ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก กล่าวไว้ในหมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา


     มาต่อในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
       หมวดนี้สาระสำคัญก็คือ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
       ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินและจัดให้มีการประเมินดังกล่าว รวมทั้งเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
       ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐานให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต้นสังกัด ให้สถานศึกษาปรับปรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ รายงานต่อคณะกรรมการต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
      จากหมวด 6 นี้ ทำให้เกิดกฏหมายฉบับหนึ่งคือ พระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) พ.ศ.2543  หรือ สมศ.ที่เรารู้จักนั่นเอง  และกระทรวงก็ได้ออกกฏกระทรวงฉบับหนึ่งคือ กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546 (ภายหลังได้มีการปรับแก้กฎกระทรวงฉบับนี้อีก)
      ตอนนี้การประเมินภายนอกก็อยู่ในช่วงรอบที่ 2 แล้วนะ

หมายเลขบันทึก: 334599เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2010 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การประคุณภาพการศึกษา หน่วยวิทยบริการ วิทยาเขต เป็นต้น นอกสถานที่ตั้ง

จะใช้เกณฑ์การประเมินเป็นอย่างเดียวกับ มหาลัยแม่หรือไม่

จะใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดของอุดมศึกษา ซึ่งเขาแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม และถือเป็นการบริหารภายในแต่ละมหาวิทยาลัยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท