และแล้ว....การสะสมของเก่าของผมก็ใกล้ถึงจุดอิ่มตัวและพร้อมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกประเภทของวัตถุโบราณ


เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้ เฉพาะด้าน ผมจึงได้จัดทำ Website เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่ www.sawaengkku.com

เมื่อประมาณยี่สิบปีมาแล้ว ผมได้รับแรงบันดาลใจจากพี่ชายคนเล็ก ที่สนิทสนมกันมากที่สุด บอกผมว่า “มีอะไรเก่าๆ ก็เก็บไว้บ้าง”

ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพียงแต่นึกๆต่อเอาเองว่า “เพื่อเป็นที่ระลึกและการเรียนรู้”

เนื่องจากพี่ชายของผม (ปัจจุบันมีภูมิลำเนาอยู่ที่สงขลา) นิยมชมชอบกับการเก็บ “ของเก่า” จนเต็มบ้านเป็นหลังๆ ทั้งของใช้ในบ้าน และของใช้นอกบ้าน เรียกได้ว่า “หันไปทางไหนก็มีแต่ของเก่า”

ผมก็ได้รับแบ่งปันมาบ้าง เช่น นาฬิกาไขลานหัวม้า ลูกคิด เขี้ยวหมูป่า และอีกหลายรายการ ที่ชักจะจำไม่ค่อยได้ เพราะที่ผมเก็บไว้เอง ในระยะหลังๆ ก็มีมากพอสมควร

ตั้งแต่พี่ชายสะกิดและให้คำแนะนำ ผมก็เริ่มเก็บสารพัดอย่างที่เห็น ไม่ว่าไปที่ไหน

เริ่มตั้งแต่ไหโบราณ ครกตำข้าว เครื่องหีบอ้อย ไถ เครื่องมือทำนาของภาคต่างๆ เครื่องทองเหลือง ฟอสซิล หิน สะเก็ดดาว รากไม้ เกราะ โปง ระนาด  กลอง และเครื่องดนตรี กระดิ่งแขวนคอสัตว์ เกวียน ตาชั่ง งา เขาสัตว์ เขี้ยว ไม้แกะสลัก โบม กูบ ตะกร้า ตะเกียงโบราณ ของใช้โบราณ เครื่องมือจับปลาและล่าสัตว์ทุกชนิด และอีกมากมาย

ในขณะเดียวกัน พี่ชายคนโตก็บอกว่าเวลาไปต่างประเทศ ให้เก็บธนบัตรไว้บ้างเพื่อเป็นของนำโชคที่จะได้เดินทางไปอีก

ผมก็เริ่มเก็บธนบัตรต่างชาติแล้วแต่โอกาส จนหาที่เก็บไม่ได้ จึงนำไปประดับโต๊ะทำงาน

การเก็บธนบัตรต่างชาติ ทำให้ผมเริ่มสนใจหน่วยเงินตราต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ทำให้ผมเริ่มเก็บเงินไทยโบราณ สมัยรัตนโกสินทร์ ลามไปเรื่อยๆจนถึงอยุธยา สุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง ลพบุรี ทวาราวดี และ ฟูนัน ตามลำดับ

จนถึงทางตันของการเก็บเหรียญ และเงินกษาปณ์

ในระหว่างนั้น ก็เริ่มเข้าใจยุคต่างๆของการพัฒนาสังคมบ้างเล็กน้อย ประจวบเหมาะกับ เมื่อสองปีที่แล้ว ท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ได้รับรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ด้วยความที่อยากแซวท่านเล่น ผมจึงไปหาพระกรุนาดูนเลี่ยมทอง (พระแผงตัดเก้า) มาแขวนเล่นๆ ในงานรับรางวัลของท่าน

071207%20001

พระนาดูนตัดเก้าเลี่ยมทอง

ไม่น่าเชื่อครับ หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ก็มีคนรู้จักหลายคนนำพระนาดูนมาให้เป็นว่าเล่น และองค์ที่ผมภูมิใจมากที่สุดคือ

พระนาดูนปรกใหญ่เนื้อมะขามเปียก ที่ได้รับจากท่านผู้ใหญ่ พิกุล ขันทัพไทย ผู้ใหญ่บ้านนาฝาย ต. หัวเรือ อ. วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

หลังจากได้รับมา ก็กลายเป็นแรงกระตุ้นให้ผมศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านระบบพระกรุ โดยเริ่มจากกรุนาดูน และสายอีสานหลักๆ ได้แก่ กันทรวิชัย ฟ้าแดดสงยาง เมืองไพร แล้วก็ขยายไปทางภาคกลาง ทางนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี (ถ้ำเสือ ปราสาทเมืองสิงห์) ลพบุรี เพชรบูรณ์ (ศรีเทพ) ภาคตะวันออกที่ปราจีนบุรี (ศรีมหาโพธิ์ ศรีมโหสถ) ภาคเหนือ (ลำพูน กำแพงเพชร เชียงแสน เชียงรุ้ง) ภาคใต้ (นาคาม ไชยา พนังตรา ท่าเรือ)

ต่อมาผมก็ได้ลดระดับลงมาศึกษาพระสุโขทัย อยุธยา และลพบุรี อีกด้วย โดยเฉพาะพระกรุที่เกี่ยวข้องกับพระนเรศวร ที่ผมกราบไหว้ท่านเป็นประจำ และท่านเป็นกษัตริย์นักรบในใจผมมาตลอด

โดยเฉพาะ พระนางพญาพิษณุโลก กรุและรุ่นต่างๆ

การสะสมตามลำดับมานั้น ทำให้ผมมีของโบราณ และพระกรุมากพอสมควร

และที่เกี่ยวเนื่องกับพระกรุ ก็ยังมีการจัดหาเบญจภาคี จนครบทั้งเนื้อดิน (และพระสมเด็จ ทั้งสามวัด) และเนื้อชิน จนกระทั่งพระปิดตามหาอุดตามโฉลกของวันเกิด ก็มีครบ

และทำให้รู้สึกว่า ดูเหมือนจะเกือบครบ (ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง) จนแทบไม่มีอะไรที่น่าตื่นเต้น อีกมากนัก

ไปที่ไหนทีไร ก็เห็นที่ของที่เรามีแล้ว อย่างมากก็แค่ “สวยกว่า”

และ ณ วันนี้ ผมยังมองไม่เห็นว่ามีอะไรที่ท้าทายเหลืออีกมากนัก

และคิดว่าน่าจะใกล้ถึงจุดอิ่มตัว และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน ในทุกมุมมอง

เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้ เฉพาะด้าน ผมจึงได้จัดทำ Website เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่

www.sawaengkku.com

ในนามของศูนย์เรียนรู้วัตถุโบราณ (Antiques learning center)

ที่กำลังจะเปิดตัวเต็มที่เร็วๆนี้

แต่การแลกเปลี่ยนความรู้บางเรื่อง ก็จะยังนำมาเสนอ ณ ที่นี่ เช่นเดิม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบครับ

 

หมายเลขบันทึก: 333720เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 03:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มาชมของเก่าค่ะ อาจารย์

ดิฉันก็เก็บหลายชิ้น เก็บแบบไม่ได้ตั้งใจ

ตามไปอ่านที่

sawaengkku.com

ได้เลยครับ

แต่กำลังพัฒนาครับ

เข้ามาติดตามครับอ.แสวง

ไปอ่านที่เวปไซต์ของ http://www.sawaengkku.com/ จัดการเวปไซต์ได้ดีครับอ่านง่ายข้อมูลก็ชัดเจน ชอบครับจะพยายามติดตามต่อไปครับ

ผมเองก็มีเวปไซต์เช่นกันแต่ผมนำเสนอเกี่ยวกับศิลปทางใต้ครับลองติดตามของผมดูบ้าง ช่วยติชมด้วยนะครับ

http://www.alangkarnprakruang.com/main.html

ดีมากครับ

ผมอยากแลกเปลี่ยนเรื่องพระสายใต้ครับ

ผมมีน้อย และรู้น้อยมากครับ

โดยเฉพาะพระกระดุมศรีวิชัย มีให้แลกไหมครับ

ผมกำลังคิดจะอธิษฐานอยู่ครับ

ถ้าจะทำให้มีข้อมูลความรู้มากกว่าที่เสนออยู่นี้ได้ไหมครับ

ผมสนใจประวัติของกรุยุคศรีวิชัยแต่ละแห่งครับ

ขอบคุณมากครับ

แวะมาทักทายเรียนรู้ขอรับ

 

แวะมา และ อยากเรียน อาจารย์ว่า เรามาช่วยกัน เรื่อง พระสมเด็จเก่า-แท้- แบบไม่ต้องขึ้นกับ เซียน

แถวๆ กทม ซะที ดีมั๊ยครับ

ผมเชื่อว่า แทบจะ ร้อยละ 100 มีครอบครองทั้งนั้น เพราะ สมเด็จท่านไม่ได้สร้าง แค่ 84000 เท่านั้น

แต่ เชื่อผมเถอะ ว่า มากกว่านั้น เยอะ

เอาให้เห็นพลัง ข้างในกันเลย ดีกว่า มั๊ยครับ

ครูเบิ้ม

น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ

วันหนึ่งเราจะแสดงให้ปรากฏครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท