การปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง


การปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง

สวัสดีครับ  ท่านผู้อ่านทุกท่าน ...

                 วันนี้ข้าพเจ้าขอนำประเด็นมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการปฎิรูปการศึกษารอบ2 ซึ่งจะมีการเน้นในเรื่อง คุณภาพการศึกษา โอกาสทางการศึกษา และ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การบริหารของท่านชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมว ศึกษาธิการได้ให้นโยบายไว้ในโอกาสที่ท่านเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งจะขอนำมาสรุปดังนี้

            ๑. การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง จะให้ความสำคัญในเรื่อง คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา และร่วมขับเคลื่อนโดยพร้อมเพรียงกัน
            ๒. โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเตรียมการให้เสร็จก่อนเปิดภาคเรียน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้คุณภาพดีกว่าเดิม โดยยึดหลัก ภาคี ๔ ฝ่าย ได้แก่ ครู กรรมการนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชนที่ต้องเข้ามาดูแล
            ๓. จัดตั้ง “โรงเรียนดีประจำตำบล” จะนำร่องเขตพื้นที่การศึกษาละ ๑ โรงเรียน ๑ ตำบล โดยคัดโรงเรียนในกำกับของชุมชน ให้มีภาคีระหว่างชุมชน อบต. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากนั้นจัดทำ MOU ร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงมหาดไทย และนายกเทศมนตรี โดยขอให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อร่วมกันจัดการศึกษา ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และยุทธศาสตร์ในการลดภาระความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง
            ๔. พัฒนาการศึกษา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญจะทำงานร่วมกับฝ่าย ความมั่นคงภาคใต้ โดยการพัฒนาปอเนาะให้เข้มแข็ง ปรับปรุงหลักสูตรการสอนศาสนาใน   โรงเรียน เพื่อจะใช้การศึกษาสร้างสันติสุขและสมานฉันท์
            ๕. สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก คือ กศน.ตำบล โดยร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยและ   อบต. จะทำให้ครบทุกตำบลภายในปี ๒๕๕๓
            ๖. จัดทำโครงการ Teacher channel เพื่อการพัฒนาคุณภาพครู ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนโครงการ Tutor channel ให้ทำต่อไปและให้นำไปไว้ในเว็บไซต์ด้วย
            ๗. สร้างขวัญและกำลังใจครู จะดำเนินการผลักดันพระราชบัญญัติเงินวิทยฐานะ ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ขวัญกำลังใจให้เพี่อนครู จะจัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู
            ๘. สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อให้สนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ โดยส่งเสริมให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นหน่วยงานหลักที่จะบูรณาการองค์ความรู้

         สำหรับโครงการเดิมที่ทุกหน่วยงานดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว  ขอให้ดำเนินการให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม  โดยให้รวมพลังการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ

                                                                                   แล้วพบกันใหม่....สวัสดี........

หมายเลขบันทึก: 341334เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับมะรอซือลำ

ดีใจมากที่โลกไม่ได้เล็กลง ยินดีกับตำแหน่ง ผอ.ด้วย แถมเป็นคนช่างเขียนช่างบันทึก

ได้อ่านการปฏิรูปรอบสองแล้วครับ ท่าทางจะเป็นนโยบายที่ตกเป็นภาระของครูและผู้บริหาร

แต่หากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 1 ไม่นำมาเป็นบทเรียน

การปฏิรูปรอบสอง ก็คงไม่มีความหมายเช่นกัน

อย่างขณะนี้ผมมองเห็นว่า วิสัยทัศน์การปฏิรูปฯ รองสอง มุ่งให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิต

อย่างมีคุณภาพ แค่ประโยคเดียวนี้ ก้มีโจทย์ตามมาหลายข้อทีเดียว เช่น

1. คนไทยสนใจและชอบเรียนรู้อะไร

2. คนไทยสนใจและชอบเรียนรู้ด้วยวิธีการใด

3. คนไทยไม่สนใจที่จะเรียนรู้อะไร

4. วิธีการใดที่ไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนไทย

5. การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเกิดขึ้นที่ใด

6. รูปแบบการเรียนในระบบ (โรงเรียน) จะทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างไร

7. ครูและผู้บริหารฯ รู้เรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตแค่ไหน

8. การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเมินว่าเรียนรู้ได้จริงได้อย่างไร

9. การเรียนรู้ตลอดชีวิต........................?

ฯลฯ

โจทย์เหล่านี้ไม่ใช่โจทย์ใหม่ แต่ขอให้เริ่มต้นที่ไม่ใช่วิธีเดิม หรือนับหนึ่งใหม่

เพราะ เราก็มีของดี ที่ภุมิปัญญาทำไว้นานแล้ว ให้เขาเหล่านั้นมาคุย มาเล่า

แล้วนับหนึ่งจากบรรพบุรุษดีมั้ยครับ?

ส่วน ข้อ 2 - 8 ของคุณผมก็สนใจครับ แล้วมาคุยกันใหม่

สวัสดีครับ

สวัสดีครับอาจรย์ ดร.ไก่

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจจากอาจรย์ และขอขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน..แค่ข้อที่หนึ่งผมว่าเรายังต้องคุยกันยาว การแปลงนโยบายเป็นแนวปฏิบัตินั้นยังต้องประกอบด้วยตัวแปรต่างๆอีกมากมาย..โดยเฉพาะตัวแปรเกี่ยวกับ "คน" ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องอื่นๆซึ่งล้วนแล้วมีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษารอบสองทั้งนั้น..

สำหรับคำถามที่อาจรย์นำเสนอนั้นแหลมคมและลึกมากแต่ละข้อสามารถตอบคำถามที่เชื่อมโยงกับข้ออื่นๆได้อย่างไม่สิ้นสุดเพราะแค่ถ้าเราสามารถที่จะตอบคำถามว่าคนไทยอยากจะเรียนรู้อะไร...เราก็สามารถที่จะจัดการเรียนรู้ให้สนองตอบความต้องการของผู้เรียนได้..สามารถใช้สื่อที่ผู้เรียนให้ความสนใจได้..สุดท้ายผู้เรียนก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข และบังเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง...แต่มันไม่ง่ายที่จะเกิดขึ้นจริง....ใช่ไหมอาจรย์

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท