ผู้บริหารมืออาชีพ


อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นหน่อย

ผู้บริหารที่มีภาวะเป็นผู้นำทางวิชาการย่อมนำไปสู่ผู้บริหารมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จและการให้องค์การไปสู่ความสำเร็จประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งคือผู้บริหารต้องมีคุณลักษณะและพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการ โดยคุณลักษณะและพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร มีดังนี้           

1. อยู่โรงเรียนเต็มวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ  3 วัน           

2. พัฒนาครูให้ครบทุกคน ครูเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้งานวิชาการก้าวสู่เป้าหมาย การพัฒนาคุณภาพครูจึงส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน หากครูเก่งนักเรียนย่อมเก่งตามไปด้วย            

3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม(green) สะอาด(clean)และปลอดภัย(safe) สิ่งแวดล้อมเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดใจให้ผู้ที่ก้าวเข้าสู่โรงเรียนเกิดความสุขความประทับใจ           

 4. ปรับเปลี่ยนบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้สีสันสดใส สีมีอิทธิพลต่อจิตใจและการเรียนรู้ การนำสีสันที่สดใสส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเด็กจะชอบเป็นกรณีพิเศษ การเปลี่ยนสีถังน้ำฝนให้สดใสหรือทาสีอาคารเรียนห้องเรียนให้ดูใหม่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องกลับมาเอาใจใสมากขึ้น          

5. ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรจัดห้องที่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กให้มากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต สื่อการเรียนรู้ที่ครูผลิตควรนำมาใช้กับเด็กให้มากขึ้น           

6. ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุดเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดนิสัยรักการอ่าน การอ่านเป็นสะพานสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ โรงเรียนจึงต้องปรับปรุงห้องสมุดให้เกิด 3 ดี ดังนี้ คือ บรรณารักษ์ดี หนังสือดีและบรรยากาศดี           

7. ส่งเสริมการใช้ KM : Knowledge Management การนำทุนทางปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนรู้เช่นภูมิปัญญท้องถิ่น หรือการนำไฟไม่สิ้นเชื้อมาร่วมทำการสอน จะพบว่าโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการจะมีครูที่มีประสบการณ์มากทำการสอน           

8. เร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจุบันสภาพโรงเรียนเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเมืองประสบปัญหาเด็กย้ายออกไปเรียนในเมืองตามค่านิยมของผู้ปกครอง ทำให้คนในชุมชนขาดความผูกพันกับโรงเรียน ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจพัฒนานักเรียนให้สู้กับในเมืองที่ครูต่อนักเรียนต่อห้องจำนวนมากย่อมไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง หากเรามีเด็กจำนวนน้อยกว่าย่อมมีเวลาที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดความเป็นเลิศได้มากกว่า             

ความล้มเหลวขององค์กรเกิดจากภารกิจขององค์กรไม่ชัดเจน สมาชิกองค์กรหย่อนสมรรถภาพ ขาดแคลนทรัพยากรการบริหาร มาตรฐานทางจริยธรรมของสมาชิกในองกรต่ำ ที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดจากผู้บริหารไร้ประสิทธิภาพ ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนแปลงตนเองให้เกิดภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อจะประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ

 

บรรณานุกรม

 

เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์,ศ.ดร., บทความจากนิตยสาร งานวันนี้ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 22-29 กุมภาพันธ์ 2547 “ยุทธศาสตร์สร้างงานบริหารคน”, ผู้อำนวยการสถานบันอนาคตเพื่อการพัฒนา

ธีระ  รุญเจริญ,ศ.ดร.,ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ : ศักยภาพเพื่อการเรียนรู้, ม.วงษ์ชวลิตกุล  จ.นครราชสีมา, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2545

รุ่ง  แก้วแดง,ดร.,การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545

                http://gotoknow.org/blog/phapun/299802

หมายเลขบันทึก: 336207เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2010 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะ ข้อมูลที่ดีค่ะ

มั่ง มี ศรี  สุข นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท