เป็นลูกน้องให้เป็น


เมื่อ "ความปองดอง(หรือการยอมตาม)" มันทำหน้าที่ของมันในการพัฒนาองค์กรได้ "ความขัดแย้ง" ก็สามารถทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรได้เช่นเดียวกัน

          ต้องขอบคุณน้องปูที่เข้ามา Share ความเห็นเรื่อง  เป็นหัวหน้าคนให้เป็น  และยังได้ยกประเด็นที่น่าสนใจว่า  เราต้องรู้จักการ เป็นลูกน้องให้เป็นด้วย  ประเด็นที่น่าคิดคือ  พวกเราได้รู้กันหรือยังว่า หัวหน้า กับ ลูกน้อง ควรเป็นย่างไร  ผมเชื่อว่าทุกคนรู้ดี  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง....ต่างคนต่างก็ทำบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี...พวกเราควรต้องอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขหรืออย่างน้อยก็ด้วยความสบายใจใช่มั๊ยครับ...  
           แต่ผมเห็นว่า "เรามีปัญหาการทำงานร่วมกัน...เรามีปัญหาเรื่อง TEAM WORK...เรามีปัญหาเรื่องขวัญกำลังใจในการทำงาน..เรามีปัญหาเรื่องแรงจูงใจของคน...ทั้งๆที่คนของเรามีศักยภาพสูง"  ผมเสนอมาตลอดว่า หัวหน้าฝ่าย/กลุ่มควรได้รับความช่วยเหลือด้วยการพัฒนาเรื่องการบริหารงาน   ผมจึงพยายามคิดว่าจะพูดถึงเรื่องสภาพความเป็นจริงของการเป็น หัวหน้า  กับ ลูกน้อง ใน สคร.6 อย่างไรดี จึงจะเป็นกลางมากที่สุด... แต่คิดว่าไม่พูดถึงดีกว่า เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกินไป  จึงขอละเลยไปจะดีกว่า
          
ผมขอยกประเด็นว่า หากมีปัญหาว่า หัวหน้ากับลูกน้อง  ต่างไม่พอใจต่ออีกฝ่ายหนึ่ง  ต่างเรียกร้องให้อีกฝ่ายทำตามบทบาทของตัวเองก่อน   คำถามคือ ใครควรจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน
       
 
สำหรับผมแล้ว...คำตอบของผมมันชัดเจนอยู่แล้วในข้อเสนอที่ผมพยายามพูดมาตลอด  ผมไม่ได้คิดว่าใครบกพร่องนะครับ  แต่ผมคิดว่า ใครควรจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มันชัดเจนอยู่แล้ว...แต่ทำไมเรายังละเลยที่จะพัฒนาคนที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 
         องค์กรเราไม่สามารถเจริญขึ้นได้  เพียงเพราะผู้บริหารคิดและพูดว่า "ขอให้ทุกคนทำตามบทบาทหน้าที่"  แล้วมันจะดีขึ้น...ไม่ง่ายอย่างนั้นแน่นอน..  แต่ต้องผ่านการคิดอย่างละเอียดและอย่างมีส่วนร่วมว่า...เราจะนำเอาแนวคิดที่ว่า "ขอให้ทุกคนทำตามบทบาทหน้าที่แล้วองค์กรจะดีขึ้น"  มาใช้ปฏิบัติได้อย่างไร   และยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่ต้องพูดคุยกัน 
          จริงอยู่ว่า ข้าราชการมีวินัย  ลูกน้องจึงต้องเชื่อฟังหัวหน้า แต่ยุคนี้เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง  องค์กรใดที่ยัง Conservative อยู่กับระเบียบเดิมๆ โดยไม่ดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก็นับวันแต่จะเดินถอยหลังตกยุคไป  ยุคนี้เป็นยุค GOOD GOVERNANCE เป็นยุคที่หัวหน้ากับลูกน้องต้องเป็นเพื่อนร่วมงานกันให้ได้  การทักท้วงหัวหน้าบ้างเมื่อเห็นว่าเดินไม่ถูกทาง  จึงถือเป็นหน้าที่ของลูกน้องในฐานะเพื่อนร่วมงานด้วย  หากละเลยเสียเพราะคิดว่าไม่ใช่บทบาทเราเสียอีกที่ผมเห็นว่า...เราไม่ได้ทำหน้าที่ลูกน้องที่ดี ( เหมือนเราเห็นคนตกน้ำแต่ไม่ช่วยนั่นแหล่ะครับ) ...อย่าลืมว่าลูกน้องมีมากกว่าหัวหน้าความเห็นย่อมมีหลากหลายมากกว่า...อย่าลืมว่าหัวหน้าก็มีโอกาสคิดและตัดสินใจผิดพลาดได้เช่นเดียวกับเรา... ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่า ลูกน้องกับหัวหน้า จะแยกกันแสดงบทบาทอย่างขาดจากกันเลยไม่ได้  แต่ต้องต่างฝ่ายต่างท้วงติงกันได้  จึงจะเรียกว่าการมีส่วนร่วม.

"การได้แสดงออกด้วยการพูดและเขียน เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ปราศจากการครอบงำ"  คือวัฒนธรรมที่ต้องเร่งสร้างในองค์กรยุคใหม่..องค์กรแห่งการเรียนรู้..  แม้การพูดและเขียนนั้นจะเป็นไปในทางที่ขัดแย้งกับนโยบายของผู้บริหาร ก็ต้องให้เป็นไปอย่างอิสระ  แต่ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่พูดและเขียนเอง ด้วยเงื่อนไขนี้จะบังคับให้แต่ละคนพูดและเขียนโดยมีข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานในการพูดและเขียน  องค์กรนั้นๆ ก็จะถูกพัฒนาไปด้วยการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องแก่กันและกัน  กลายเป็นองค์กรที่มีการบริหารแบบ ธรรมาภิบาล ในที่สุด  เมื่อ "ความปองดอง(หรือการยอมตาม)" มันทำหน้าที่ของมันในการพัฒนาองค์กรได้ "ความขัดแย้ง" ก็สามารถทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรได้เช่นเดียวกัน

          นี่เป็นตัอย่างหนึ่งของการเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ  ลองเข้าไปดูนะครับ  http://gotoknow.org/blog/sarinya/33015 

 

หมายเลขบันทึก: 33611เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บัณฑิต..ข้าราชการ

เรียนมา ก็แสนยาก

แสนลำบาก เป็นหนักหนา

เรียนจบ ครบเวลา

ก้าวออกมา หางานดี

ได้เข้า ราชการ

แสนเบิกบาน ใจสุขี

ด้วยอุ ดมการณ์มี

ทำหน้าที่ ดีทุกคน

เวลา พาก้าวผ่าน

เมื่อทำงาน พาลสับสน

ลืมค่า วิชชาตน

ยึดอัตตา พาทุกข์ใจ

รักตัว กว่ารักงาน

เริ่มจะพาล ค้านเงื่อนไข

รักตัว กว่ารักใคร

ไม่รู้จัก สามัคคี

บัณฑิต คิดกลายพันธุ์

ไม่สร้างสรรค์ พลันหมดศรี

ปัญหา บรรดามี

เพราะคิดชั่ว ด้วยตัวทำ

หันมอง ใจของตน

มองเห็นคน ช่างน่าขำ

เตือนใจ ไม่ลืมคำ

“ข้าราชการของบ้านเมือง”

...................................................

เพียงสมมุติ

อันโลกนี้ ที่เห็น เช่นละคร

แสนยอกย้อน เย้ายวน ให้ชวนฝัน

สวมหัวโขน หันหน้าเข้าหากัน

แยกเขี้ยวฟัน หน้ากาก ก็มากมี

โลกสร้างงาน การใด ไว้สมมุติ

ที่สูงสุด ฝันใฝ่ในวิถี

มุ่ง “ทำงาน เพื่องาน” แต่การดี

งานทวี ดีก็เพิ่ม เติมต่อมา

เมื่อวาระ มาถึงซึ่งชีวิต

ฝากการกิจ ให้ใคร ได้รักษา

งานของโลก ไม่โศกเศร้า เบาปัญญา

ทิ้งเวลา ความคิดยึดติดงาน

เรานี่หรือ คือคนเก่ง ที่เบ่งได้

เรานี่หรือ คือใครใคร ได้กล่าวขาน

เรานี่หรือ คือคนสร้างผลงาน

เรานี่หรือ คือ สังขารอัน ผุพัง

ผูกน้ำใจ ไมตรี ทำดีไว้

ฝากรอยให้ เยาวชนคนรุ่นหลัง

เมื่อเหนือฟ้า ยังมีฟ้า หาจีรัง

ก็อย่าพลั้ง เผลอไป ในโลกธรรม

ผมเห็นด้วยนะที่วัฒนธรรมของการทำงานไม่ว่าจะเป็นกรมหรือกองใหน ควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้ดีมากกว่านี้ แต่ก็แปลกใจเหมือนกันครับที่รู้สึกได้ว่าวัฒนธรรมของสคร.ในส่วนลึกๆที่ดูข้างนอกนั้นมองว่าดูดี แต่ในความเป็นจริงหรือได้เข้ามาสัมผัสแล้วมีความขัดแย้งมากกว่าหน่วยงานอื่นๆที่ผมเคยทำมา ทั้งๆที่แนวนโยบายให้ทำงานเป็นทีม แต่กลายเป็นทีมใครทีมมัน เฮ้อ.....คงได้แต่ปลงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เพราะดันย้ายมาอยู่ในดงนี้แล้ว คงต้องปรับตัว แต่กลัวว่าตนเองจะกลายพันธุ์ตามเขาไป กลายเป็นคนไร้จุดยืนของตนเอง ความรู้ที่เรียนมาเยอะแยะไม่รู้ว่าหายไปกับวัฒนธรรมองค์การที่เลวร้ายนี้หรือเปล่า?????????

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท