วิกฤตเป็นโอกาสของ"ไข่เค็มไชยา" กับ "ยาปากแบน"


ในการเดินทางอพยพก็พบว่าไข่ที่พอกมาเมื่อเอามาต้มกินมีรสชาดดี

        ผมบันทึกเรื่องการดูงานการท่องเที่ยวชุมชนครั้งที่แล้ว อ่านบันทึกที่แล้ว ช่วง 18-19 มกราคม 2553 โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาฯ ที่ได้จัดทำโครงการเพิ่มขีดความสามารถการจัดการท่องเที่ยวชุมชน(พัฒนาเครือข่ายตัวแทนการท่องเที่ยวชุมชน CBT/KM : Community Based Tourism / Knowledge Managemennt) และได้ไปดูงานการนำเสนอสินค้าของ กลุ่ม อสม.ผู้ผลิต"ไข่เค็มไชยา" เป็นวิสาหกิจชุมชนที่โด่งดังของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน

       เรื่องเล่าที่ได้ฟังมายังไม่จบ มีสาระมากมายที่เป็นประโยชน์กับผู้ไปเยือนเป็นจุดกที่สามารถเรียนรู้ได้ในหลาย ๆ เรื่อง  ของที่นี่ ตั้งแต่เริ่มที่เราเข้าไป การต้อนรับของเจ้าของสถานที่ การนำเสนอกระบวนการผลิต การนำเสนอจุดเปลี่ยนของชุมชน การพัฒนาในช่วงเวลา การเผยแพร่สูตรการเตรียมปัจจัยการผลิตไข่เค็ม โดยไม่ได้ปิดบังอะไร

 

       ประวัติของความวิกฤตที่ชุมชนเผชิญในช่วงหนึ่ง  ฟังเรื่องเล่าของกลุ่มองค์กรนี้แล้วก็เป็นเรื่องค่อนข้างขำ ต่อพวกเราผู้รับฟัง ว่า... ครั้งหนึ่งมีการศึกษาดูงานในภาคของชุมชน สองผัวเมียคู่หนึ่ง ได้พบหอยชนิดหนึ่งในสถานที่ดูงาน เห็นไข่ของมันดูแล้วสวยงาม ก็ด้วยความรักสวยรักงาม จึงเก็บมาเลี้ยงเพื่อชมความงาม มันขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานมากขึ้นในอ่างเลี้ยงก็สงสารมันมั้ง  ก็เลยปล่อยออกมาในคูน้ำธรรมชาติ  และเป็นจุดเริ่มของความวิกฤต เพราะนั่นมัน "หอยเชอรี่" ชื่อเธอฟังดูก็น่ารัก แต่เธอก็คือภัยที่เก็บตัวเงียบในช่วงแรก ๆ หลัง ๆ เจ้าก็ทำร้ายเจ้าของนาข้าวในที่สุด  จนถึงขั้นวิกฤต

 

       แต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะแก้ปัญหา "ยาปากแบน" ก็เกิดขึ้นด้วยความเฉลียวฉลาด  คนในชุมชนก็ช่วยกันเลี้ยงเป็ดเพื่อจัดการกับมัน และควบคุมมมันได้ในที่สุด และผลที่ตามมาก็คือ ไข่เป็ดมีคุณภาพดี  มีมากแล้วจะเอาไปไหน ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มาจากพี่น้องที่อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ คือการเอาไข่พอกด้วยดินเหนียวแค่ป้องกันการกระแทกกันของไข่ ในการเดินทางอพยพก็พบว่าไข่ที่พอกมาเมื่อเอามาต้มกินมีรสชาดดี  การพบภูมิปัญญานี้ ปรับปรุงเพิ่มทดสอบทดลองจนมาถึงการเป็นไข่เค็มสีแดง (จริง ๆ ตามที่เล่าก็คือสีแบบดอกดาวเรือง) รสชาดดี จึงปรับปรุงเป็นกระบวนการผลิตไข่เค็มที่รสชาดดีในปัจจุบันครับ

       

 

หมายเลขบันทึก: 331358เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 05:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เหมือนเมื่อครั้ง การกำจัดตั๊กแตนปาทังก้า ใช้สารเคมีมหาศาล ใช้เครื่องบินพ่น ก็ไม่ค่อยได้ผล

แต่พอมาส่งเสริมให้คนกินปาทังก้าทอด  การควบคุมปริมาณ ปาทังก้า ได้ผลมาก จนต้องยุบหน่วยควบคุมปาทังก้าไปเลย เดี๋ยวนี้ หาทำยายังยากเลย ต้องนำเข้าจากเขมรแล้ว

หญ้าปากคอก จุดใต้ตำตอ...

 

หากคนกินอะไร เมื่อไหร่สิ่งนั้นหายากทันที แต่เมื่อไหร่ไม่รู้หนูจะหมดไป 55

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาแลเปลี่ยนเรียนรู้ "กระบวนการผลิตไข่เค็มที่รสชาดดี"
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

จดหรือจำ หรือทั้งจำและจด เหมือนคนไชยา ชัดเจนดีนะคะ

สวัสดีครับ คุณบุษรา

ก่อนอื่นต้องขอโทษครับตอบช้า แล้วจะตามไปเยี่ยมครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม

คุณ sri

ก่อนอื่นต้องขอโทษครับ ท่านมาเยี่ยมแต่ผมตอบท่านช้า และขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

แวะเข้ามาค้นหาสถานที่ที่จะพานิสิตไปดูงานที่จ.สุราษฏ์ ด้านการเลี้ยงเป็ดและการผลิตไข่เค็มไชยาค่ะ

วรรณี

 

กลุ่มไข่เค็มไชยาอสม.เขายินดีต้อนรับ ทุกๆคนที่มาศึกษาดูงานคะ เคยพาชาวตาคลี จ.นครสวรรค์ไปดูงานมาแล้ว รีบจองคิวดูงานเลยนะ เพราะว่ามีคนแวะมาชมบ่อยมาก ประธานกลุ่ม เขาบอกว่า เพราะเขาซื่อสัตย์ ต่อลูกค้า คัดแต่ไข่คุณภาพดี ในท้องถิ่นมาทำ ไม่เหมือนที่อื่นๆ ที่เอาไข่จากต่างจังหวัดมาทำ

ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้าน อสม.

ผมเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิ มีความประสงค์ที่จะพาผู้ปกครองเด็กในความอุปการะไปศึกษาดูงานที่ท่านไม่ทราบว่าจะติดต่อได้จากไหนครับ กรุณาติดต่อกลับด้วยนะครับ 085-7874254 ขอบพระคุณครับ

ติดต่อศึกษาดูงานได้ที่  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอสม. 0817876490 ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท