Benchmarking


Benchmarking

         Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดด

         Benchmarking   เกี่ยวข้องกับคำ  3  คำ คือ  Benchmarking, Benchmark และ Best Practices

 

Benchmarking   คืออะไร ?????

        มีผู้ให้นิยามคำว่า  Benchmarking  มาหลายคำจำกัดความ  ซึ่งรวมความหมายทั้งหมดพอสรุปได้ว่า

        “Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถ ทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในธุรกิจ”

 

Benchmark   คืออะไร ?????

        คำว่า  Benchmark  เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในหลายวงการ  แต่ความหมายของ  Benchmark  ที่เราสนใจคือความหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงองค์กร  ซึ่งพอจะสรุปความหมายได้ดังนี้คือ

        “Benchmark คือเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการวัดเปรียบเทียบ  ความ สามารถ โดยมีนัยที่แสดงถึงว่าผู้ที่ดีที่สุดหรือเก่งที่สุด คือต้นแบบที่ผู้อื่นจะใช้วัด เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของตนเอง

 

Best Practices  คืออะไร ?????

        “Best Practices คือ วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือคือการปฏิบัติที่นำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ”

 

ความสัมพันธ์ของ Benchmarking ,  Benchmark , Best Practices

         ความสัมพันธ์ของสามคำนี้มีความเกี่ยวข้องกันกล่าวคือ  กระบวนการทำ   Benchmarking   นำไปสู่การค้นพบผู้ที่เป็น Benchmark หรือผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุดว่าเป็นใคร และผู้ที่เป็น Benchmark สามารถตอบคำถามเราได้ว่า  Best  Practices  หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดที่นำไปสู่ความเป็นเลิศนั้นเขาทำได้อย่างไร

 

ความสำคัญของการ Benchmarking

        หัวใจสำคัญของการทำ Benchmarking อยู่ตรงที่ทำให้องค์กรมีวิธีการปรับปรุงที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพราะใช้องค์กรที่เหนือกว่าเป็นตัวตั้งและนำมาเปรียบเทียบ วิธีการนี้เราจะรู้ว่า องค์กรของเราอยู่ห่างชั้นกับองค์กรนั้นๆ แค่ไหน และต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะเดินไปถึงจุดหมาย หรือมีอุปสรรคตรงส่วนไหนในหน่วยงาน เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ เป็นต้น

        ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่มีตัวเปรียบเทียบที่เห็นภาพชัด และไม่มีการวิเคราะห์อย่างจริงๆจังๆ เป้าหมายขององค์กรอาจถูกแปรออกมาเป็นวิธีเดิน โดยใช้การคาดการณ์ ซึ่งวิธีดังกล่าวอาจผิดหรือถูกก็ได้ทั้งสิ้น การทำ Benchmarking จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างตรงจุดและชัดเจน ประโยชน์จากการทำ Benchmarking

        การทำ Benchmarking ทำให้องค์กรสามารถตอบคำถาม 4 ข้อนี้ได้

เราอยู่ที่ตำแหน่งไหนในธุรกิจ         Where are we?

ใครเป็นผู้ที่เก่งที่สุด                     Who is the best?

คนที่เก่งที่สุด  เขาทำอย่างไร         How do they do it?

เราจะทำอย่างไรให้เก่งกว่าเขา        How can we do it better?

         นั่นคือ ทำให้องค์กร “รู้เขา รู้เรา” สิ่งนี้นี่เองที่ทำให้องค์กรสามารถปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานขององค์กรให้ดีขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #benchmarking
หมายเลขบันทึก: 335699เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท