Advocacy in health


โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ

มีโอกาสได้รับเชิญ(อิอิ) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เข้าอบรมหลักสูตร Advocacy in Health  ใช้วลาอบรมสี่วันด้วยกัน ที่มาที่ไปตอนแรกก็งง มาก ให้เรามาทำอะไรเนี่ย advocacy ,นคืออะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับงานของเรา แล้วก็ได้ทราบมาว่าที่มาก็คือ มีโครงการ HCRP (Health care Reform Project ) หรือโครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขเป็นโครงการที่เกิดขึ้นตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสหภาพยุโรป โดยมีสปสช.เป็นองค์กรรับผิดชอบในการบริหารจัดการ มียุทธศาสตร์ 4 เรื่องด้วยกันคือ

  1. การพัฒนาเวชศาสตร์ครอบครัว ( Family Medicine)
  2. การพัฒนาระบบการเงินการคลังสาธารณสุข
  3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล
  4. การสนับสนุนและสร้างความช่วยเหลือทางสังคม Advocacy นี่เองแหละค่ะ เป็นการจัดกระบวนการสื่อสารและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมการปฏิรูป สู่เป้าหมายและขยายการรับรู้สู่วงกว้าง

ซึ่งผลกระทบที่สำคัญของโครงการนี้คือการเพิ่มคุณภาพการบริการ ประชาชนเข้าถึงบริการและใช้บริการตามความจำเป็น ตอนนี้ก็เข้าใจแล้วละ ว่าเรา ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างแน่นอน เพราะเราเป็นองค์กรภาคี ที่มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพการบริการ และจะAdvocate ให้รพ.ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ มีการพัฒนาคุณภาพกันอย่างต่อเนื่องอย่างไร อันนี้ก็ต้องใช้กระบวนการ Advocacy นี่แหละค่ะ ช่วยสนับสนุนให้เกิด ดดยต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการเรียนรู้วิทยากร เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งก่อนมาทุกคนยังไม่เข้าใจเลยว่า Advocacy คืออะไร ผู้เข้ารับการอบรมมาจากหลายที่ด้วยกัน แต่ที่มากที่สุดก็คือสปสช. มในเขตต่างๆ เช่นนครสวรรค์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี นครราชสีมาเป็นต้น การอบรมมีการทำ work shop มากกว่าการบรรยาย เพื่อให้สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง ตั้งแต่คำนิยามของ Advocacy ซึ่งเป็นอะไรที่มากกว่าการประชาสัมพันธ์หรือการสื่อสารธรรมดา ต้องมีการโน้มน้าว สร้างกระแสให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสิ่งที่เป็นปัญหา

โดยสรุปมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. การ identify issue มาจากการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ประเด็นที่ต้องการ
  2. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
  4. พัฒนาข้อความที่ต้องการสื่อ
  5. พัฒนาช่องทางการสื่อสาร
  6. พัฒนาแนวร่วม/กลุ่มสนับสนุน
  7. ระดมทุน
  8. การดำเนินการ
  9. การติดตามและประเมินผล

และยังเสริมประสบการณ์ในการจัดทำสื่อ message เพื่อการรณรงค์ ทั้งทางด้านวิทยุ จม.ข่าว โปสเตอร์ ฯลฯ ซึ่งวิทยากร แต่ละท่านล้วนมีความรู้ประสบการณ์อย่างมาก รวมทั้งมีประสบการณ์จากเลขานุการมูนิธิเพื่อนหญิง มาเล่าประสบการณ์จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง ในเรื่องกฎหมายการลาคลอด 90 วัน และการทำสื่อของสสส. ที่น่าสนใจ เป็นอยางมาก การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ นับว่าได้ประโยชน์และบรรลุวัตถุประสงค์ ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #advocacy
หมายเลขบันทึก: 33785เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท