The child as agent of Inquiry


การให้เด็กเป็นตัวแทนของการซักถาม

     

       ในวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา จ๊ะจ๋าได้นำเสนอบทความวิเคราะห์ให้กับทีม สคส. ฟังในการประชุมประจำสัปดาห์.....ก็จ๊ะจ๋า....รับผิดชอบวิเคราะห์บทความบทที่ 6 ของหนังสือ Appreciate Inquiry  และมาเล่าให้ที่ประชุมฟัง ซึ่งบทที่ 6 : The child as agent of Inquiry  ผู้เขียนบทนี้คือ David L. Coorperrider; Case Western University หลังจากที่อ่านจบบทแล้ว ขอบอกอย่างตรงๆ ว่าครั้งเดียวก็ยังไม่พอ ต้องอ่านซ้ำ 3 ครั้ง กว่าจะเข้าใจพอที่จะเล่าให้คนอื่นฟังได้...ก็เล่นเหนื่อยเหมือนกัน..และต้องยกนิ้วให้เลยกับผู้แต่งบทนี้ เพราะถือว่านำเอาสิ่งที่เราคิดไม่ถึงมาเขียนได้อย่างน่าสนใจ เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง  (ข้อดีของการอ่านคือ จ๊ะจ๋าได้ใช้เวลาคุ้มค่ากับการอ่านมากและการจับคู่กับเพื่อน ในการวิเคราะห์บทนี้ เราได้ประโยชน์กันทั้ง 2 คนก็คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ .....)

           คำขึ้นต้นของบทก็สื่อความหมายได้ตรงไปตรงมา   The sense of wonder, that is our sixth sense

ผู้แต่งได้เกริ่นด้วยคำถามมากมายแต่ คำถาม 2 3 คำถามที่สะกิดใจ......ผู้อ่านอ่อนหัดอย่างจ๊ะจ๋าคือ  ²เกิดอะไรขึ้นกับผู้เล่า ในห้องเต็มไปด้วย ผู้คนที่ความกระตือรือร้น ฟังอย่างตั้งใจ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความอยากรู้อยากเห็น²และ ทำไมความรู้สึกของการสงสัย อยากรู้อยากเห็นของเด็ก ไม่ถูกยับยั้งหรือขัดขวาง นั่นคือ ข้อจำกัดทั่วไปของความเป็นเด็กทำให้ผู้ใหญ่อย่างเราเอ็นดูนั่นเอง ถ้าการค้นหาส่วนดีเหล่านี้คือหัวใจของการพัฒนาองค์กร (Organization Development)… และมีการพูดคุยที่เต็มไปด้วยความรู้สึกของการชื่นชม ใฝ่รู้  ยกย่อง  ยินดี ภาคภูมิใจ และอยากรู้อยากเห็น” ……ความรู้สึกเชิงบวกที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์   กล่าวโดยสรุปคือ พลังแห่งการค้นหาความดี  (Spirit of Inquiry)

          ผู้แต่งและทีมงานได้ทดลองใช้ AI หลายปี และคิดว่า AI คือเครื่องมือที่ไปถึงจุดจบของการแก้ปัญหา  (The end of problem solving)  เช่นเดียวกับการค้นหาความดีด้วยการเปลี่ยนแปลงระบบความคิดของคนให้เกิดแรงบันดาลใจ  การขับเคลื่อน และการดำรงไว้  และการเรียนรู้ด้วยกระบวนการตอกย้ำ ผลักดัน และกระตุ้น เป็นเครื่องมือของการพัฒนา The future  of OD ” ซึ่งวิธีการนี้เป็นการใช้ศาสตร์และศิลปะของการตั้งคำถามเชิงบวกและทรงพลัง และผู้แต่งก็คิดว่า เป็นงานยากที่จะแทรกเข้าไปในจิตวิญญาณของคน เพื่อทำให้เกิดความโลดแล่นแห่งจินตนาการและนวัตกรรม และการแทนที่ความรู้สึกเชิงลบ ....อืม....ดูมันก็เป็นงานยากจริงๆ....

        งานและบทบาทหลักที่จะต้องเริ่มทำคือ การให้เด็กเป็นตัวแทนของการซักถาม (ค้นหาความดี)  "The child as agent of Inquiry"  นั่นคือ การที่เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น  พร้อมเรียนรู้  แลกเปลี่ยนจินตนาการ (คำถามของเด็ก ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้) (การตั้งคำถามที่ดีคือ การมีจิตนาการที่ดี)...... จ๊ะจ๋าคิดว่าอย่างงั้นนะ     

        และมี 3 กรณีศึกษาที่สำคัญ คือ

1.  การจินตนาการเมืองในฝัน - Bliss Browne

การสร้างจินตนาการเมืองเป็นสุขของพลเมืองชาวชิคาโก 

วิธีการทำงาน

  •  การตั้งคำถาม การประชุมเพื่อหารือกับหัวหน้าชุมชนและนักธุรกิจ เพื่ออภิปรายว่า จะจินตนาการ เศรษฐกิจ และศรัทราอย่างไร? ทำให้เกิดเมืองในฝัน
  •  การสำรวจ ซึ่งพบว่า  85 % คนอเมริกัน สูญสิ้นศรัทรา 
  • ค้นหาวิธีการมีหลายวิธีที่จำเป็นคือ การสร้างความสัมพันธ์หลัก     การสร้างความเชื่อมโยงเกิดจินตนาการ     การปลุกเร้าให้มีความหวัง     การผลักดันให้เกิดความสร้างสรรค์ของมนุษย์จากแรงกระตุ้น     การรู้จักหน้าที่ของตน 
  • บทสรุปคือ Imagine Chicago เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรมเมือง และใช้ AI เป็นเครื่องมือ

     

    2. A Most Extraordinary Learning การเรียนรู้เป็นสิ่งที่พิเศษที่สุด

    •     สร้างคุณค่าของ Action Research เป็นวงจรที่ขยายออกไปในระบบใหญ่ขึ้นได้อย่างไร โดยใช้ 4 phaseDiscovery, Dream, Design, Destiny
    •     เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด 
    •     การสัมภาษณ์เป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการทดลอง ซึ่งพบว่าเรื่องเล่าที่เป็นแรงบันดาลใจอย่างมาก เป็นการเติมเต็มไฟปรารถนา ความเป็นไปได้ที่กล้าจินตนาการอย่างสูง โดยเด็กๆ ของเมืองชิคาโก และการสัมภาษณ์จะมีพลังอย่างมาก ถ้าเด็กได้สัมภาษณ์กับผู้อาวุโสกว่า

    บทสรุปคือ การขับเคลื่อนการสนทนาจากรุ่นสู่รุ่น เกิด สังคมแห่งการเรียนรู้การเรียนรู้ของคน 3 รุ่น คือ เด็ก วัยกลางคน ผู้สูงวัย เป็นหนทางที่ดีที่สุดของสังคมแห่งการเรียนรู้

    3. Appreciation and Wonder

    ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างการสัมภาษณ์ที่เป็นแบบอย่างของเด็กอายุ 13 ปีที่ขอสัมภาษณ์ครูใหญ่ของเขา ซึ่ง 5 คำถามที่น่าสนใจว่า

    1.  ในอาชีพของคุณ…..บอกได้ไหมว่าเรื่องไหนที่คุณประสบผลสำเร็จในชีวิต โรงเรียนและชุมชน?
    2.  คุณทำอย่างไรให้ไปถึงจุดสูงสุดนั้น?
    3. คุณทำอะไรได้ดีที่สุด?
    4. คุณให้คุณค่าตัวเองอย่างไร?
    5. จากการที่โรงเรียนของคุณมีความสัมพันธ์ที่หลากหลายทั้งเชื้อชาติและวัฒนธรรมเพื่อสร้างโรงเรียนให้มีคุณภาพที่สุดคุณจะทำอย่างไรกับความแตกต่างที่หลากหลายนี้?......สิ่งหนึ่งที่คุณรู้สึกภาคภูมิใจคืออะไร

     ครูใหญ่ไม่สามารถตอบคำถามได้และประหลาดใจตัวเองว่าไม่เคยมีใครถามเข้าแบบนี้มาก่อน แต่คิดว่าเป็นคำถามที่สำคัญมาก        

    ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างผลการศึกษาของ Barbara Radner พบว่า ในการสัมภาษณ์ เด็กจะได้ยินเรื่องเล่าที่ไม่เคยได้ยินจากที่อื่นเลย (ข่าว, TV) เด็กเหล่านั้นจะถูกพัฒนาให้เป็นเจ้าของจินตนาการและประสบการณ์ที่ได้ยินทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งเด็กชื่อ Willie J. Hempel มีความรู้สึกตื่นเต้นและรู้สึกถูกกระตุ้นจากประสบการณ์ของเขาที่เริ่มเป็นอาสาสมัคร Imagine Chicago ใช้เวลาหลังเลิกเรียนทุกๆ วัน ในช่วงเวลาที่เขาได้สัมภาษณ์กับ CEO ของ Sears ความฝันและความหวังของเขาได้ถูกจุดประกายขึ้น มันทำให้เขาอยากไปพูดคุยกับคนอื่นๆ ที่มีผลต่ออนาคตของเมือง นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเขาถึงต้องการที่จะเป็นอาสาสมัครในเวลานี้

     การตั้งคำถามของการสนทนาโดยใช้ พลังแห่งการค้นหา (Spirit of Inquiry) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีว่าการใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่ม และ ใช้ศิลปะในการตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์ที่ไม่กำหนดเงื่อนไข (เป็นคำถามเชิงบวกที่ไร้เงื่อนไข)

     

    หมายเลขบันทึก: 33790เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท