันอุบาทว์ วันจัญไร วันโลกาวินาศ หรือวันโลกแตก คือวันที่เลข 5 มาจบกัน และตรงกับวันอังคาร คำว่าเลข 5 มาจบกันคือวันขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เดือน 5 และตรงกับวันอังคารด้วยถ้าไม่ตรงกับวันอังคารจะไม่เป็นไร ส่วนปีไม่สำคัญจะเป็นปีอะไรก็ได้ หากวัน (ทางจันทรคติ) ดังกล่าวมาเจอกันต้องทำพิธีแตกบ้าน

2.2 เดือน สำหรับเดือนที่จะต้องแตกบ้านคือเดือน 5 ดังได้กล่าวแล้วในข้อ 2.1 ส่วน อื่น ๆ แม้วันดังกล่าวจะมาบรรจบกันก็ไม่ถือปฏิบัติ การถือเอาเดือน 5 หรือเดือนเมษายน เป็นเดือน แตกบ้าน อาจเป็นเพราะเดือนนี้เป็นเดือนที่แห้งแล้งอากาศร้อนความทุกข์ยากลำบากเข้าครอบคลุมแผ่นดินอีสาน ปราชญ์อีสานจึงกลัวความสูญเสียตามความเชื่อทางหมอพราหมณ์จึงได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

3. พิธีปฏิบัติกิจกรรม เมื่อรู้ว่าวันดังกล่าวมาบรรจบกันผู้นำทางพิธีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพ่อพราหมณ์ก็จะประกาศให้ลูกบ้านรู้ว่า วันนี้จะต้องมีการแตกบ้านตามประเพณี ลูกบ้านก็จะบอกลูกหลานให้เตรียมตัว ข้าวของอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะเป็นสำหรับการดำรงชีพ มีข้าว น้ำ อาหาร เป็นต้น เมื่อเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้พร้อมแล้ว คนเฒ่าคนแก่ก็จะพาลูกหลานเดินทางออกจากหมู่บ้านตั้งแต่เช้า โดยออกเดินทางไปทางทิศคะวันออก ส่วนใหญ่จะพักอยู่ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ หนองน้ำ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากิน หลังจากได้ที่พัก วางข้าวของเรียบร้อยแล้วพวกผู้ชายก็จะออกไปหาอาหารตามแหล่งน้ำบ้างทุ่งนาบ้าง ส่วนพวกผู้หญิงก็จะพากันพักผ่อนพูดคุ

สารทุกข์สุกดิบกัน เด็ก ๆ ก็จะเล่นไล่กันตามประสา เมื่อบรรดาพ่อบ้าน คนหนุ่มหาอาหาร พวกแม่บ้านก็จะพากันทำอาหาร รวมทั้งอาหารที่เตรียมมาจากบ้านเดิม ทำเสร็จแล้วร่วมกันรับประทานเป็นพาข้าววงใหญ่กลางทุ่งนาเป็นภาพเหตุการณ์ที่ น่าประทับใจยิ่ง บางท้องถิ่นจะมีพระสงฆ์เดินทางมาด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการถวายอาหารเพลด้วย แต่ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะไม่ร่วมในพิธีกรรมนี้ เพราะเป็นพิธีพราหมณ์ที่ชัดเจนมาก พอถึงตอนเย็นก็จะพากันเก็บข้าวของสัมภาระเครื่องใช้กลับบ้าน โดยมีพ่อพราหมณ์แต่งชุดพราหมณ์ (นุ่งขาวห่มขาวสะพายย่ามมือถือดาบ) เต็มยศเดินไปเรียกลูกหลานกบลับบ้าน พ่อพราหมณ์จะทำเป็นบอกว่า “มาเด้อลูกหลานเอ้ย บัดนี้บ้านของเราอยู่เป็นสุขแล้วไม่มีเสนียดจัญไร ไม่มีอะไรน่ากลัวแล้ว จงกลับบ้านพวกเฮาเถอะ” ชาวอีสานเรียกว่า ผู้มีบุญมาเรียกกลับบ้าน แต่ก่อนจะเดินทางกลับมามีการสนทนากันก่อน ซึ่งคำสนทนาจะเป็น ดังนี้

ชาวบ้าน พ่อพราหมณ์มาจากไหน พ่อพราหมณ์ มาจากบ้านเราโน่นแหละลูกหลานเอ้ย ชาวบ้าน หมู่บ้านเราเป็นอย่างไร พ่อพราหมณ์ หมู่บ้านเราอยู่สุขสบาย ชาวบ้าน เหตุร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร พ่อพราหมณ์ เหตุร้ายต่าง ๆ พ่อพราหมณ์ได้ขับไล่ออกไปหมดแล้ว ชาวบ้าน ถ้าอย่านั้นก็กลับบ้านได้ใช่ไหมพ่อพราหมณ์ พ่อพราหมณ์ กลับบ้านได้แล้ว ที่มานี้ก็มาบอกเพื่อให้กลับบ้านนั่นแหละ

ผู้ที่มาเรียกชาวบ้านกลับบ้านนั้นบางท้องถิ่นจะมีพระมาเรียกด้วย เพราะพระคือที่พึ่งคือขวัญและกำลังใจของชาวบ้านและพระจะเป็นผู้ช่วยพูดกับพ่อพราหมณ์แต่บางแห่งก็จะไม่มีพระมาเกี่ยวข้องเพราะพระท่านถือว่าเป็นเรื่องของพราหมณ์พระไม่เกี่ยว เมื่อสนทนากันตามประเพณีความเชื่อเสร็จแล้วพ่อพราหมณ์ก็พาชาวบ้านเดินทางกลับบ้าน ต่อไปโดยต้องเดินทางเข้าไปวัดก่อนจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองจึงแยกย้ายกลับบ้าน แต่ปัจจุบันจะแยกย้ายกลับใครกลับมันเลยเป็นส่วนใหญ่ และช่วงการสนทนากับพ่อพราหมณ์แต่ละแห่งก็แตกต่างกัน บางแห่งอาจดัดแปลงแต่งคำพูดไปต่าง ๆ นานาตามความเหมาะสมและค่านิยมของแต่ละแห่ง เมื่อชาวบ้านกลับบ้านก็เป็นเสร็จพิธี

วัชรินทร์  เขจรวงศ์/รางาน***

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 344836เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

แปลกดีจังเลยนะคะ เพิ่งเคยได้ยินค่ะ แต่เป็นประเพณีที่ดีค่ะ ทำให้ญาติพี่น้องได้มาอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามคคีค่ะ

-สวัสดีครับ

-วันแตกบ้าน....น่าสนใจดีนะครับ

-เพิ่งเคยได้ยิน

-ที่คุ้นเคยมีแต่ "บ้านแตก สาแหรกขาด" น่ะครับ...

สวัสดีค่ะพี่ดีเจ

ไปแตกมากับเขาเหมือนกันค่ะ...สนุกมาก

ครูกระเเต

สวัสดีครับ

ขอแสดงความคิดเห็นครับ

เราเป็น ชาวพุทธ จะปฏิบัติสิ่งใดก็ให้มีเหตุ มีผล มิใช่เชื่อเพียงเพราะว่า ปฏิบัติตามกันมา, ทำตามที่คนอื่นพาทำ, หากไม่ทำจะเกิดสิ่งนั้น สิ่งนี้ อันเชื่อว่าเป็นร้ายต่อตนเอง ดังนั้นควรไตร่ตรอง หาเหตุผลให้ลึกกว่านี้ ว่าจริงๆแล้ว การแตกบ้าน ทำไมต้องทำ ผมว่าน่าจะมีเหตุผลที่แยบคายที่พิสูจน์ได้มากกว่านี้นะครับ เราจะได้ปฏิบัติ และบอกกับลูกหลานของเราอย่างมีเหตุ มีผล ตามหลักกาลมสูตร ของพุทธศาสนา อย่างแท้จริง

  • เรียน คุณ ม [IP: 146.23.250.105] เมื่อ อ. 25 พฤษภาคม 2553 @ 08:57 #2013445 [ ลบ ]
  • ***ความเป็นจริง ความคิดของท่านถูกต้อง..แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ ผมทำงานส่งเสริมการเกษตร เกี่ยวข้องกับความเชื่อมากๆ
  • ชาวบ้านภาคอีสาน ตามชนบท ยังมีความเชื่อว่า..การปลูกมะพร้าว หากเป็นลูกจะได้ล้างหน้าตนเอง
  • หากปลูกไผ่พอเป็นลำจะได้หามตนเอง...เป็นความเชื่อคือกลัวตาย..
  • ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ  ครูสอนผมมาว่า อย่ายุ่งเขามากนัก
  • เรื่องประเพณีเเตกบ้าน ผมเพิ่งได้ยินมา เลยทดลองเข้า google.co.th/มีจริงมันเป็นความเชื่อมายาวนานเพียงใดมิทราบ..แต่จะห้ามชาวบ้าน ยากมากๆ
  • เปรียบเสมือน คนตายที่ถูกฟ้าผ่า...การตายต้องฝังทั้งยืน มีกะทะคลุมหัวและไม่มีการขุดมาทำบุญอีกเลย...เป็นวิญญาณเร่ร่อนทำบุญต้องหยาดน้ำนอกวัด..เพราะฟ้าลงโทษทัณฑ์..ชาวบ้านเล่าให้ฟังครับและเห็นการฝังมากับตาตนเอง...ทำเป็นท่อเหมือนขุดบ่อ..นำโลงศพลงทางตั้ง กะทะครอบแล้วฝัง...ทั้งยืน...สลดหดหู่มากๆ
  • กระบวนการความเชื่อ หากปล่อยไปเรื่อยจะจางหายไปเองเมื่อความเจริญมาถึงและข้อสำคัญหากความเชื่อนั้น ไม่เป็นบ่อนทำลายชาติ ทำลายความสามัคคี หรือสร้างความแตกแยก.... ก็ให้เป็นไปตามธรรมชาติครับ
  • อย่างหลายหมู่บ้านเชื่อว่า "ผีแม่หม้าย" จะมารับผู้ชาย ต้องทำปลัดขิก นายอำเภอขิก หรือผู้ว่าขิก เพราะใหญ่โตมากผู้ชายนุ่งผ้าถุงทาเล็บแดง...บางพื้นที่ผีจะมารับคนแก่ จะเขียนไว้ที่หน้าบ้านว่า "บ้านนี้ไม่มีคนแก่"...บางปีคนเกิดปีมะ(มะโง มะเส็ง....)ต้องมากินตำมะละกอสาย "บักหุ่งติ่ง" ที่สี่แยกกลางหมู่บ้านเเก้เคล็ด
  • มันเป็นความเชื่อ แต่ชุมชนใกล้เมืองหายไปเองครับ
  • ผมทำงานในชนบทมากว่า 30 ปี บางพื้นที่ หยุดงานทุกวัน "พระ"
  • อยู่กับบ้าน โรงสีข้าว ตำข้าวห้าม..รถยนต์ จักรยานยนต์ ห้ามขับเข้าหมู่บ้าน..แต่วันเวลาผ่านไปมันหายไปเอง
  • หากคุรไปอธิบายให้เขาฟัง...เขาไม่เชื่อเพียงแต่หลังวันนั้น..ต้องหยิบประเด็น..มาเป็นข่าววิทยุกระจายเสียง..เล่าให้ฟัง...หมู่บ้านใดยึดประเพณีบรรพบุรุษจะมีความสุขความเจริญ...อย่าไปบอกว่า..งมงาย..ระวัง "ปาก"...จะไม่มีฟัน...เพราะการดูหมิ่นเหยียดหยามความเชื่อ...ออกจากรัฐมนตรี 1 คน...ครั้งสงครามศาสนาอิสลาม...รมว.1 ท่านบอกว่า เอาระเบิดน้ำมันหมู..ฮาไม่ออกเพราะหลุดจากตำแหน่ง...

ผมคนแก่คนหนึ่งในอนาคตครับอันใกล้นี้

ใช่ครับผมก็งงมาก ตื่นเช้ามา มีคนมาบอกยายว่า แตกบ้านแตกเมือง ซึ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนก็เลยมาค้นหาว่ามันคืออะไร

คนมองความเปลียนแปลงของใลก [ทั้งนอกและใน]

ประเพณี..เปรียบเสมือนคลื่นพลังสามัคคีของคนส่วนมาก ถ้ามีใครต่อต้านคนๆนั้นก็จะล้มอย่างหมดท่า เพราะทุกอย่างเมื่อเกิดขี้น มันก็ดับลงเป็นเรื่องธรรมดา...มันเป็นเช่นนั้นเอง..


วันนี้ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ให้พากันแตกบ้าน บ่ซั่นยักษ์สิมากินหัว เฮ็ดให้บ้านเมืองเป็นบ้านฮ้างเมืองฮ้าง ยักษ์สิบ่ได้เข้าบ้านเข้าเมือง ไผบ่เซื่อกะบ่ต้องแตกบ้านนำเขา ผู้เชื่อเพิ่นกะเชื่อของเพิ่นห้ามกันบ่ได้ดอก แต่ขอบอกไว้เลยว่า "แตกบ้าน" ม่วนอีหลีครับ

คำว่า จารีตประเพณี ความเชื่อ มันมีสืบทอดกันมายาว " ผมคนหนึ่งหละ ที่ยังยึดถือกับเรื่องนี้อยู่ " เพราะถ้ามันไม่เสียหาย หรือไปทำความเดือดร้อนให้ใคร มันก็เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะรักษามันไว้ แม่นบ่ครับพี่น้อง

บ้านผมก็มีครับ วันนี้เลย

Gclub

ถ้าเราฆ่าสัตว์ในวันแตกบ้าน มันจะเป็นไรไหมครับ

เป็นคนอิสาน ส่วย ศรีสะเกษ

พื้นฐานอิสานเราเริ่มจากพราหมณ์ ผมเองก็ไม่เคยได้ยินประเพณีนี้

แต่ผมเชื่ออยู่อย่างวัฒนธรรม ประเพณี แต่ละภาค มีข้อดี คือทำให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคี สิ่งที่คนในเมืองไม่มี คือ ความร่วมมือ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล เพราะสิ่งที่เราทำ เราเชื่อก็ไม่เดือนร้อนใคร ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วสบายใจทำแล้วเกิดความสามัคคี นั้นคือ เหตุและผ




พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท