หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ถอดบทเรียน เด็กไทยกินผัก


เราจึงเห็นเด็กไทยชอบกินอาหารเหล่านี้แบบเกินพอดี ละเลยการกินพืชผัก ผลไม้ รวมทั้งอาหารจากธรรมชาติอื่น ๆ จนมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาจากการกินที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมนั้น มากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดสังคมอาจต้องทุ่มเททรัพยากรในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างได้ไม่คุ้มเสีย

   เมืองไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ นอกจากในน้ำจะมีปลาและในนามีข้าวแล้ว เกษตรกรชาวไทยยังผลิตอาหารจำนวนมากเลี้ยงประชากรไม่เพียงภายในประเทศเท่านั้น อาหารเหล่านี้จำนวนไม่น้อยถูกส่งไปเลี้ยงประชากรโลกด้วย จนได้ชื่อว่าเป็นครัวโลก

   คทไทยกินข้าวกินผักกินปลามาแต่ไหนแต่ไร พฤติกรรมการกินเช่นนี้มิได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในตรงข้ามกลับทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีจากการกินที่สมดุล แต่ในระยะไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาหารที่ผลิตจากอุตสาหรรมจำนวนมากที่ปรุงแต่งเพื่อความสะดวกและเหมาะสมกับการบริโภคในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

   การผลิตอาหารจำพวกนี้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี และได้เริ่มทำให้พฤติกรรมการกินของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทีละน้อย จนกระทั่งละทิ้งแบบแผนการกินแบบเดิม เรื่องราวอาจไม่น่าเป็นห่วงหากไม่พบว่าคนไทยเกิดการเจ็บป่วยจากการกินในปริมาณมากมายมหาศาล ทั้งโรคหัวใจ โรคไต โรคความดัน โรคเบาหวาน ฯลฯ และที่น่าเป็นห่วงก็คือ ปัญหาเหล่านี้ได้เริ่มลุกลามเข้ามาใกล้ตัวเด็กและเยาวชนเข้าไปทุกขณะ

   สำหรับปัญหาด้านโภชนาการของเด็กและเยาวชน แม้ว่าปัญหาการขาดแคลนอาหารซึ่งเป็นที่มาของภาวะทุพโภชนาการจะได้รับการแก้ไขจนทำให้ปัญหานี้จนเบาบางลงไปบ้างแล้ว แต่ความเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภคโดยรวมของประเทศซึ่งรวมทั้งเด็ก ที่กำลังจะประสบกับอีกด้านหนึ่งของปัญหา คือ พฤติกรรมการกินที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากเด็ก ๆ สามารถเข้าถึงอาหารที่ผลิตจากระบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการปรุงแต่งรส กลิ่น สีอาทิ ขนมกรุปกรอบต่าง ๆ อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำหวาน น้ำอัดลม ฯลฯ จูงใจให้เด็กติดอกติดใจ ได้โดยง่าย เราจึงเห็นเด็กไทยชอบกินอาหารเหล่านี้แบบเกินพอดี ละเลยการกินพืชผัก ผลไม้ รวมทั้งอาหารจากธรรมชาติอื่น ๆ จนมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาจากการกินที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมนั้น มากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดสังคมอาจต้องทุ่มเททรัพยากรในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างได้ไม่คุ้มเสีย

.....

 

   บริษัทไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารรายใหญ่รายหนึ่งของประเทผลิตภัณฑ์สำคัญหนึ่งคือซอสมะเขือเทศ ซึ่งมีแหล่งผลิตวัตถุดิบและโรงงานแปรรูปมะเขือเทศเข้มข้นอยู่ที่จังหวัดหนองคาย

   เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการด้านอาหาร ซึ่งเห็นปัญหาการบริโภคของเด็กไทย ที่นิยมชมชอบการกินอาหารจากระบบอุตสาหกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจากการกินอย่างเกินพอดี ในขณะที่ละเลยการกินพืชผัก ผลไม้อันเป็นแหล่งอุดมของสารอาหารที่มีคุณค่าต่อการเติบโตของร่างกายและสติปัญญา จึงมีแนวคิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำ “โครงการประกวดแผนส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน” ขึ้น

   การดำเนินงานดังกล่าวเป็นการรณรงค์ให้เด็กไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ โดยการกระตุ้นและผลักดันให้โรงเรียนเอาใจใส่อย่างจริง ๆ จัง ๆ ในการดูแลเรื่องการกินของเด็กนักเรียนให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักโภชนาการ ทั้งนี้ภายใต้การแนะนำด้านวิชาการจากกรมอนามัย

   โครงการฯ ได้เลือกพื้นที่ดำเนินงานในโรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในเขตภาคอีสานตอนบน ๓ จังหวัด ได้แก่ จ.หนองคาย อุดรธานี และขอนแก่น ซึ่งกำหนดโรงเรียนที่จะเข้าร่วมไว้จำนวนไม่เกิน ๕๒ โรงเรียน

   กระบวนการดำเนินงานในรอบแรก เริ่มจากการรับสมัครแผนส่งเสริมโภชนาการอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “เด้กไทยมีโภชนาการดี กินผักอย่างน้อยมื้อละ ๔ ช้อนกินข้าว และกินอาหารถูกสัดส่วน” จากโรงเรียนต่าง ๆ โดยในแผนฯ นั้น ๆ จะประกอบไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ หลักการและเหตุผล หลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ กระบวนการปฏิบัติงานตามแผน การติดตามผล และผลที่คาดว่าจะได้รับ

   ผู้ตัดสินคัดเลือกแผนฯ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ คือ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมอนามัย

   สำหรับกระบวนการดำเนินงานในรอบชิงชนะเลิศนั้น ในแต่ละโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก จะนำแผนและงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนไปดำเนินการในโรงเรียน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๓ เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและให้คะแนนจากการปฏิบัติเพื่อตัดสินให้รางวัล

   โรงเรียนที่มีคะแนนอยู่ใน ๑๐ ลำดับแรกจะได้รับรางวัล โดยรางวัลชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมประกาศนียบัตร ทุนสนับสนุน ๑๕,๐๐๐ บาทและผลิตภัณฑ์โรซ่า รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง อันดับสอง และรางวัลชมเชย จะได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและผลิตภัณฑ์โรซ่า และทุนสนับสนุนจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ๘,๐๐๐ บาท และ ๕,๐๐๐ บาท ลดหลั่นลงมา

   ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จะมีการมอบรางวัลให้กับทั้ง ๑๐ โรงเรียน รวมทั้งการนำเสนอผลงานในรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียน

   ควบคู่ไปกับการจัดแสดงนิทรรศการนั้น ครูผู้รับผิดชอบแต่ละโรงเรียนในทั้ง ๓ จังหวัด จะมาร่วมกันพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์และถอดบทเรียนร่วมกันถึงการดำเนินงานในโรงเรียนว่าที่ผ่านมา ได้ดำเนินการไปอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรและทำการแก้ไขอย่างไร ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จคืออะไร รวมทั้งการระบุให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาโภชนาการเด็กในโรงเรียน ฯลฯ

   ผลจากการถอดบทเรียนนี้น่าจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงแก่ผู้เข้าร่วมแบ่งปัน รวมทั้งความรู้จากการแลกเปลี่ยนนี้ก็น่าเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาโภชนาการของเด็กไทยต่อไปในอนาคตเช่นกัน

 

หมายเลขบันทึก: 334267เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทีมงานถอดบทเรียน "โภชนาการ"

มรภ.อุดรธานี

๖ - ๗ กพ.๕๓

ตามมาอ่านก่อนนะครับ...อยู่ไทยรัฐ 63 แล้วครับ...

ตามมาอ่านและชื่นชมทีมงาน ขอให้เด็กไทยชอบกินผักนะคะ

เข้ามาอ่านบทความ ควรมีการให้ความรู้กับผู้ปกครอง ในเรื่องประโยชน์ คุณค่าของผัก และจัดกิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมให้ เด็ก เยาวชน และ ประชาชน ได้บริโภคผัก คะ แต่ดิฉันเองก็ทานผักเป็นประจำ ในแต่ละมื้อจะเน้นให้ตัวเองทานผัก ให้ได้ 3 ส่วน 4 ของมื้อ และพยายามบอก อธิบายให้บุคคลที่รู้จักทานผัก แต่ก็มีน้อยคะ ที่จะทานผักกันเป็นประจำ แต่ก็จะพยายามให้ความรู้กับบุคคลอื่น ๆ ต่อไปคะ

และจะติดตามเข้ามาอ่านบันทึก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไปคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท