การคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน


การวัดสายตา VA ไม่สามารถบอกได้ว่ามีภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาหรือไม่

เบาหวานเข้าจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy)

ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ใครสุข เศร้า เหงา รัก และ กิ๊ก มักจะมองออกที่ดวงตา ยกเว้นคนที่โกหกได้แนบเนียนมาก ๆ สิไปอบรมการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในเบาหวานมา 2 วัน เพิ่งจะรู้ว่า จักษุแพทย์เองยังมีการแยกระบบอีก เป็นทางประสาทตา ทางน้ำวุ้นลูกตา ทางเรติน่า มันน่ามหัศจรรย์จริง ๆ ภายใต้ดวงตาที่เราเห็น ๆ อยู่ มันมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงนับไม่ถ้วน บางคนจะสังเกตได้ว่าเวลาเราถ่ายภาพกลางคืนใช้แฟลทช์ ดวงตาจะสะท้อนเป็นสีแดงน่ากลัว เพราะมันสะท้อนเส้นเลือดออกมา ในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานาน ๆ จะทำให้หลอดเลือดฝอยที่จอประสาทตาเกิดการเปลี่ยนแปลง มีรอยรั่วอุดตันและขาดเลือด ต่อมาจะมีการสร้างหลอดเลือดใหม่ซึ่งเหมือนจะดี แต่มันไม่แข็งแรงหรอกค่ะ มันแสนจะเปราะบางแตกง่าย ทำให้มีเลือดออกในจอประสาทตา วุ้นตา และดึงรั้งให้จอประสาทตาลอกหลุด ทำให้ตาบอดได้
แล้วความเสี่ยงที่จะเกิดมีสักเท่าไหร่...

              เป็นเบาหวานนาน 10 ปี มีโอกาสเกิดเบาหวานขึ้นจอตาได้ 10 %

              เป็น 15 ปี มีโอกาส 50 %
              เป็นเบาหวานนาน 25 ปี มีโอกาส 80-90 %
การควบคุมน้ำตาลในเลือดอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันเบาหวานเข้าจอตาได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถลดความเสี่ยงไม่ให้เบาหวานเข้าจอตามากขึ้น

ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจตาบ่อยแค่ไหน...

อายุ 30 ปี ควรได้รับการตรวจครั้งแรก 5 ปี หลังจากพบว่าเป็นเบาหวาน หลังจากนั้นให้ตรวจปีละครั้ง
อายุมากกว่า 30 ปี ควรตรวจครั้งแรกเมื่อวินิจฉัย และให้ตรวจต่อปีละครั้ง

ระหว่างตั้งครรภ์ ให้เริ่มตรวจตั้งแต่ไตรมาสแรก และตรวจทุก 3 เดือนจนกระทั่งคลอด

เพราะคนที่เป็นเบาหวานแล้วเกิดตั้งครรภ์จะมีความรุนแรงเกิดขึ้นเร็วมาก   

การแบ่งระยะของเบาหวานเข้าจอประสาทตา Diabetic Retinopathy

1.No DR

2.Mild NPDR (Non-proliferative diabetic retinopathy)

3.Moderate NPDR

4.Severe NPDR

5.Proliferative DR (PDR)

และอาจมี DME (Diabetic Macula edema) ในmild, moderate, severe NPDR or PDR

พยาบาลที่คัดกรองต้องแปรผลภาพถ่ายให้ได้ ระยะ 1-2 ให้เก็บไว้ดูก่อน แล้วส่งต่อให้จักษุแพทย์ดูในรายที่เป็นระยะตั้งแต่ 3,4,5 ขึ้นไป (ว่าแต่เราจะส่งต่อไปไหนดีคะ จักษุแพทย์จะทำอะไรต่อให้กับคนไข้ไหม)  ส่วนการรักษาคือยิงเลเซอร์ หรือผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา และการให้คำแนะนำสำหรับคนไข้เพื่อควบคุมน้ำตาล ไขมัน ความดันโลหิตเป็นสิ่งจำเป็นที่จะชลอภาวะแทรกซ้อนไว้ได้

เมื่อไหร่เราจะได้เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาคะ Boss

มีงานวิจัยว่า ผู้ที่ชอบรับประทานหวาน มัน จะมีความเสื่อมของตาเร็วกว่าปกติ เพราะฉนั้นคนทั่วไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานควรระมัดระวังในการบริโภคด้วยนะคะเดี๋ยวจะตาเสื่อม พาลเสื่อมไปหมดทั้งตัวไม่รู้ด้วยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 329496เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เครื่องถ่ายจอประสาทตา ทางจังหวัดชัยนาทได้ขอไป 1 เครื่องจากงบไทยเข้มแข็ง (ไม่รู้จะได้เมื่อไร) และมีแผนว่าจะเก็บไว้ที รพ. สรรคบุรี คาดว่าเราจะขอยืมได้ง่ายกว่า รพ. อื่นๆ / Boss

ขอบคุณค่ะ ที่นำความรู้มาฝาก ชักลืมๆ ไปแล้ว โดยเฉพาะตัวย่อ เลยแอบวงเล็บไว้ ถ้าไม่ถูกก็ช่วยแก้ไขด้วยแล้วกันนะคะน้องสิ อ้อพยายามเอาใจ คนที่บ้านมากๆ นะ เวลายืมเครื่องฯ จะได้ง่ายอย่างBoss คาดไว้/By Jan

สิก็เกือบจะลืมชื่อเต็มของมันเหมือนกันค่ะ นี่ขนาดเพิ่งผ่านการอบรมมานะเนี่ย อาจารย์สอนให้จำชื่อย่อจนขึ้นสมอง ฝึกอ่านภาพถ่ายจอประสาทตาประมาณว่าเห็นปุ๊ปรู้ปั๊ปว่าผิดปกติหรือไม่ เลยลืมพิมพ์ตัวเต็ม พี่จรรนี่สุดยอดจริง ๆ ความรู้ฉลาดปราดเปรื่องสมกับเป็น Head ER ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยเติมให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท