ไขภาษา


ภาษาไทยที่มักใช้ผิดควรตรวจสอบจากพจนานุกรม
ข้อควรจำเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ที่มักใช้ผิดกันเสมอ   .  “ถวายการต้อนรับ”  คำนี้ผิด  ภาษาไทยมีคำใช้อยู่แล้ว  คือ  เฝ้าฯ รับเสด็จ”  หรือ  รับเสด็จ
.  “ถวายความจงรักภักดี”  ความจงรักภักดีเป็นของที่หยิบยื่นให้กันไม่ได้  เป็นสิ่งที่มีประจำตน  แสดงปรากฏให้ทราบได้  ฉะนั้นใช้  ถวาย”  ไม่ได้  จึงควรใช้  “มีความจงรักภักดี
.  “อาคันตุกะ”  และ  ราชอาคันตุกะ”  ใช้ต่างกันดังนี้
        “
อาคันตุกะ”  ใช้เมื่อ
        
.  พระมหากษัตริย์เสด็จฯ  ไปทรงเป็นแขกของบุคคลสำคัญ
        
.  บุคคลสามัญไปเป็นแขกของบุคคลสามัญ
        “
ราชอาคันตุกะ”  ใช้เมื่อ
        
.  พระมหากษัตริย์เสด็จฯ  ไปทรงเป็นแขกของพระมหากษัตริย์  
        
.  บุคคลสามัญไปเป็นแขกของพระมหากษัตริย์
        
สรุป  คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นหลัก  ถ้าเจ้าของบ้านเป็นพระมหากษัตริย์บุคคลทั่วไปที่เป็นแขกไม่ว่าจะเป็น
พระมหากษัตริย์หรือบุคคลสามัญเป็น  “ราชอาคันตุกะ”  ทั้งสิ้น  ในทำนองเดียวกัน  ถ้าเจ้าของบ้านเป็นบุคคล
สามัญ  บุคคลที่ไปเป็นแขกไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือบุคคลสามัญเป็น  “อาคันตุกะทั้งสิ้น
.  การใช้คำ  ถวาย”  มีใช้อยู่สองคำ  คือ  ทูลเกล้าฯ  ถวาย”  และ  น้อมเกล้าฯ ถวาย”  ใช้ต่างกันดังนี้        
        
.  ถ้าสิ่งของนั้นเป้นของเล็กใช้  ทูลเกล้าฯ
        
.  ถ้าสิ่งของนั้นเป็นของใหญ่ใช้  น้อมเกล้าฯ  ถวาย”  หรือ  ถวาย”  เฉยๆ
.  คำว่า  ขอบใจ”  ถ้าจะกล่าวว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขอบใจ  ก็ใช้ว่า  “ทรงขอบใจ”  หรือ
พระราชทานกระแสขอบใจ”  ไม่ใช้  ขอบพระทัย”  เว้นแต่ผู้ที่ทรงขอบใจนั้นเป็นพระราชวงศ์จึงใช้
 “
ขอบพระทัยได้๖.  เมื่อกล่าวถึงการแสดงใด ๆ  ถวายทอดพระเนตร  มักจะใช้ว่า  แสดงหน้าพระพักตร์”  หรือ  แสดงหน้าพระที่นั่ง”  ซึ่งผิด  ต้องใช้ว่า  แสดงเฉพาะพระพักตร์”  หรือ  “แสดงหน้าที่นั่ง
.  ถ้ามีผู้ถวายสิ่งของ  เช่น  หมวก  ผ้าเช็ดหน้า  ฯลฯ  ขณะที่ถวายนั้นต้องใช้คำสามัญจะใช้คำราชาศัพท์มิได้  
เพราะสิ่งของนั้นยังมิได้เป็นของพระองค์ท่าน  เช่น   
       -  
เจ้าของร้านทูลเกล้าฯ ถวายหมวกแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี
       -  
ผู้แทนนักศึกษาทูลเกล้าฯ ถวายผ้าเช็ดหน้าแด่สมเด็จพระเทพฯ
.  หมายกำหนดการ  หมายถึง  หมายรับคำสั่งที่ทางสำนักพระราชวังแจ้งกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปยัง
หน่วยราชการ  หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ  ใช้เฉพาะกับงานพระราชพิธีเท่านั้น  ถ้าเป็นกิจการทั่วๆไปของ
สามัญชนใช้ว่า  กำหนดการ  เช่น  กำหนดการเดินทาง  กำหนดการสัมมนา เป็นต้น
.  สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ       
      
คำที่เรียกพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินมีหลายคำ  ปัจจุบันใช่  สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินี  ถ้าได้
สำเร็จราชการแผ่นดินก็เป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  
     
ที่ใส่  ”  ไว้ท้ายคำ  สมเด็จพระนางเจ้า”  นั้นเพื่อให้ทราบว่าละพระนามไว้  ถ้าออกพระนามเต็มก็วางไว้  
แทนที่  ”  เช่น  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ  ถ้าเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ประเทศอื่นให้เรียก  สมเด็จพระราชินี
     
ถ้าประเทศใดมีสตรีเป็นกษัตริย์ให้ใช้ว่า  “สมเด็จพระราชินีนาถ
๑๐.  พระบรมสาทิสลักษณ์  หรือ  พระบรมฉายาทิสลักษณ์  คือ  ภาพเหมือนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  
และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง  เป็นภาพวาดมิใช่ภาพถ่าย  ถ้าภาพถ่ายใช้  พระบรมฉายาลักษณ์

http://www.phutti.net/elearning/ann/page4.htm

คำสำคัญ (Tags): #ไขภาษา
หมายเลขบันทึก: 33854เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อื๋ยขอบคุณครับอันนี้มีในข้อสอบโรงเรียนผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท