บทเรียนและคำถามดังๆจากนักเรียนชาวนา: ทำไมเกษตรกรและนักวิชาการจึงคิดว่าการปลูกข้าวต้องใช้น้ำมาก


ภาพของการใช้น้ำจำนวนมากเพื่อการปลูกข้าวที่สังคมแสดงทั้งความเห็นใจและรังเกียจในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นภาพปกติที่สังคมทั้งโลก ไม่เคยตั้งคำถามว่า “ลดได้ไหม”

หลังจากผมลองปลูกข้าวแบบไม่มีน้ำขัง (Aerobic rice) ในลักษณะคล้ายข้าวไร่ แต่เป็นพันธุ์ข้าวนาปกติ คือ ข้าวเหนียว กข ๖ จนประสพผลสำเร็จ ว่า แม้ไม่มีน้ำขังตลอดฤดูปลูก จุดที่ดินดีที่สุดได้ผลผลิตข้าวประมาณ ครึ่ง กก. ต่อตารางเมตร หรือ ๘๐๐ กก/ไร่

ทำให้ผมหายสงสัยถึงการปรับตัวของข้าวที่เคยเป็นข้อโต้แย้งว่า ข้าวที่ปลูกในนาได้ปรับตัวเข้ากับการขังน้ำ

ที่เป็นเพียงความเชื่อ ไม่มีความจริงแต่ประการใดทั้งสิ้น

ดังนั้น ผมจึงย้อนไปทบทวนหลักการจัดการน้ำเพื่อการทำนา ที่ต้องมีน้ำขัง ๕-๑๐ ซม. ตลอดฤดูปลูก ว่า มีสาเหตุมาจากอะไร

ผมจึงมาพิจารณาพบว่า แปลงที่น้ำไม่ค่อยพอวัชพืชหรือหญ้าจะงอกขึ้นมาแข่งกับข้าวเป็นจำนวนมาก จนทำให้ผลผลิตข้าวลดลง จึงมีคำแนะนำว่าควรขังน้ำไว้ตลอดเวลา

ในปีแรกที่ผมพยายามขังน้ำบ่อยนั้น กลับพบว่าข้าวจะไม่ค่อยแตกกอได้ผลผลิตน้อย

 แต่ข้าวบนที่ดอนที่ดินดีหน่อย จะแตกกอได้ กว่า ๑๐๐ ต้น ที่น่าจะได้ถึงกว่า ๕๐ รวงต่อกอ

ผมจึงพิจารณาว่า ในความเป็นเช่นนั้น น้ำทำหน้าที่ หรือมีความสำคัญอะไรบ้าง

  1. ลดการงอกของหญ้า ที่ต้องขังน้ำ ไว้ ๕-๑๐ ซม.
  2. ถ้าดินไม่ดีพอ หรือไม่มีการปรุงดิน ก็ต้องมีน้ำไปช่วยละลายธาตุอาหารในดินที่มีน้อยๆให้ได้มากขึ้น ที่อย่างน้อยตามหลักวิชาการก็คือ ดินต้องเปียกแฉะ  ไม่ต้องขังก็ได้ และ
  3. น้ำช่วยให้ใบข้าวเต่งตึง ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เจริญเติบโตได้ ที่ดินต้องมีความชื้น เหมือนกับการปลูกผักที่ดอนทั่วๆไป

 

ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยว่า

 

ทำไมเกษตรกร และนักวิชาการจึงใช้มาตรฐานของการใช้น้ำเพื่อลดการแข่งขันของหญ้ามาเป็นมาตรฐานของความต้องการน้ำของข้าว

โดยการกำหนดให้มีการขังน้ำเป็นมาตรฐานของการปลูกข้าว

ทั้งๆที่ ความต้องการกำจัดวัชพืชในนาเป็นคนละเรื่องเดียวกันกับความต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของข้าว

 

  • แม้ทางการออกประกาศบ่อยๆ ว่าน้ำมีน้อย
  • แต่ก็ไม่เสนอข้อมูลทางเลือกของการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำ หรือลดปริมาณการใช้น้ำ
  • ก็ยังคงปล่อยให้ทำเช่นเดิม อย่างมากก็ลดพื้นที่ลง กับการใช้ความรู้เดิมๆ

 

เช่น

การกำจัดหญ้า หรือลดการแข่งขันก็มีวิธีอื่นๆมากมาย แทนที่จะใช้น้ำจำนวนมากอย่างที่ทำกันทั่วไป

 

และ

การปรับปรุงดินให้ดี เพื่อการประหยัดการใช้น้ำ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ก็ทำได้

 

ยิ่งกว่านั้น

ภาพของการใช้น้ำจำนวนมากเพื่อการปลูกข้าวที่สังคมแสดงทั้งความเห็นใจและรังเกียจในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นภาพปกติที่สังคมทั้งโลก ไม่เคยตั้งคำถามว่า “ลดได้ไหม” 

 

โดยเฉพาะ ในสภาพ หรือปีที่มีน้ำจำกัด

 

และ ตัวอย่างที่โหดร้ายที่ผมพบมาเองจากการทำนาจริงๆของผม ก็คือ

เกษตรกรในเขตชลประทาน ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย ปล่อยทิ้งปล่อยขว้างจำนวนมากมายมหาศาล โดยไม่ต้องคิดว่าจะเสียประโยชน์อะไรบ้าง

 

ผมเห็นแล้วเสียดายจริงๆ พยายามอธิบาย

 

ว่า “เสียดาย เสียดาย ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ”

 

แม้จะบอกใครไปก็ไม่เห็นมีใครคิด หรือกล้าทำอะไร

 

วันนี้ก็ขอคิดดังๆ ด้วยความเสียดายทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่า แต่คนที่ใช้ หรือมีใช้กลับไม่เห็นคุณค่า

 

แม้แต่คนที่มีน้อยเช่นในพื้นที่เกษตรน้ำฝน ก็ยังไม่ค่อยเห็นคุณค่าเท่าไหร่เลย

 

เวลาขาดแคลนก็มีแต่ร้องหาคนช่วย แทนที่หาวิธีช่วยตัวเองให้มากที่สุดเสียก่อน

 

คิดไปก็เหนื่อยใจครับ

 

สงสัยมันจะเป็น “เช่นนั้นเอง”

หมายเลขบันทึก: 330409เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2010 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

IMHO, there are alternative arguments like:

Water logged paddy fields can sustain a lot of frogs, fish, crabs and mussels. These are often "the" food for farming families. Perhaps, we could look more into other "concurrent" uses of water in paddy fields. Perhaps, we could improve the land, the water and the life living on water logged paddy fields. After all, paddy fields have been used to store a lot of water without harming the rice production for millenniums.

I wish we could learn a holistic and practical way to manage our paddy fields -- for our farmers now and their children in the future because without them we won't be eating the best rice in the world! ;-).

สวัสดีค่ะ อาจารย์แสวง

สบายดีนะคะ

ไม่รู้เรื่องข้าวสักอย่างเลยค่ะ แม้ว่าจะมีบรรพบุรุษเป็นชาวนาชาวไร่

แต่ตอนนี้ซิ ... ต้องหาความรู้เรื่องการจัดสวน การทำ landscap ค่ะ

ไม่ได้เรียนมา แต่ต้องทำค่ะ

สวัสดีครับ

  • เรื่องทำตามๆกันมา  ทำโดยความเชื่อแบบไม่ต้องคิดนั้นยังมีอีกหลายกรณีมากครับ  มันเป็นการสูญเสียอย่างมหาศาล  มนุษย์ได้ผลาญทรัพยากรธรรมชาติอย่างที่ไม่ควรทำมายาวนาน  แต่ไม่ค่อยมีใครฉุกคิด ทั้งๆที่ปัญหา วิกฤตมันประชิดตัวเข้ามามากมาย .. พูดไปก็ไม่พ้นการตั้งข้อสงสัยแบบเดิมๆอีกว่า .. การศึกษาทั้งใน - นอกระบบ เราทำกันมาอีท่าไหน  คนถึงไม่รู้จักคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงอะไรๆให้ดีกว่า ถูกต้องกว่าสิ่งที่ทำมาแต่เดิม  ตรงกันข้าม กลับรักษาความผิดพลาดไว้อย่างเหนียวแน่น  ส่วนการเปลี่ยนแปลง แสวงหาของใหม่ ก็ล้วนเปลี่ยนไปเพื่อทำลายของเก่าที่ดีๆและมีมาแต่เดิม .. อนิจจา !
  • ขอบคุณความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง ข้าว และ นา ครับ มีลูกชาวนาอีกคนที่ทำนาไม่เป็น และรู้สึกว่าเครื่องชักร้อนขึ้นทุกวัน อยากกลับไปลองดูสัก 2 ไร่ เป้าหมายคือการเรียนรู้ และ การได้กินข้าว "สะอาด" และ "ทรงคุณค่าทางอาหาร" จากหยาดเหงื่อ แรงงาน และ ความคิด ของตัวเราเองครับ

 

มาดูผลการอนุรักษ์-พัฒนา ฟรี ฟรี ฟรี ค่ะ

การใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ นั่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งครับ

ที่ผมกังวลก็คือ

  1. คนใช้น้ำฟุ่มเฟือย
  2. แม้มีน้อยก็ยังฟุ่มเฟือย
  3. มีการปล่อยทิ้งอีกต่างหาก

และ

  1. เวลาน้ำมีน้อย เรามีแต่ห้ามปลูกข้าว แต่ไม่เคยมีคำแนะนำที่ดีกว่า แล้วใครจะคิดตาม ทำตาม
  2. นักวิชาการแทนที่จะเป็นหลักให้ชาวบ้าน แต่กลับวิ่งตาม "ความรู้ตามความเคยชิน" ของชาวบ้าน
  3. ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวหลัก แต่เราก็ยังไม่ใช้ความรู้ที่เหมาะสม แล้วเราจะไปหวังอะไรอีก

ประมาณนี้ครับ

ผมทำนาในเขตชลประทานครับ เมื่อต้นปีนี้ปลูกข้าวนาปรัง ไปหลายไร่

ที่นามีน้ำอุดมสมบูรณ์เหลือใช้ครับ ชาวบ้านแถวนี้ทำทั้งนาหว่านน้ำตม

และนาดำแบบขังน้ำตามปกติ ได้ผลผลิตดีกันทั่วหน้า

ส่วนนาแปลงของผม ใช้น้ำน้อย (ก็ลองดูตามที่เคยอ่านๆมาครับ)

ผ่านมาเดือนเดียว หญ้าท่วมแปลงเลยละครับ โดยเฉพาะหญ้าพุ่มพวง

แย่หน่อยครับ ต้องหาความรู้ต่อไปนะครับ ที่ผ่านมาสงสัยความรู้ยังมีไม่พอใช้

ยังไงก็ต้องทำได้นะครับอาจารย์ แปลงนี้ถือเป็นบทเรียนครับ ยิ่งอ่านบทความของอาจารย์

ยิ่งมีกำลังใจ สักวันคงทำได้แน่ๆ ครับ

เรียนอาจารย์แสวง

ที่บ้านผมปักธงชัย โคราช ใช้น้ำจากเขื่อนลำพระเพลิงบอกแล้วครับว่าปีนี้น้ำน้อยไม่ควรทำนาปรัง

ทำยังไงดีครับถึงจะให้เขาบอกว่าทำนาได้แต่ต้องทำแบบไม่ขังน้ำ เหมือนอย่างที่อาจารย์อธิบาย

ปัญหาคือที่มาของปัญญาครับ

สู้ต่อไปมีทางชนะครับ

และจงสนุกกับการต่อสู้ครับ

อ่านมาจนจบผมก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง ใช้น้ำน้อยลงจะดีจริงใหม

แสดงออกมาเป็นตัวเลขบ้างได้ไหมครับ จะได้คิดตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ก็ถ้าใช้น้อย กไม่ต้องเดือดร้อนเวลามีน้อย

และเวลามีเหลือก็ปันคนอื่นได้อีกครับ

ชวยคิดต่อแล้วจะเข้าใจเองแหละครับ

หรือจะให้ยกตัวอย่างนำทางก็ได้ ว่า

ธรรมดาเขาจะจัดสรรน้ำให้ ๖๐๐ มม ต่อฤดู

แต่ถ้าใช้น้ำน้อยอาจจัดเพียง ๒๐๐ มม ก็พอ

พอมองเห็นไหมครับว่าประหยัดลงไหมในทุกเรื่อง พื้นที่ที่ทำนาก็อาจได้มากขึ้น (น้ำเท่าเดิม) ข้าวก็จะแตกกอดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ใช้สารพิษน้อยลง ฯลฯ

เพราะข้าวไม่ได้ต้องการน้ำมาก ยิ่งมากยิ่งมีปัญหา

ลองไปย้อนอ่านหน่อยแล้วจะเข้าใจ

หรือยังนึกไม่ออกอีกครับ ว่าดีอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท