วัฒนธรรม


วัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะที่ใช้เป็นเครื่องมือในจรรโลงความเป็นชาติ ส่วนภาษาจะเป็นสื่อในการทำความเข้าใจและถ่ายทอดวันธรรม ทั้งในด้านของการสะสมและการสืบทอด

ความหมายของวัฒนธรรม 

           คำ วัฒนธรรม ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีความหมายกว้าง ใช้ได้ในหลายโอกาส อาจจะให้ความหมายถึงประเพณี เมื่อพูดถึงประเพณีต่างๆ หากกล่าวถึงสถาปัตยกรรมโบราณ อาจกล่าวได้วานั่นคือสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จึงเห็นได้ว่า คำ วัฒนธรรม อาจมีความหมายหนึ่งในโอกาสหนึ่ง หรืออีกสิ่งหนึ่งในอีกโอกาสหนึ่ง

          นักสังคมศาสตร์ได้กล่าวถึง วัฒนธรรม ในความหมายถึง แบบแผนชีวิตหรือระบบการดำเนินชีวิต ครอบคลุมไปถึงเรื่องเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง สถาบัน ประเพณี และศิลปะ รวมถึงความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ อนึ่งนักสังคมศาสตร์ถือว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งทีมนุษย์ทำให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมของตน นอกจากนี้ยังถือว่า สถาบัน ประเพณี และค่านิยม ทั้งที่ควรรักษาและควรเปลี่ยนแปลงรวมอยู่ในวัฒนธรรมของหมู่ชนแต่ละหมู่ด้วย

 

ลักษณะของวัฒนธรรม  

         1.วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการเรียนรู้ หรือภูมิปัญญาเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต

        2.วัฒนธรรม มีลักษณะเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ที่แสดงออกมาให้เห็นในลักษณะของพฤติกรรม เช่น ความเชื่อ ประเพณี 

        3.วัฒนธรรม เป็นมรดกทางสังคม ที่คนในสังคมรู้สึกรัก หวงแหน เป็นเจ้าของและใช้ร่วมกัน

        4.วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ไม่คงที ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของการนำไปใช้

 

ประเภทของวัฒนธรรม

ประเภทของวัฒนธรรม แบ่งเป็น

      1.วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความสุขทางกาย เพื่อให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายในการครองชีพ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น

      2.วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นวัฒนธรรมที่รวมถึงสิ่งที่ทำให้ปัญญาและจิตใจ มีความเจริญงอกงาม ได้แก่ การศึกษา ศาสนา ศิลปะ ระเบียบประเพณี

 

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

      คือ แบบแผนการมีชีวิตของมนุษย์ ในวัฒนธรรมหนึ่งๆที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างกับวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ บางชาติอาจใช้ภาษาของตนเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะ หรือจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิต อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติไทยเรานั้นมีอยู่หลายอย่างเป็นต้นว่า

      1.ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา ในประวัติศาสตร์ชาติไทย จะเห็นว่าเรารับเอาคนต่างชาติ ต่างภาษา มาเป็นส่วนหนึ่งของชนชาติไทยได้อย่างสนิท สามารถอยู่ร่วมกันคนไทยได้อย่างผาสุกภายใต้ร่มโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย 

      2.เสรีภาพทางศาสนา เราถือว่าเสรีภาพทางศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ นอกจะอนุญาตให้กระพิธีได้โดยไม่ขัดขวางแล้ว เรายังให้ความอนุเคราะห์อีกด้วย

      3.ความรักสงบ ในประวัติศาสตร์ของไทย เราไม่นิยมจะไปรุกรานใคร เรารบเพื่อป้องกันอธิปไตยของเรา หากแต่ต้องกระทำไปเพื่อป้องกันไม่ให้มารุกรานเราอีกเท่านั้น

      4.ความใส่ใจในการประนีประนอม ในการติดต่อทำการงานทั้งปวง เราจะอาศัยการเจรจาที่ประนีประนอมกัน ไม่ห้ำหั่นหรือเคียดแค้นกัน

      5.การไม่แบ่งชั้นวรรณะ เราไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างเหนี่ยงแน่น และไม่กดขี่คนคณะใด กลุ่มศาสนา หรือชนชาติใด ไม่กดขี่สตรีเพศ หากจะมีชนชั้น เราก็จะอยู่ร่วมปะปนกันได้อย่างสบาย

 

การธำรงรักษาวัฒนธรรม

                นอกจากภาษาจะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาวัฒนธรรมของตนแล้ว ยังช่วยให้มนุษย์ สามารถดำรงและสืบทอดวัฒนธรรมได้อีกด้วย เช่น เราจดบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้ ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ผ่านมาในอดีตเรื่องใดบ้างที่ควรปรับปรุง หากเกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อจรรโลงวัฒนธรรมของเราไว้ เราได้รับทราบความเสียสละ ความเคร่งครัดในวินัย และคุณธรรมต่างๆ โดยอาศัยภาษาเป็นส่วนใหญ่ เราต้องอาศัยภาษาที่ใช้พูดกันในครอบครัว ในหมู่ครูกับลูกศิษย์ อาศัยภาษที่จารึกไว้บนหิน บนใบลาย บนกระดาษ ตลอดจนตำราที่เขียนให้ศึกษาได้ง่าย เพราะมีระบบระเบียบในการลำดับเนื้อหาและการใช้ถ้อยคำเป็นอย่างดี

                  ถ้าหมู่ชนใดสนใจที่จะรักษาแบบแผนชีวิตของตน หมั่นชี้แจงทำความเข้าใจกับอนุชน ให้เข้าใจในหลักการของบรรพชน วัฒนธรรมหรือแบบแผนชีวิตขิงมนุษย์หมู่นั้นก้จะดำรงอยู่ได้นาน ไม่เปลี่ยนแปลงจนสิ้นสูญรูปแบบ หรือถูกลืมไปจนไม่มีมนุษย์อื่นๆ ได้รู้จักอีก มนุษย์ที่มีความเจริญโดยาก มักนิยมให้มีความเปลี่ยนแปลงโดยพอประมาณ เพราะถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่คงรูปของสถาบันไว้ทุกสถาบัน คงค่านิยมเดิมไว้ทุกอย่าง ก็หมายความว่ามนุษย์หมู่นั้นจะไม่มีโอกาสได้ใชความรู้ใหม่ที่หาเพิ่มเติมขึ้นมาได้เลย อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดวัฒนธรรมและการใช้ภาษา ไม่ควรปล่อยให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วจนเกินไป จนคนรุ่นเก่าไม่สามารถสืบทอดประสบการณ์อันมีค่าให้แก่คนรุ่นใหม่ได้

 

การธำรงรักษามีสามารถทำได้หลายทางดังนี้

        1.การสะสม สามารถทำได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านประเพณี วรรณกรรม ศิลปะ ศีลธรรม คุณธรรม และเทคโนโลยีต่างๆ เป็นการเลือกสะสมสิ่งที่ดีงาม เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และมีการถ่ายทอดเป็นมรดกให้แก่คนรุ่นหลังเพื่อที่จะได้นำไปปฏิบัติ

       2.การสืบต่อทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องของการเรียนรู้จากบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้สิ่งที่ดีจากบรรพบุรุษ

       3.การปรับปรุงและการเผยแผ่วัฒนธรรม ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและเพื่อเผยแผ่

       การธำรงรักษาวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ใช้เป็นเครื่องมือในการธำรงรักษา คือ ภาษา เพราะภาษาจะเป็นสื่อในการทำความเข้าใจและถ่ายทอดวันธรรม ทั้งในด้านของการสะสมและการสืบทอด

       ภาษาของชนชาติจะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้น  ภาษาไทยก็เช่นกัน  สะท้อนให้เห็นดังนี้

         ๑.    ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่นิยมความประณีต ละเมียดละไมในการใช้ภาษา  ไม่เพียงใช้คำให้ตรงกับความหมายแล้วแต่ยังใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของ บุคคล และเหมาะสมกับความสนิทสนมระหว่างบุคคล กาลเทศะ เนื้อหา และสื่อ ซึ่ง ก็คือการใช้คำราชาศัพท์ และระดับภาษาให้เหมาะสมด้วย

         ๒.    ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมประสมประสาน เห็นได้จากการที่ภาษาไทยได้ยืมคำจากภาษาอื่นๆ มารวมกับภาษาไทยเรา เราสามารถใช้คำเหล่านี้ได้กลมกลืนกันและเหมาะสม  เช่น เรามักใช้คำไทยว่า ลูก หมา กิน เพื่อน ในการพูดกันในครอบครัวหรือกับ เพื่อน และมักใช้คำยืมจากภาษาอื่นในการสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น บุตร สุนัข รับประทาน มิตร แล้วยังมีศัพท์ต่างๆ เช่น  โทรศัพท์  เมตร ฟุต คลินิก ซึ่งไม่ใช่คำไทย แสดงให้เห็นว่าคนไทยรูจักรับวัฒนธรรมต่างชาติมา ประสมประสานกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทยได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล

        ๓.    ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่เจริญด้านศิลป วัฒนธรรมแสดงความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งทัดเทียมชาติตะวันตก  เช่น  เรามีศัพท์เรียกเครื่องดนตรี  เช่น  แตร  ปี่  ซอ  กลอง  ศัพท์ที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์  เช่น  วง  เคาะ  จีบ  โบก  เป็นต้น  แต่ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ค่อยมี

        ๔.    ภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน  นิยมใช้คำคล้องจอง เห็นได้จากการตั้งชื่อต่างๆ เช่น ชื่อหนังสือสัมผัส คล้องจองกัน เช่น วานิตินิกร ไวพจน์พิธาน พิศาลการันต์ อนันตวิภาค ถ้อยคำสำนวนในภาษาไทยก็นิยมผูกให้คล้องจองกัน คำประพันธ์ทุกประเภทของไทยมีบังคับสัมผัสคล้องจองแม้คำประพันธ์นั้นจะมาจาก ภาษาอื่นซึ่งไม่บังคับก็ตาม เช่น คำประพันธ์ประเภทฉันท์ เมื่อรับมาแล้วจึงเพิ่มเสียงสัมผัสให้เข้ากับลักษณะ คำประพันธ์ของไทย

 

 

อ้างอิง

จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๙๓, กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒

หมายเลขบันทึก: 335701เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท