ติดเชื้อในโรงพยาบาล ทำไมไม่เป็นศูนย์


กรุงเทพธุรกิจ สำนักข่าวคุณภาพตีพิมพ์เรื่อง "บทสรุปเชื้อร้ายจาก 'ที่ปลอดภัย' ที่สุด" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

ถ้าท่านผู้อ่านได้รับสาระบันเทิงจากเรื่องนี้... เรียนเสนอให้แวะไปเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ "กรุงเทพธุรกิจ" กันครับ

...

[ ขอขอบพระคุณ > สำนักข่าวคุณภาพ "กรุงเทพธุรกิจ" ]

...

กรณีผู้เข้ารับผ่าตัดตาต้อกระจกติดเชื้อ จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น ทำให้เกิดคำถามว่า โรงพยาบาลที่น่าจะปลอดภัยที่สุด ทำไมจึงแพร่เชื้อได้.

...

ศ.นพ.สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในฐานะผู้เชี่ยวโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลไม่ปฏิเสธว่า  

ทุกที่ในโรงพยาบาลล้วนแต่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ไม่เว้นแม้แต่ห้องผ่าตัดที่มีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากเชื้อโรคมีทุกหนแห่ง

...

"โลกนี้ไม่มีอะไรที่ปลอดภัย 100%  แม้ว่าในทางการแพทย์จะต้องการให้ความเสี่ยงเป็น 0 % หรือว่าเสี่ยงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

แต่ต้องยอมรับว่าคนที่เข้ามาในโรงพยาบาลนั้นเสี่ยงในติดเชื้อ(โรค) แทบทั้งนั้น ต่อให้หมอเองก็เถอะ"

...

การติดเชื้อในโรงพยาบาลมักเกิดกับคนไข้ที่จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์เข้าไปในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ  สายสวนปัสสาวะ  การให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือด การฉีดยา การเจาะเลือด การเจาะตรวจต่างๆ เป็นต้น 

ปัจจุบันการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบมากที่สุดในไทย คือ อันดับแรกการติดเชื้อที่ปอด พบประมาณ 1 ใน 3 รองลงมาคือการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อน้อยลง และมีแนวโน้มลดลง และ อันดับสามการติดเชื้อจากแผลผ่าตัด 

...

ศ.นพ.สมหวัง กล่าวว่า การติดเชื้อในโรงพยาบาลยัง เกิดขึ้นได้จาก "เครื่องมือ" ที่มีเชื้อโรคสะสมหรือตกค้างอยู่ในหมวดของอุปกรณ์สิ้นเปลืองที่ใช้ในห้องผ่า ตัด กรณีดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว แต่ "ยาก" ต่อการควบคุม 

จากประสบการณ์ทำงานมานาน เขามองว่า การติดเชื้อจากการผ่าตัดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ และส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกได้ว่าสาเหตุเกิดจากสิ่งใด เป็นปัญหาที่โรงพยาบาลทั่วโลกเผชิญเหมือนกันหมด

...

"หากร่างกายอ่อนแอ และปริมาณเชื้อโรคมีจำนวนเยอะกว่าปกติ โอกาสที่จะติดเชื้อไม่ใช่เรื่องแปลก

เพราะมีเชื้อบางอย่างอยู่บนผิวหนังของคนเรา และไม่สามารถขจัดออกไปได้หมด มันอาศัยอยู่ในรูขุมขน ที่พร้อมจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ได้เช่นกัน"

...

แม้ปัจจัยการติดเชื้อในสถานรักษาพยาบาลยากต่อการควบคุม แต่มิได้หมายความว่า แพทย์ พยาบาลปล่อยปละละเลย และถือเป็นเรื่องสุดวิสัย 

จากการศึกษาการติดเชื้อในโรงพยาบาลทั่วโลก พบว่า คนไข้มีโอกาสติดเชื้อ  5-10%  ส่วนประเทศไทย โอกาสที่คนไข้จะติดเชื้ออยู่ที่ 6.4 %  ซึ่งถือว่ายังน้อยมากหากเทียบกับประเทศใกล้เคียง และอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าประเทศสหรัฐที่ 7% ด้วยซ้ำ

...

ในช่วง 10-20ปีที่ผ่านมาวงการแพทย์ไทยมีความตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้มีปริมาณ "ลดลง" ต่อเนื่อง

หากเทียบกับช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การติดเชื้อในโรงพยาบาลมีสัดส่วนสูงกว่าปัจจุบันถึงเท่าตัว   ประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีโอกาสติดเชื้อต่ำสุดประมาณ 4%

...

"ถ้าติดเชื้อในโรงพยาบาล ผู้ติดเชื้อ 100 คน มีโอกาสเสียชีวิต 10 คน จำนวนผู้เสียชีวิตสูงมาก เพราะคนไข้ร่างกายอ่อนแอ

ในเมืองไทยคนไข้ติดเชื้อปี หนึ่งประมาณ 4 แสนคน ในจำนวนนั้นเสียชีวิต 4 หมื่นคน เฉลี่ยแล้วเสียชีวิตวันละ 100 กว่าคน เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ แต่มันเกิดขึ้นทุกวัน"

...

วิธีการป้องกันสำหรับปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม ศ.นพ.สมหวัง บอกว่า   แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องต้องระมัดระวังมากขึ้น

เช่น หากเครื่องมือชิ้นไหนเข้าข่ายต้องสงสัยว่า “ติดเชื้อ” หรือมีปัญหาให้เลิกใช้  หรือใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ชนิดใช้แล้วทิ้งแทนที่จะนำมาใช้ซ้ำเพื่อขจัดปัญหา

...

มาตรการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล ยังทำได้โดยการติดตามประเมินผลระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงตามหลักระบาดวิทยา  การปฏิบัติตามหลัก  Isolation  Precautions 

โดยเน้นเกี่ยวกับการล้างมือ  การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการสอดใส่อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ 

...

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเข้มงวด รวมถึงญาติที่มาเยี่ยมผู้ป่วย 

วิธีเหล่านี้ถือเป็น แนวทางป้องกัน แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100%

...

"ปัญหาคลาสสิกอีกประการหนึ่งคือ จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้สัดส่วนกับผู้เข้ารับบริการ

ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลขอน แก่นมีเคสผ่าตัด 14 รายต่อวัน และเป็นคนไข้ที่ต้องรอคิวผ่าตัดมาแล้ว 6 เดือน ซึ่งหากทำตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด คือ ผ่าวันละ 2 ราย นั่นหมายความว่า คนไข้จะต้องรอคิวผ่าตัดนาน 3-4ปี" 

...

ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อเสริม ว่า  ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับสอง คือ งบประมาณที่จำกัด ทำให้แพทย์พยายามประหยัดอุปกรณ์จนบางครั้งเกิดการปนเปื้อนจากการใช้ของ อุปกรณ์ซ้ำทั้งๆ ที่ทำการฆ่าเชื้อแล้ว 

เช่น  สายสวน  หรือ น้ำยาหล่อลื่นตาที่ใช้ที่ใช้ระหว่างผ่าตัดตา เป็นต้น   

...

ศ.นพ.สมหวัง เสนอให้การแก้ปัญหาติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นวาระแห่งชาติ และรณรงค์ให้ทุกคนตระหนัก และให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา

เนื่องจากโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่สามารถควบคุม และป้องกันได้หากได้รับการดูแลและสนับสนุนอย่างจริงจัง

...

[ ขอขอบพระคุณ > สำนักข่าวคุณภาพ "กรุงเทพธุรกิจ" ] 

หมายเลขบันทึก: 330486เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ พอดีผมต้องการค้นหาข้อมูลอัตราการติดเชื่อในโรงพยาบาลของประเทศไทย ไม่ทราบคุณหมอวัลลภ พอจะแนะนำให้ไปหาที่ไหนได้บ้างครับ (เข้าเวปกระทรวงสา'สุข แล้วหาไม่เจอ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท