ความร่วมมืออันทรงพลังให้กับเด็กไทย


การให้เด็กมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม จะเกิด Child Friendly City ไม่ใช่แค่ความคิด แต่สามารถเป็นจริงได้

 

         ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และทีมงานจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และ ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ และทีมงานจากสถาบันรามจิตติ เข้าพบ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช และทีมงาน สคส. เพื่อประชุมหารือในการประสานความร่วมมือของ มสช. , สถาบันรามจิตติ  และ สคส.  ซึ่ง ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ  ได้ให้รายละเอียดการทำงานของโครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch)  ว่า โครงการ Child Watch เริ่มดำเนินการในปี 2544 โดยมีคามร่วมมือกับ สกว.  และได้ประสานเครือข่ายจากชุดโครงการ "การศึกษาเพื่อชุมชน" เพื่อจัดเก็บข้อมูลและสร้างระบบ/กลไกการเฝ้าระวังทางสังคม (social watch system) ให้เท่าทันสถานการณ์ปัญหาเด็กที่มีความซับซ้อน และการเสนอแนะยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ

      โครงการวิจัยเน้นตัวบ่งชี้หลัก 3 ด้านคือ สุขภาพ การศึกษา และปัญหาสังคม  ในการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ที่ใช้เวลาน้อย คือ สามารถหาข้อมูลได้โดยการขอข้อมูลจากหน่วยงานที่รวบรวมไว้แล้ว เช่น ในเรื่องของ อัตราการตายของเด็กแรกเกิด อัตราการเรียนต่อของเด็กมัธยม และมหาวิทยาลัย  เป็นต้น ตัวบ่งชี้ที่ใช้เวลาในการวิจัยมาก คือ ต้องทำการสำรวจในเรื่อง % การโดดเรียน, การกินขนม, การสูบบุหรี่ของเด็ก ผลการตอบรับประสบความสำเร็จดี  ซึ่งได้มีการมอบรางวัล Child Watch Award แก่จังหวัดที่มีผลงานดี ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม  2549  ที่ผ่านมา

         และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้การสนับสนุนโครงการวิจัย Child Watch เพื่อต่อยอดการสนับสนุนการวิจัยของ สกว. จากเดิมที่จัดเก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 12 จังหวัดนำร่อง (ได้แก่ ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ น่าน มหาสารคาม อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช นครปฐม สมุทรสาคร และปทุมธานี) ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยผ่านการประสานงานของ โครงการวิจัย Child Watch เพื่อใช้เครือข่ายและการสร้างตัวชี้วัดจากงานวิจัยการติดตามสภาวะการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด หรือ Child Watch ของสกว. ในการจัดเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังปัญหาเด็ก ตลอดจนการสร้างกลไกและกระบวนการในการแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กทั้งในระดับจังหวัดและในระดับชาติ

         ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ กล่าวเพิ่มเติมว่า  3 ปีข้างหน้ามีความคาดหวังว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จ 2 เรื่องคือ

1. ทำให้ระบบข้อมูลยั่งยืน เกิดการเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน สามารถหาข้อมูลได้จากหน่วยงานราชการ

2. การขับเคลื่อน Local  Public Policy โดยใช้แนวความคิดว่า "Child Friendly City เมืองปลอดภัย (โรงเรียน สนามเด็กเล่น) เป็นเมืองเด็กกินดีอยู่ดี เมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้ที่พร้อม คุ้มครองสิทธิเด็ก  มีพื้นที่สร้างสรรค์แก่เด็ก เด็กมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม ซึ่งได้คัดเลือก 15 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ภาคเหนือ (แพร่ น่าน ลำพูน พะเยา) ภาคอีสาน (มหาสารคาม) ภาคกลาง (อยุธยา นนทบุรี) ภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด สระแก้ว)  เป็นต้น  

    ตัวอย่างเช่น จังหวัดมหาสารคาม ในเรื่องการพนันบอลในช่วงฟุตบอลโลก มีวิธีการทำงานโดย 1. ขอให้โรงเรียนบันทึกเทปการแข่งขันฟุตบอลฉายให้เด็กดูในช่วงพักกลางวันเพื่อให้อยู่ในสายตา 2. สมัชชาเยาวชนของแต่ละจังหวัดยังสร้างกลไกเฝ้าระวัง เป็นเครือข่ายเจ้าหน้าที่คอยจับตา ดูแลให้คำแนะนำเพื่อน 3. ผ่านวิทยุท้องถิ่น 4. ออกมาตรการเพื่อปกป้องเยาวชนจากการพนันในช่วงฟุตบอลโลก โดยกำชับผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจให้กวดขันขั้นเด็ดขาดจับกุมผู้เล่นพนัน โดยเฉพาะภายในโรงเรียนประสานความร่วมมือกับครู อาจารย์ฝ่ายปกครอง พร้อมทั้งออกหนังสือเวียนไปยังผู้ประกอบการ สถานบันเทิง โรงแรม หอพัก คาราโอเกะ ร้านอาหาร ท่ารถ โรงแรม หอพัก ขอความร่วมมือในการเป็นหูเป็นตา ไม่ส่งเสริมการเล่นพนันฟุตบอล

        ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ กล่าวเสริมอีกว่า จะดำเนินการโครงการ Child Friendly City นี้เป็นโครงการแรก จากเรื่องง่ายไปเรื่องยาก เรื่องเล็กไปหาเรื่องใหญ่ เช่น ถนนเด็กเดิน ซึ่งในหลายจังหวัดสามารถจัดการได้ โดยใช้เรื่องถนนเด็กเดินเป็นจุดตั้งต้น และอาจมี Best practice ต่างๆ ซึ่งมีการเตรีมกลุ่มคนในแต่ละจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพมจ., หน่วยงาน, NGO, ทีมงานวิจัยจังหวัด   ดร. อมรวิชช์   กล่าวย้ำอีกว่า อยากเห็นจังหวัดมีข้อมูล วิธีคิด ความมั่นใจ และกลไก ซึ่งผลกระทบจากโครงการ Child Watch คือ ต้องการให้มีการจัดอันดับดีขึ้นกว่าเดิม มีความประณีตในการให้รางวัลมากขึ้น ในการจัดประเภทรางวัลมากขึ้น       

        กลไกคณะทำงานที่ตัดสินใจและสามารถเชื่อมโยงได้คือ

  •  ฝ่ายวิชาการ ให้ข้อมูลจังหวัด
  •   ฝ่ายยุทธศาสตร์ของจังหวัด                      ® กลไกระดับชาติ
  •  สื่อสาธารณะ ผ่านสื่อ ประชาสังคม

       มีแนวความคิดที่อยากให้แต่ละจังหวัดมี

  •         คนดีๆ มารวมกลุ่มทำงาน
  •         กลไกการสร้างการมีส่วนร่วมที่กว้างกว่าส่วนราชการ
  •         เป็นเรื่องของประชาสังคมจังหวัด โดยไม่ได้มาจากส่วนราชการ

แนวความคิดของความร่วมมือ คือ การนำข้อมูลและประสบการณ์ โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงาน และการได้ข้อสรุปร่วมกัน One time action เกิดความยั่งยืน เพื่อดำเนินงานตามนโยบายและการได้พันธมิตรการทำงานอย่างถาวร สำหรับตัวอย่างที่ดี  (Best Practice) ที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้    นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์เสนอแนะว่า สามารถหาตัวย่างที่ดีได้จากโครงการหนึ่งของ สสส. ได้    

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาวะของเด็ก
หมายเลขบันทึก: 33783เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท