เคล็ดการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน : ตอนที่ ๒ พระเนื้อตะกั่ว (สนิมแดง)


สนิมแดงเป็นเปลือกไข่ ที่ส่วนใหญ่จะมีหลายชั้น ที่จะปริร้าวละเอียดยิบ (ไม่ลึก) สานกันเป็นตาข่าย หรือ เกิดเป็น “เส้นใยแมงมุม” ยิ่งเก่ามากยิ่งซับซ้อนมาก

หลังจากการศึกษาเนื้อดินประเภทต่างๆจนพอสามารถแยกแยะพระเนื้อดินยุคต่างๆ และภาคต่างๆออกจากพระโรงงานได้ในระดับหนึ่ง ผมก็เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการดูพระกรุเนื้อ

ชิน

โดยเริ่มจากเนื้อชินที่ดูง่ายที่สุดก่อนในความรู้สึกของผม ก็คือจากเนื้อสำริดแบบต่างๆ เนื้อเงิน สนิมแดง ชินเงิน และชินเขียว ตามลำดับ

ทั้งนี้เนื่องมาจากความซับซ้อนของความรู้ที่ผมต้องจัดการ

แต่ในทางการนำเสนอ

ผมกลับรู้สึกว่า เนื้อตะกั่วสนิมแดงนั้น มีความซับซ้อนน้อยกว่า จึงขอเสนอก่อน ดังนี้

พระเนื้อตะกั่วนั้นมีความง่ายตั้งแต่เริ่มดูโลหะ โดยเฉพาะ

1.  ความอ่อนของโลหะ ที่สามารถบิดงอได้ง่าย  เนื้อดำ มีตำหนิได้ง่าย

2.  ถ้ามีเนื้อโผล่ ก็ลองขีดไปบนกระดาษสีขาว จะเห็นเป็นรอยเส้นสีดำ

และการเกิดสนิมแดง

  • ในพระเก๊ จะเป็นเนื้อตะกั่วสีดำ ไม่เกิดไข ไม่มีสนิมไข่ปลาหรือสนิมแดง
  • พระกรุอายุไม่มากนักจะมีไขขาวฉ่ำผิวตะกั่ว หรือมีสนิมแดงบางๆ หรือไขขาว (สนิมฟูออกเป็นสีขาว) แบบบางๆ แล้วแต่ระดับความชื้นของกรุ
  • หรืออาจมีทั้งสองอย่างปะปนกันก็ได้
  • ถ้าพระแช่น้ำ หรือความชื้นสูง จะเกิดไขฟูออกมาจากแกนตะกั่วที่ยังเป็นสีดำ ออกเทาแบบไล่ระดับสี

พระเทริดขนนก ที่มีไขฟูทั้งองค์

  • ถ้ามีทั้งไขและสนิมแดง ผิวสนิมแดงจะถูกดันออกมาจนปริร้าวเป็นรอยแยกที่เรียกว่า “ใยแมงมุม” สานกันเป็นตาข่าย
  • แต่ถ้าไขปริออกมาแห้งปิดรอยแผลเป็นเส้นๆ จะชัดเจนแน่นอนกว่า ที่ผมขอบัญญัติศัพท์ว่า "เส้นใยแมงมุม" ที่นูนปิดทับรอยปริเดิม ที่มักมีหลากหลายสี แบบ เหลือง ส้ม แดง ในเส้นเดียวกัน

วิธีพิจารณาง่ายๆ ที่ผมพบในพระที่ถึงยุคตามอายุของพระ ที่ส่วนใหญ่เป็นพระยุคลพบุรีนั้น สนิมแดงจะมีลักษณะเป็นชั้นๆ ดังนี้

  • สนิมไข่ปลา เป็นเม็ดๆ เรียงเป็นแถวๆ คล้ายเส้นใบไม้ (ของปลอมใช้พิมพ์ลาย ที่จะทำให้ไข่ปลาติดกันเป็นแผง แทนที่จะแยกกันเหมือนของแท้
  • สนิมขุม เป็นหลุมๆ เล็กๆ เกิดจากไขเกิดคลุมสนิมไข่ปลา แต่จะปิดไม่หมด ทำให้มีบางส่วนยังคงเป็นหลุมเล็กๆ (ของปลอมใช้พิมพ์หลุม ที่ทำให้มีรอยต่อ)
  • สนิมแดงเรียบ คล้ายเปลือกไข่
  • ไขปูด ออกมาแบบหลากสี ถ้าอายุไขยังไม่มาก จะไล่สีจากเหลือง ส้ม แดง เป็นวงชัดเจน ที่จะต้องหาจุดที่มีลักษณะอย่างนี้ อย่างน้อย ๑ จุด

  • หรือในสภาพที่ชื้นหรือเค็ม จะมีไขขาวที่ชุ่ม เกาะแน่นทั้งองค์กับเนื้อพระ และมีสนิมแดงเกาะติดอยู่ประปรายภายนอก
  • ในบางกรณีอาจมีสนิมแดงเกิดใหม่กระจัดกระจายปนกับไขขาว ที่ทำให้พระองค์เดียวมีเนื้อหลายแบบในขณะเดียวกัน
  • อาจมีบางจุดที่ไขขาวดันระเบิดออกมาบ้าง และมีไขขาวทะลักออกมาปกคลุมสนิมแดงบ้างแต่ไม่ควรมากนัก
  • ถ้ามีไขขาวมากจะระเบิดออกทั้งหมด จนเหลือสนิมแดงกระจัดกระจายอยู่ด้านนอก  โดยเฉพาะในกลุ่มพระอู่ทอง ในกลุ่มพระท่ากระดานกรุต่างๆ
  • ถ้ามีการสึกกร่อนก็จะเห็นเนื้อตะกั่วผุๆ อยู่ใต้ไขขาวอีกทีหนึ่ง

เมื่อจับหลักนี้ได้แล้ว ก็สามารถแยกพระกรุออกจากพระโรงงานได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ เนื่องมาจากพระโรงงานจะทำมาจาก

  • การนำแผ่นตะกั่วมาปั๊มแล้วทาหรือชุบด้วยสีแดงลูกหว้า ที่วางอยู่ในพิมพ์ให้เกิดเป็นรูปทรงของพระ
  • พิมพ์ลายสนิมไข่ปลาและสนิมขุมลงบนผิวของสี
  • พอสีหมาดๆ ก็นำสีอ่อนกว่ามาโปะให้ดูเหมือนไปูดที่แห้งแล้ว
  • หรือนำสีขาวมาโปะทับให้ดูเหมือนไขปูด
  • เมื่อสีแห้งก็ทำให้สีที่เคลือบอยู่นั้นแตกร้าวทั้งองค์ ให้มีลักษณะคล้ายกับพระได้อายุ
  • ในรายที่ฝีมือสูงจะมีการเคลือบสีขาวขุ่นที่มีลักษณะของไขขาวไว้กับผิวตะกั่วก่อนชุบด้วยสีลูกหว้า

แต่ สิ่งที่ทางโรงงานยังทำได้ไม่เนียน ก็คือ

  • ความนุ่ม และชุ่มฉ่ำอย่างเป็นธรรมชาติของผิวสนิมแดงและไขขาว
  • การไล่สีของไขปูด
  • การเกิดเส้นใยแมงมุม
  • ความหลากสีของเส้นใยแมงมุม

ที่ทำให้พระโรงงานดู “กระด้าง” ด้วยตาเปล่า และ “แห้งกระด้าง” เมื่อส่องด้วยเลนส์

ที่ทำให้เซียนพระเก่งๆ แยกได้ โดยไม่ต้องส่องด้วยเลนส์ ก็รู้ว่าเป็น "พระโรงงาน"

ที่แตกต่างจาก ความ “นุ่มและฉ่ำ” ของพระกรุ (เมื่อมองด้วยตาเปล่า)

ดังรูป

Rangpeun

ให้สังเกตสีขาวที่ระเบิดออกมาจากข้างในของพระร่วงรางปืน "จักรพรรดิ์พระเครื่อง"

และรอยร้าวเป็นตาข่ายทั้งองค์ (ไม่ชัดนัก) ที่จะชัดเมื่อดูจากของจริง

Rabird

ลักษณะการระเบิดของไขขาวอย่างเป็นธรรมชาติของพระร่วงยืนสุพรรณบุรี

Rabird2

และการระบิดเป็นจุดๆ ของพระร่วงยืนสุพรรณบุรี

ที่ทำให้มองเห็นความบางของผิวสนิมแดง

Takradan1

การเกิดไขขาวคลุมแบบหลายชั้น ปนกับสนิมแดง ที่อยู่ใต้แผ่นทองคำของพระท่ากระดานกาญจนบุรี ยุคอู่ทอง

Sanimdaeng

การเกิดสนิมแดงซ้ำซ้อนบนผิวที่มีรอยขูดขีด แสดงถึงความเก่าของผิวในพระเทริดขนนกสนิมแดง

แต่ เป็นเรื่องประหลาดเลยครับว่า

เมื่อส่องด้วยเลนส์ หรือกล้องขยาย

จะต้องตรงกันข้ามกับตาเปล่าไปเลย

คือที่ผิวพระกรุจะมีความนุ่ม และชุ่มจนถึงดูเสมือนว่า "ฉ่ำ"

จากการการดันและการระเบิดออกมาของไขขาว ที่ดันจนสนิมแดงปริแตกออกเป็นลายใยแมงมุมอย่างเป็นธรรมชาติ

หรือ ไขขาวทะลักออกมาเป็นเส้นใยแมงมุมหลากสี หรือระเบิดออกมาเป็นจุดๆ หรือตามขอบรอยแตกของสนิมแดง

และจุดสังเกตว่าองค์ใดเป็นพระโรงงานนั้น ก็มีอีกสามสี่ประการ ก็คือ

  • ความกระด้างของสนิมแดง ถ้าดูแห้งๆ ด้านๆให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าน่าจะมาจากโรงงานมากกว่ามาจากกรุ
  • ถ้าไม่มีรอยปริร้าวตื้นๆตามผิว ทั้งหน้าและหลัง ก็มีแนวโน้มว่า เป็น “พระใหม่” มาจากโรงงานหนึ่งโรงงานใด ก็ได้
  • พระโรงงานบางรุ่น จะมีไขขาวเป็นฝุ่นยุ่ยๆ แห้งๆ (ไม่แน่นและชุ่ม) หรือสีสนิมแดงลูกหว้าคลุมทั้งองค์ เพื่อปิดบังเนื้อตะกั่วใหม่ๆ ไว้ข้างใน
  • การทำให้สนิมแดงแตกของพระโรงงานจะแตกเละๆ (ทำให้ผิวพระดูกระด้าง) หรือมีลักษณะเป็นแนวห่างๆ เป็นเส้นขนานกันตลอดแนว (ไม่เป็นตาข่าย) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับฝีมือของแต่ละโรงงาน
  • บางครั้งจะพบว่าการแตกของสนิมแดง มีลักษณะร้าวลึก เห็นความหนา จนถึงเนื้อตะกั่ว ที่จะทำให้เห็นความสดใหม่ของผิวตะกั่วประกอบอีกด้วย
  • ผิวตะกั่วที่โผล่ ไม่มีไขคลุม
  • พระโรงงานจะมีการนำสีขาวคล้ายๆไขขาว มาโปะตามรอยแตกของสนิมแดงเพื่อเพิ่มความนุ่ม (แต่ก็ยังกระด้างอยู่ดี) ของเนื้อพระ ที่มีลักษณะความหนาแน่น “จากนอกเข้าใน” แทนที่จะเป็น “จากในออกนอก” แบบตามธรรมชาติ

ทั้งนี้ต้องดูพิมพ์พระประกอบด้วย จึงจะพลาดน้อยลง

ส่วนเนื้อโลหะอื่นๆ จะค่อนข้างซับซ้อนกว่านี้ ที่จะนำมาเสนอในวาระต่อไปครับ

ขอให้โชคดีครับ

พระขุนแผน กรุเขาชนไก่
ไขขาวดันออกมาจนเหลือสนิมแดงเพียงเล็กน้อยด้านนอก
หมายเลขบันทึก: 331947เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2010 03:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (74)

..ให้สังเกตุว่า พระที่เราได้มาใหม่ๆนั้นอาจจะมีรอยตำหนิขีดข่วยจนถึงเนื้อตะกั่วมองเห็นวาวๆ หากเป็นพระกรุอายุหลายร้อยปีนั้น หากเก็บพระไว้ตรงที่อากาศถ่ายเทได้ดี เนื้อตะกั่วที่วาวๆจะกลับเกิสนิมแดงขึ้นเรื่อยๆจนใกล้เคียงผิวเดิมระยะเวลา 2 อาทิตย์ก็เริ่มมองเห็นอย่างชัดเจน ข้อสำคัญ ควรแสวงหาพระเนื้อตะกั่วที่มีสนิมแดงเลือดนก สนิมแดงลูกหว้า การแตกใยแมงมุมและเกิดไขวัวในองค์เดียวกันเพราะหลีกเลี่ยงการทำสีจากผีฝีมือสนิมแดง

ดีมากครับที่มาเติมให้

การเกิดสนิมแบบ "ต่อเนื่อง" ก็เป็นเรื่องสำคัญครับ ถ้ามีน่าจะแท้ครับ

แต่ละกรุสนิมแดงก็ต่างกันขึ้นอยู่กับ 1.อุณหภูมิ 2.ความชื้น 3.ความลึกตืนที่ถูกฝัง 4.ส่วนผสมของตะกั่ว 5.อายุของพระที่ลงกรุ

แม้แต่กรุเดียวกันสนิมแดงก็ยังต่างกัน

และที่สำคัญอย่าเชื่อนิทานเกินไป เช่น การบอกเล่าต่อๆกันมาว่าพระแตกกรุแค่ 200 องค์บ้าง 20 องค์บ้าง เป็นการปั่นราคาพระ

ถ้ารักที่จะอนุรักษ์ต้องเปิดใจกว้าง พระกรุกว่าที่จะเปิดกรุเป็นทางการ ผู้ที่แสวงหาพระกรุ(แอบขุดกรุ) เขาขุดไปกี่ปีและเอาพระออก

ไปเท่าไหร่แล้ว ตอนเปิดกรุเป็นทางการอาจเจอแค่ 200 หรือ 20 แต่ก่อนหน้านั้นไม่มีใครรู้แน่ชัด เพราะผู้ลักลอบขุดกรุ เขาไม่บอกหรอก ถ้าเชื่อนิทานเกินไปของดีที่เจอก็อาจหลุดมือก็ได้ เพราะกว่าจะเปิดกรุเป็นทางการมักจะมีการลักขุดไปก่อนแล้วรู้ทีหลัง ก็เลยแจ้งกรมศิลป์เปิดกรุหรือกรรมการวัดเปิดกรุ

ข้อสำคัญอีกประการ ถ้ารักที่จะอนุรักษ์จริงๆ ถ้าเจอเนื้อพระกรุเก่าแก่จริงๆ แม้ไม่ทราบที่มาก็เก็บรักษาไว้ได้เลย กรุพระในประเทศไทยมีเป็นพันๆกรุ และแต่ละที่ที่แตกกรุออกมาก็ไม่มีใครรู้หมด แต่พระจะกระจายไปกับคนที่ไปทำงานต่างพื้นที่ก็เยอะทำให้พระกระจายไปทั่วประเทศไทย เช่นคนทางภาคเหนือไปทำงานทางภาคใต้ พระกรุทางใต้แตกเขาอาจจะเก็บไว้ก็ได้ เวลากลับบ้านก็นำกลับมาด้วย ซึ่งไม่แน่นอนเสมอไปว่าพระท้องถิ่นนั้นๆจะต้องอยู่ที่ในท้องถิ่นเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น พระกรุเวียงลอ จ.พะเยา มีคนเฒ่าคนแก่ เล่าให้ฟังว่า สมัยประมาณ 50 ปี ก่อนพระกรุเวียงลอแตก ไม่มีใครสนใจเลย มีการนำพระที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อทอง และเนื้อประเภทโลหะต่างๆ ใส่รถบรรทุกนับสิบคัน ล่องลงไปทางกรุงเทพ เหลือแต่พระกรุเนื้อดินมากมายทิ้งเรี่ยราด เด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเอาหนังสติ๊กยิงเล่นแตกหักมากมาย ปัจจุเล่นเล่นหากันหลักหมื่นยังหาแทบไม่ได้ พระที่อยู่กรุส่วนใหญ่จะปนกัน เช่นเนื้อดิน เนื้อชินเงิน สนิมแดง ชินเขียว แล้วแต่ว่าเนื้อไหนจะเยอะกว่าแค่นั้นเอง การสร้างพระสมัยโบราณต้องสร้างจำนวนมากอย่างแน่นอน

ไม่ได้สร้างน้อยๆอย่างที่ชอบเล่าต่อๆกันมา เพียงแต่เราเจอมากน้อยขึ้นอยู่กับการเวลา ถ้ารักจะเล่นพระกรุโบราณ ต้องเปิดใจกว้าง ศึกษา ฟังความคิดเห็นหลายๆคน เรื่องพิมพ์พระไม่ต้องยึดติดมาก คิดไปสมัยโบราณ ไม่มีคอมฯแกะบล๊อค ต้องใช้ฝีมือแกะบล๊อคเท่านั้น สร้างพระนับพันนับหมื่นองค์ ใช้กี่บล๊อคลองคิดดู ถึงใช้คนแกะบล๊อคคนเดียวกัน แต่แกะด้วยมือต้องแตกต่างกันแน่นอน ถ้าพระมาจากบล๊อคเดียวกันก็อาจเหมือนกัน แต่ถ้ามาจากบล๊อคอื่นก็อาจต่างกันเล็กน้อย ไม่ถึงกับเพี้ยนไปไกลก็ใช้ได้แล้ว แต่เนื้อพระยังไงก็ทำได้ไม่เหมือนธรรมชาติ (เป็นการศึกษาและทฤษฏีส่วนตัว ที่ใช้เก็บพระกรุทุกวันนี้)

สุดยอดครับ

คิดเหมือนผมทุกเรื่องเลย

เรื่องที่ ๑ จำนวนกรุ ผมว่าเมืองที่มีอายุหลายร้อยปี น่าจะมีหลายวัด จะมีแค่กรุสองกรุ ไม่น่าจะเป็นไปได้

เรื่องที่ ๒ จำนวนพระ ผมว่า จะสร้างทั้งที น่าจะเป็นการสั่งสมบารมี น่าจะว่ากันเป็นร้อยเป็นพัน และน่าจะมีหลายเนื้อ หลายพิมพ์ ตามระดับ หรือลำดับชั้นของพระแต่ละชุด กรุใหญ่ยิ่งต้องหลากหลาย

เรื่องที่ ๓ พิมพ์พระน่าจะหลากหลาย เพราะการสร้างจำนวนมาก จะมีพิมพ์เดียวก็เสียเวลามาก และถ้าเป็นพระหล่อยิ่งต้องหลากหลายพิมพ์

เรื่องที่ ๔ มวลสารที่ใช้สร้างพระ น่าจะหลากหลาย ไม่น่าจะเป็นแบบเดียวทั้งหมด และเทคนิคการผสมอาจจะยังไม่ดีพอ ทำให้มีเนื้อแตกต่างกันได้มาก

เรื่องที่ ๕ สภาพการเก็บรักษาพระ ส่วนล่าง ส่วนบน การพัฒนาการของเนื้อน่าจะไม่เท่ากัน

เรื่องที่ ๖ สภาพการใช้พระ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวได้ต่างๆกัน ที่ไม่ควรยึดติดอยู่แบบเดียว หรือมาตรฐานแคบๆแบบเดียว

 

ผมก็คิดและคุยกับพรรคพวกบ่อยๆ เกี่ยวกับวิชามาร ที่ทำให้เกิดการตีบตันทางการพัฒนาความรู้

และพวกหวงความรู้ ปิดบังความรู้เพื่อเอาเปรียบคนอื่น ก็ยังหากินสบายๆ

ผมเคยนำพระที่มั่นใจตามหลักวิชาการทุกอย่างไปให้พวกที่หากินแบบวิชามาร เขาตีเก๊แบบไม่อธิบาย แม้จะขอคำอธิบายดีๆ ก็ไม่ยอม

แบบนี้ก็มีมาก ทำไมทางผู้มีบารมีด้านนี้ไม่ออกมาปรามพวกใช้วิชามารหากิน และทำลายภาพลักษณ์ของสังคม ที่ยังมีคนดีๆ อยู่ด้วย

จนมีคำกล่าวว่า ถ้าแน่จริงต้องสามารถขายพระเก๊ (พร้อมใบรับประกัน) ให้ได้ราคาหลักล้าน

ผมฟังแล้วก็ไม่ได้อิจฉา แต่กลับรู้สึกสมเภทกับคนเหล่านี้

ขอบคุณครับที่มาแลกเปลี่ยน

ผมเก็บพระมานาน แต่ปัญหาคือ พระสนิมแดงที่นักสะสมยุคเก่า รุ่นปู่รุ่นพ่อผม เก็บมา ประกวดมาพอสมควร พอมาวันนี้เซียนสายตรงลพบุรี เขาบอกปลอม แต่ไม่ได้ติดใจอะไร ที่ยังคาใจอยู่คือ หากจะมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ร่วมด้วยกับการ ส่องดูลักษณะทางกายภาพ ซึ่งส่วนตัวน่าจะเป็นไปได้ จึงอยากทราบว่า

พระกรุที่เกิดสนิมชนิดที่ผุดออกมาเป็นผิวพระ ไข ไข่ปลา ใยต่างๆ เกิดจากอะไร แล้วส่วนที่ปรากฏนี้เป็น สารจำพวกไหนมีส่วนประกอบทางเคมีอะไรบ้าง

เราน่าจะมีวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ จะพิสูจน์ว่าสนิมที่ลักษณะเป็นชั้นบนผิวพระนี้เป็นสนิมจริง ถ้าเรารู้ส่วนประกอบทางเคมีของสนิมเหล่านี้ ซึ่งน่าจะต่างจากสารสังเคราะห์ที่นำมาปลอมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสารสังเคราะห์เกี่ยวกับสี และสารเคลือบผิว จะประกอบด้วย CH เป็นหลัก จึงน่าจะมีวิธีการทดสอบไม่ยาก ใครมีคำแนะนำเพิ่มเติมไหมครับ ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาในเรื่องที่ใกล้เคียงนี้น่าจะมองภาพออกไม่ยาก และจะเป็นสิ่งที่ดีต่อวงการพระ รวมไปถึงวงการอื่นๆ ทางด้านโบราณคดี อีกด้วย

อย่าเชื่อใครมากกว่าเชื่อตัวเอง

และการเชื่อตัวเองต้องประกอบด้วยเหตุผลที่เป็นจริง

เซียนส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึก และประสบการณ์มากกว่าหักการและความจริง

ถ้ามีสนิม ๓ ชั้นขึ้นไป แม้พิมพ์จะไม่ตรงนัก ก็น่าจะแท้ แต่ต่างบล็อก

การหล่อพระจำนวนมาก จะใช้บล็อกเดียวนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้

เพราะเทโลหะที่หลอมแต่ละครั้งน่าจะได้ทีละหลายองค์

พวกติดยึดกับพิมพ์น่าจะไม่ถูกต้อง

ควรจะดูเนื้อเป็นหลัก จะพิมพ์ไหนก็แค่ต่างบล็อก หรือต่างกรุ

ถ้าจะว่าพิมพ์นิยม (ปั่นกระแส) นั้นผมไม่เถียง แต่ขอถามว่าใครนิยม

พวกใช้วิชามารปั่นกระแส หรือ สวยงามจริงๆ

ถ้าสะดวกส่งรูปมาให้ดูก็ได้ครับ ที่ [email protected]

การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ทำได้หลายวิธี แต่ใช้แค่ทางกายภาพก็ฟันธงได้ไม่ต่ำกว่า ๙๐ % แล้ว

ไม่ต้องไปวุ่นวายวิ่งตามวิชามารของเซียน

เชื่อตัวเองสบายใจกว่าเยอะครับ

 

ผมก็งงกับเซียนพระครับ ว่ากันที่ พระเก่าจริงๆๆนะครับ แล้วเขาบอกว่าของปลอม

1.เซียนที่เขาฟันธงว่าปลอมเขาเอาอะไรมาวัดครับ พิม หรือ ไข หรือสนิมแดง หรืออายุ

2.ถ้าพระเจออากาศ 1-2ปี กับเจอมาแล้ว 70 ปี อันไหน สนิมจะเยอะกว่ากันครับ(เพราะเซียนบางคนบองอายุไม่ถึง ทั้งที่มาจากกรุเดียวกันแต่ ขึ้นมาเจออากาศเวลาต่างกัน)

3.เซียนลพบุรี พอเจอพิมจากสุพรรณบุรี บอกอายุไม่ถึง พิมไม่ใช่ เซียนทางสุพรรณ พอไปเจอพระกรุที่อื่นก็บอกว่า พิมไม่ใช่

4.ถามเซียนๆๆทั้งหลายครับ ที่ไปบอกว่ากรุนั้นปลอม กรุนี้ปลอม เคยศึกษา ว่ากันด้วยวิทยาศาสตร์ บ้างไหมครับหรือก็จำๆๆมาจากวงเหล้า จำมาจากร้านส่องพระใครว่ายังไง ก็เอามาติพระของคนอื่นว่าไม่ดี เพราะไม่เหมือนของตนเอง

............อันนี้ ความคิดเห็นส่วนตัว ครับ ผมว่า ดร. แสวง รวยสูงเนิน ท่านใด้ให้ความรู้ เรื่อง พระกรุอย่างดี และ สมบูรณ์แบบ ครับ.............

เซียนส่วนใหญ่ติดกรอบวิชามารของพุทธพานิช

  • แล้วเขาจะว่าตามกัน ว่า พิมพ์ไหนเป็นพิมพ์นิยม (ก็พิมพ์ที่ตัวเองมีเก็บไว้มากนั่นแหละ)  พิมพ์อื่นๆตีเก๊ไปเลย เพื่อลดจำนวนพระคู่แข่งในตลาด ทั้งๆที่พระจำนวนมาก หล่อจากคนละบล็อกกัน (คนโบราณเขาก็รู้วิธีการหล่อพระทีละสิบๆ ร้อยๆองค์ โดยทำพิมพ์เกาะกันเป็นช่อ แต่ละองค์จึงเป็นคนละบล็อก แม้จะแกะจากต้นแบบเดียวกัน ก็ยังน่าจะเพี้ยนจนได้แหละครับ)
  • เนื้อพระเขาก็ใช้มาตรฐานเดียวที่ระดับเซียนเขาตกลงกัน (เฉพาะกลุ่มใครกลุ่มมัน) ต่างออกไป (แม้จะเก่าจริง ก็จะตีเก๊ ว่าเนื้อไม่ถึง)
  • การส่งเข้าประกวดเขาก็จะตีกันให้เฉพาะพระของตัวเองและพรรคพวกได้เข้าประกวด และรับรางวัล พระคนอื่นตีเก๊หมด เพื่อลดจำนวนพระที่มีใบรับรอง
  • ใบรับรองเก๊มีมาก เท่าที่ทราบจ่ายแค่พันสองพันบาทก็ได้แล้ว (มีพรรคพวกอาสาจัดการให้แต่ผมไม่สนใจ เพราะเสียชื่อเสียง ไม่คุ้มกัน)
  • ใครหลงทางไปว่าตามเขาก็เป็นเหยื่อเขาทันที

ศึกษาให้ชัดเจน แล้วใช้หลักความจริงตัดสินแบบวิชาการ

น่าจะดีกว่าแบบ "วิชามาร" ครับ

แล้วเราจะได้ความรู้ที่แท้จริง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่เป็น "เหยื่อ" ของใคร

ขอให้โชคดีครับ

 

....ไหหรือพัสดุที่เก็บบรรจุพระนั้น สำคัญอย่างมากในการวิเคราะห์ถึงอายุและศิลป์ตามท้องถิ่น จากเกิดเปิดกรุด้วยตัวเองทำให้ผมได้รู้ว่า เนื้อชินแก่ตะกั่วนั้นทนต่อความชื้นที่ฝังไว้ในดินหลายร้อยปีได้ดี สนิมแดงจะไม่ค่อยเกิดมากนักจะมีเพียงไขขาวจะไม่แข็งตัวเพราะอยู่ความชื้นตลอดเวลา นอกเสียจากจะมาโดนอากาสเป็นแรมเดือนไขขาวจะเริ่มแข็งตัวและล้างออกยาก พระในไหใบเดียวกัน พิมพ์เดียวกัน ทำพร้อมกันแต่จะมีสนิมแดงมากหรือน้อยต่างกัน ซึ่งเกิดจากอัตราส่วนในการผสมก่อนเทนั้นแตกต่างกันเช่น หากมีเนื้อตะกั่วมากกว่าดีบุก พระองค์นั้นจะเกิดสนิมแดงมากเนื้อพระจะอ่อนหักบิดตัวได้ง่าย แต่หากส่วนผสมดีบุกมากกว่าตะกั่วจะเกิดพระจะแข็งตัวบิดงอได้ยากขึ้นสนิมจะไม่ค่อยเกิด อีกนัยหนึ่งคนสมัยก่อนๆเขาฝากแนวคิดให้เราได้เรียนรู้ ศึกษาการกัดกร่อนของวัสดุต่างๆในเชิงวิศกรรม ส่วนในเชิงศิลปะนั้นก็บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ในยุคนั้นๆโดยถ่ายถอดอารมณ์จากจิตใจไปยังแพมพ์ ซึ่งแกะเป็นดั่งตัวแทนของพระพุทธองค์ ถึงจะอย่างไร พระจะดีอยู่ที่ใจไม่ใช่ที่คอต่อไปยังปาก....เล่นพระอย่าเล่นด้วยหูให้ดูที่ตา...ครับ

ขอบคุณครับ

จะเก็บไว้เป็นข้อมูลครับ

ท่านน่าจะเขียนสรุปไว้ด้วยครับ กันองค์ความรู้หายไปนะครับ

จริงอย่างที่ท่าน ดร. แสวง รวยสูงเนิน กล่าวทุกประการครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

คนโคราช

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

ผมมือใหม่ครับ

ว่างๆรบกวนท่าน ดร.แสวง ดูให้หน่อยเดี๋ยวผมส่งรูปพระไปให้

ลองเข้าไปดูที่

http://www.taradpra.com/store.aspx?StoreNo=4911

แล้วส่งรูปมาตาม email ที่ให้ไว้ครับ

พระตะกั่วสนิมแดงบางองค์มีไขวัวแล้ว บางองค์อาจจะมีคราบไขสนิมเขียวหยกเคลือบผิวภายนอกหรืออาจกินตัวแยกในไขวัวก็เป็นได้ เพราะการเก็บไว้ในภาชนะนั้น จะมีพระหรือวัตถุอื่นที่เป็นสำริดเช่น กระพรวนสำริดมักจะเก็บรวมกับพระเครื่องเสมอๆ กระพรวนหรือกำไรสำริดนั้นมีมาตั้งแต่ยุคทราวดีเมื่อ 5000 ปีเช่นยุคบ้านเชียงเรื่อยมาจนถึงยุคลพบุรี พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่มีสนิมเขียวหยกปะปนนี้ หากดูอย่างพิจารณาแล้ว จะมีความงดงามยิ่งนักเพราะมีสนิมแดงปนสนิมเขียว ที่กล้ากล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าพระที่เปิดกรุเองมากับมือนั้น หลังจากเปิดกรุมาถูกอากาศภายนอกเพียงแค่เดือนเดียว จะเกิดคราบไขวัวหนามากอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งถูกเหงื่อไคลด้วยแล้วยิ่งมีเสน่ห์ยิ่งนัก

ขอบคุณครับที่มาเสริมให้

ความรู้นี้หายากมากครับ

คนที่มีแล้วปิดบังแล้วเสียโอกาสครับ

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลความร้เรื่องพระกรุ

รบกวนช่วยดูพระให้ผมหน่อยได้มั้ยครับขอบคุณครับ

ส่งภาพ closeup ชัดๆมาเลยครับ ที่

[email protected] หรือ [email protected] ก็ได้ครับ

ส่งไปอีกภาพแล้วคับคือว่าอยู่ในกรอบถ่ายยังงัยก็ไม่ชัดและความละเอียดของกล้องด้วยรึป่าวที่ถ่ายออกมาไม่ชัด

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.แสวง เป็นอย่างสูง ที่ได้ให้ความรู้ดีๆเกี่ยวกับพระกรุ เนื้อสนิมแดง ผมค้นหาข้อมูลอย่างนี้มานานแล้วเพิ่งจะเจอแหล่งความรู้ครับ

สวัดดีครับอาจารย์ ผมศึกษาพระตะกั่วสนิมแดง และ ชินเงิน และหม้อไหยุคบ้านเชียง พระตะกั่วเมื่อฝังอยู่แต่ละกรุสภาพดินเดิมจะไม่เหมือนกัน พระจะถูกความชื้นและอากาศต่างกัน บางกรุก็แช่นําเป็นเวลานานโดนอากาศน้อย บางกรุโดนอากาศนานแต่โดนความชื้นไม่นาน แร่ธาตุที่มากับนําต่างกันทำให้ผิวพระตะกั่วปกคลุมคราบกรุจะไม่เหมือนกัน จ.ลพบุรีก็อีกแบบ จ.สุพรรณ จ.ชัยนาท ก็ไปอีกแบบ แต่พระที่ขุดขึ้นมาใหม่ที่ ลพบุรีเมื่อโดนอากาศแห้งจะออกขาวแข้งเมื่อล้างดินออก เพราะลพบุรีจมีดินขาวเยอะ คราบกรุเกาะผิวแน่นสนิมแดงจะเกิดเป็นย่อมๆ ใหญ่เล็กปะปนการไปทั่วทั้งองค์ และแดงแห้ง ถ้าพระแก่ดีบุกจะไม่ค่อยเกิดแต่ผิวพระจะผุกร่อน สนิมแดงจะเกิดจากส่วนผสมที่มีแร่เหล็กผสมอยู่ในเนื้อตะกั่ว มากน้อยขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของที่สกัดตะกั่วมาผสมกับดีบุก ส่วนไขที่เกิดจะไม่เกิดจากในกรุ แต่จะเกิดหลังจากขึ้นจากกรุโดนอากาศที่ถ่ายเทแต่จะค่อยๆเกิดต้องอาศัยเวลานาน หากท่านจับพระส่องบ่อยๆก็จะเกิดไขเร็วขึ้น เพราะมือของท่านจะมีความมันที่ผิวหนังของท่านเมื่อจับพระคราบกรุที่แห้งจะค่อยๆดูดซับไขมันจากมือท่าน จะทำให้คราบกรุผิวพระฉําขึ้น ยิ่งโดนไอเหงื่อยิ่งฉําเร็ว พิมพ์พระส่วนใหญ่จะปราณีตในการแกะพิมพ์โดยเฉพาะ พิมพ์พระร่วงยืนเพราะเป็นช่างหลวง และฝีมือช่างชาวบ้านจะหย่อนงามไปบ้าง พิมพ์แปลกๆที่ไม่เคยเห็นในหนังสือก็มีเยอะ เพราะชาวบ้านลักลอบขุดกลัวโดนจับ จึงไม่ค่อยเป็นข่าวว่าแตกกรุ ส่วนพระหรือเทวรูปจะหล่อแบบประกบพิมพ์ ซึ่งจะเป็นยุคสำริด เพราะมีแบบพิมพ์ดินใบหอกสำริด ที่วัดโคกหม้อ จ.ลพบุรี ผมขอแสดงความคิดเห็นแค่นี้ก่อนนะครับ

ครับแตกต่างกันมากเลยครับ แต่หลักการก็จะใกล้เคียงกันตามที่ท่านอธิบายมา

ขอขอบพระคุณที่มาให้ข้อมูลครับ

ข้อมูลมีประโยชน์มากเลยคับ ดร.ลองดูพระผมหน่อยคับ

คือ โดนกับพระเหรียญ ว่าน ของหลวงพ่อทวดมาเยอะ แต่ก็ศัทธาและเชื่อมั่นกับหลวงพ่อทวดครับ ก็เลยจะหันมาสะสมพระกรุครับ ผมโดนจนจะหันหลังให้คับ แต่ก็ไม่อยากถอยคับจะสู้ให้จนถึงที่สุด โดยเพิ่งสนใจที่จะสะสมตอนที่ไปบวช ตอนนี้ประสบการณ์เพิ่งจะย่างเข้าปีที่สองเองคับ

รบกวนด้วยครับ แท้ไหมครับกรุไหนครับ

น้าเขยให้มาครับ อีกรูปนะครับ

อันนี้ไม่ใช้แฟลชครับ

อาจารย์คงจะไม่ว่าง

เนื้อและพิมพ์ไม่เก่าครับ ลองไปทบทวนตามที่ผมเขียนไว้ครับ

รบกวนอาจารย์อีก1องค์ครับ

เนื้อยังใหม่ๆเลยครับ ศิลปะก็ไม่เคยเห็นครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ อาจารย์ครับผมไปกราบหลวงปู่ถวิล สุจิณโณ ที่เขื่อนอุบลรัตณ์ ค่อนข้างบ่อย ถ้าผมจะขออณุญาติแวะไปศึกษาพระกรุกับอาจารย์ อาจารย์จะสดวกไหมครับ

สวัสดีครับอาจารย์ผมส่งรูปพระร่วงยืนข้างรัศมีเนื้อเนื้อตะกั่วสนิมแดงมาไห้พิจรณาช่วยชี้แนะทีครับขอบคุณครับ

พิมพ์ไม่เคยเห็นครับ เนื้อยังดูไม่ชัด ส่งรูปขนาดอย่างน้อย 1Mb มาทางเมล์ดีกว่าครับ หลายๆจุดยื่งดีครับ

รบกวนอาจารย์ดูให้ผมด้วยครับ

รบกวนอาจารย์ดูอีกองค์ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

พระท่าองค์นี้ ผ่านมั้ยครับ รบกวนอาจารย์ ช่วยวิจารณ์ด้วยครับ

ด้านหลังครับ

พระท่าพระจันทร์ครับ กลับไปเอาที่เมืองกาญจน์มาจะดีกว่าครับ

พระท่ากระดานพิมพ์นี้มีใหม่ครับ อาจารย์

อีกรูปด้านหน้าครับ

ไม่น่าจะมีครับ

ผมไม่เคยได้ยิน หรือเห็นที่ไหน เพิ่งเห็นที่ท่านถ่ายมานี่แหละ

ถ้าใครบอกว่าใช่นะครับ ลองไปถามอีกทีและให้เขายืนยันเองก็จะดีกว่าครับ

แล้วเนื้อพระ ดูเป็นไงบ้างครับ ช่วยบอกหน่อยครับ เคยถามเค้าบอกว่า พระนางกำแพง แต่ผมว่าไม่น่าจะช่าย หรืออาจาร์ว่าช่ายครับ

ไม่รู้จักจริงๆครับ เป็นพระที่ผมไม่เล่นครับ

ขอรับผมเป็นลูกศิษย์ฝึกวิชาด้วยครับอาจารย์ ดร. พระยอดธงไม่ทราบที่มา แต่ไขกรุขาวแบบนี้พอมีหวังไหมครับอาจารย์

ไปไม่ได้ครับ ระดับของเล่นเลยครับ

พระท่ากระดารกรุศรีสวัสดิ์  กาญจนบุรีมีเนื้อชินเงินหรือเปล่า ครับ 

ไม่เคยเห็น และไม่มีข้อมูล แต่ถ้าจะมีก็คงเป็นชินเงิน แบบเนื้อเงินแก่ตะกั่ว ไม่ใช่ชินเงินมาตรฐานมั้งครับ แต่แม้จะมีก็หาเพื่อนคุยยากมากเลยครับ

วิธีแนบFile รูปภาพทำอย่างไรครับ

โพสต์ที่ไหนก็ได้ แล้วกอปรูปมาไว้ที่นี่ ไม่ใช่ลิงค์นะครับ

รบกวนอาจารย์ช่วยดูสององค์นี้ให้ทีครับ


ถเาโพสต์ไม่เป็นก็ดูเองเลยครับ อิอิอิ

รบกวนอาจารย์ดูให้หน่อยครับ เป็นพระร่วงของพ่อครับบ้านผมอยู่สุโขทัย อ.ศรีสัชนาลัย แกเคยบอกกับแม่ไว้ก่อนเสียว่าแกไปขุดกับลุง http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/878/445/defaultPIC4558.JPG?1360667822 http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/878/446/originalPIC4562.JPG?1360667871

ช่วยดูพระให้หน่อยนะครับ

ลบกวนช่วยดูพระให้หน่อยครับว่าเป็นที่ใหน

อ. แสวง และ อ.ดุลย์ กำแพง ขอบอกสุดยอดมากคับ  ผมกะลังหาแนว พระเนื้อชินอยู่ ได้ความรู้เพิ่มมากเลย อยากให้วงการมีแบบอย่าง อ. ทั้งสองท่านนี้เยอะๆจังคับ 

เนื้อชินของหลวงปู่ศุขดูยังไงครับ ดูเหมือนพระกรุไหมครับ

สวัสดีครับท่านอาจาร์ บทความที่อาจาร์ได้บอกกล่าวมา ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้อ่าน ศึกษาตามคำแนะนำ

ขอ งท่านอาจาร์ ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ ทุกวันนี้สังคมบ้านเรามันชั่งโหดร้ายเหลือเกินครับ ไม่มอบความรู้ที่แท้จริงให้กับคนอื่นที่ไม่รู้เลยครับ แถมยังต่อเติมให้หนักกว่าเดิมอีก ขอบพระคุณท่านอาจาร์ครับที่ยังมอบความรู้ให้คนที่เขาไม่รู้ จริงจะได้ไม่ต้องโดนเขาหลอกเพื่อผลประโยชย์ส่วนตัวเขาครับ ขอบพระคุณครับ

คุณควรจะแยกแยะระหว่างการเรียนรู้ การสอน และ พุทธพานิช ก็เท่านี้เองครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ..ความรู้ดีๆ

แท้ป่าวครับท่านเพื่อนให้มาบอกกรุลพบุรีที่จริงองค์พระแดงทั้งองค์ครับ

สวัสดีค่ะอาจาร์ นู๋อยากรบกวนให้ช่วยดูพระให้ค่ะ ขออนุญาตส่งเมล์หาตามที่อาจาร์ให้ท่านอื่นด้านบนนะคะ

ช่วยดู มเหศวรชินเงินหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท