จิตวิญญาณความเป็นครู โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี @วันศึกษาศาสตร์ มน.


มองทุกอย่างให้เป็นครู เธอจะมีชีวิตอยู่อย่างแสนรื่นรมย์

วันที่ 18 มกราคม 2553

        คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดโครงการ "วันศึกษาศาสตร์"

ซึ่งทางคณะได้นิมนต์ พระมหาวุฒิชัย (ว. วชิรเมธี) เทศน์ในหัวข้อ "จิตวิญญาณความป็นครู"

บอกตามตรงค่ะ ตื่นเต้นมากที่จะได้พบพระอาจารย์และฟังเทศน์สดๆ

       แน่นอนค่ะ หนูต้องไปนั่งฟังอยู่แล้ว (แหมบุคคลที่ชื่นชอบมาทั้งที มีโอกาสขนาดนี้ พลาดไม่ไ่ด้) แต่ว่าตอนที่หนูไปนั่งฟังนั้น ที่ด้านในเต็มหมดค่ะ เลยได้ลองเป็นคนชายขอบ (เสื่อ)ด้านนอกดูบ้าง นั่งตรงไหนก็เหมือนกันแหละค่ะ จุดประสงค์การมานั่งคือ มาฟังแนวคิด วิธีคิด มาสังเกตศิลปะในการพูด การถ่ายทอด

ขณะฟังนั้น หนูก็ไม่ลืมที่จะคิดและจดตามค่ะ เพราะสมองทึ่มขนาดนี้ ฟังแล้วเดินออกมาก็ลืมหมด สิ่งที่พอจดมาได้ ในเนื้อหาของพระจารย์เทศน์พอสรุปได้ดังนี้่ค่ะ

อันดับแรกเลยนะคะพระอาจารย์พูดถึงการทำในสิ่งที่ตนเองรักค่ะ

     "ทำในสิ่งที่ตนเองรัก แล้วมุ่งทำ แล้วชีวิตจะดีทั้งชีวิต" ก็มาลองคิดดูว่า บางคนใช้ชีวิตมาก็นาน ค้นหาตัวเองมาก็เยอะ ยังไม่พบสิ่งที่ตนเองรัก ตนเองชอบ ทำไปเพราะคนอื่นอยากให้เป็นอยากให้ทำ ทำไปเพราะสถานการณ์มันพาไป ทำให้สิ่งที่เราทำด้วยความไม่รักนั้น มันดูน่าลำบากสำหรับเรา ทำแล้วมันเบื่อ มันท้อแท้ มันอยากเลิกทำบางครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำ่ ว่างานที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ เรารักที่จะทำมันหรือเปล่า

    การทำสิ่งที่ตนเองรักนั้น เราจะรู้ได้อย่างไร พระอาจารย์ท่านบอกว่า สิ่งที่ตนเองรัก คือ สิ่งที่เราทำแล้วมีความสุข อย่าง อาจารย์เฉลิมชัย พบสิ่งที่ตัวเองรักในวัยเด็ก คือ รักการวาดรูป เริ่มจากวาดพญานาคที่กล่องไม้ขีดไฟ ตอนนี้กลายเป็นจิตรกรชื่อดังของเมืองไทยไปแล้ว เป็นต้น

     ต่อมาพระอาจารย์เริ่มพูดถึงเรื่องครู การเป็นครูก็ต้องรักในอาชีพครู มีจิตวิญญาณครู

ซึ่งจิตวิญญาณความเป็นครูนั้น ต้องมี 3 อย่าง คือ

                                         1.ปรากฏเด่น  2. คาย   3. รสให้เย็น

     หนูนั่งฟังก็งงอยู่ ที่พระอาจารย์พูดมานั่น มันคืออะไรหว่า งง   อ่ะ ลองฟังต่ออีก ว่าที่พระอาจารย์เทศน์มันคืออะไร

พระอาจารย์ขยายความว่า

       1. ปรากฏเด่น = ครูต้องเด่นด้วยวิชาการความรู้ สอน เรื่องอะไีรก็มีความรู้เด่นในเรื่องนั้นสักเรื่อง คือไม้ต้องเก่งไปทุกเรื่องค่ะ แต่ขอให้เป็นเลิศในเรื่องที่รับผิดชอบ ขนาดเข็มยังมีปลายแหลมด้านเดียว แล้วทำไมเราไม่หาอะไรสักอย่างให้แหลมคมเหมือนเข็ม ความรู้ของครูนั้นแบ่งเป็น 3 ประเภทอีกค่ะ คือ

    - ต้องรู้ = ต้องรู้ในเนื้อหาที่ตัวเองสอนอย่างลึกซึ้ง แตกฉาน ซึ่งปัจจุบันปัญหาของครูคือ รู้ไม่ลึก รู้ไม่จริง ในสาขาที่ตัวเองสอน อาจเกิดจากครูไม่ขวนขวายความรู้ เมื่อไปสอน ก็ทำให้การสอนน่าเบื่อ

    - ควรรู้ = รู้ในสิ่งที่เป็นไปของเหตุบ้านการเมืองในปัจจุบันค่ะ ข่าวสารบ้านเมืืองต่างๆ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ในตอนนี้ ส่งผลกระทบอะไรกับใคร สิ่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง เช่น  19 กันยา 2549 ได้มีการปฏิวัติ ซึ่งนำโดย พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน เมื่อพูดชื่อ พลเอกสนธิ เราก็จะ อ้อ ทหารผู้นำการปฏิวัติใน 19 กันยา 49 นี่เอง ฉันรู้จักๆๆ(แต่เขาไม่รู้จักฉัน...) ซึ่งครูควรหาหนังสืออ่าน หาข่าวอ่าน ติดตามข่าวเยอะๆ เวลาคนอื่นพูดเรื่องอะไร เราจะได้ อ้อ..เรื่องนี้มันเป็นอย่างนี้ โอเค แสดงความคิดเห็นไป ซึ่งทำให้เรามีมิตรมากเพิ่มขึ้นด้วยอีกต่างหากค่ะ[แต่อย่าไปคุยเพื่อเอาชนะ ในเรืองความเชื่อนะคะ อันนี้ม่รู้ว่าจะได้มิตรมาหรือเปล่าค่ะ]

    - รู้ใว้ใช่ว่า = รู้ไว้เฉยๆค่ะ เช่น ดารา x คบกับดารา y หรือ นาย a ชอบกินส้มตำ (คิดแล้วก็อยากกินขึ้นมาพอดีค่ะ)เอาไว้คุยสนุกๆ

     ตรงนี้พระอาจารย์สรุปว่า เป็นครูนั้น ควรจะรู้ลึก และ กว้าง เมื่อรู้ลึกและกว้างทำให้กาถ่ายทอดสนุก ซึ่งครูไม่ต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่สิ่งที่เรารู้นอกเนื้อจากสิ่งต้องรู้นั้น คือของแถมเอาไว้คุยสนุกๆ ความรู้เป็นของกลาง ใครเดินเข้ามาคว้า คนนั้นรู้เอง และการรู้ลึกแต่ไม่กว้างนั้น ทำให้การสอนล้มเหลว

       2. คาย  หมายถึง การมีศิลปะในการคายความรู้ คายสติปัญญาที่แหลมคม ซึ่งก่อนเราจะคายได้นั้น ต้องกลืนด้วยตัวเองเสียก่อน  การคายมีระบบดังนี้ค่ะ

                                     ค้นคว้า>เคี้ยว>กลืน>คาย

      ค้นคว้า = อ่านให้มากค้นหาคำตอบให้มาก ไม่มีคนโง่ในโลกนี้ เพียงแค่เขายังค้นคว้ามาไม่มากพอ หรือค้นไม่เป็น เอาแต่ขยะข้อมูล ปฏิกูลข่าวสารมาใส่หัวเต็มๆ โดยไม่กรอง ได้มาอย่างไร ก็ยกมาอย่างนั้น

     เคี้ยว   = เมื่อเราได้ข้อมูลมาแล้วนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาค่ะ

     กลืน   = เมื่อวิเคราะห์แล้วนำผลที่ได้มาคิดและเก็บไว้ค่ะ

     คาย   = การมีศิลปะในการคาย เลือกคายในเวลาอันเหมาะสมค่ะ

ตรงนี้สรุปได้ว่า ก่อนจะไปถ่ายทอดความรู้ให้ใครได้นั้น ครูต้องรู้จักค้นคว้าหาความรู้และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่เรามีเสียก่อน ค้นมากรู้มาก ค้นสาระได้สาระ ค้นขยะได้ขยะ และเลือกเวลอันเหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้

       3. รสให้เย็น = เย็นด้วยเมตตา เมตตาต่อศิษย์ สอนและรักเหมือนลูก

เมื่อเห็นศิษย์โง่ ให้เมตตาเขา ถือว่านี่คือความท้าทายความเป็นครูที่จะสอนให้เขาพัฒนา

เมื่อเห็นศิษย์ฉลาด ให้ยินดี ว่าเรานี่แหละ สอนให้ลูกศิษย์เก่ง อย่าไปหาเรื่องกลั่นแกล้งเขา

เมื่อเห็นศิษย์สวยหน้าตาดี ให้คิดว่าเราโชคดีที่มีูลูกศิษย์สวยหน้าตาดี เราจะไม่เกิดอกุศลทางจิต

คือให้คิดในแง่ ++ กับลูกศิษย์เข้าไว้นะคะ

[ชีวิตคิดบวก]

--------------------------------------------------------------------------------------------

     สิ่งที่ต้องการได้จากการฟังครั้งนี้ของหนูคือ แนวคิดเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครู วิธีคิดและศิลปะในการพูดของพระอาจารย์

แนวคิดเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูที่ได้คือ

       - ครูต้องเด่นในเรื่องวิชาการ รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง

       - ครูต้องมีศิลปะในการถ่ายทอดความรู้

       - ครูต้องมีใจเมตตาต่อศิษย์ รักศิษย์ดังลูก

        จากการสังเกต พบว่า เพราะพระอาจารย์ชอบอ่าน ชอบคิดเสมอ อ่านมาก คิดตามมาก วิธีคิดและประโยคการเรียงคำพูดของประอาจารย์จึงได้จากการอ่านและการคิด จากการนั่งฟังมาสังเกตได้ว่าพระอาจารย์ยกตัวอย่างหนังสือ ชื่อคนเขียน  คำสอน ปรัชญาต่างๆมามากมาย และบอกทิ้งทายว่าเป็นคนชอบอ่าน ทำให้การเทศน์ของพระอาจารย์สนุก พระอาจารย์จะสอดแทรกมุกตลกที่ตรงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าพระอาจารย์ค้นคว้าอยู่เสมอไม่ได้หยุดศึกษาเรียนรู้เลย

-----------------------------------------------------------------------------------------

ประโยค

         "มองทุกอย่างให้เป็นครู เธอจะมีชีวิตอยู่อย่างแสนรื่นรมย์"

    ได้มาจากไปขอลายเซ็นต์พระอาจารย์่ให้น้องชายค่ะ วันที่ 18 มกราคม เป็นวันเกิดน้องชายพอดี เลยขอให้ท่านเขียนอวยพรให้สักอย่าง ก็ได้ประโยคนี้มาค่ะ ชอบมากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 329230เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • มายิ้มๆๆ
  • เหมือนขอลายเซ็นต์ดาราเลย
  • ชอบข้อความเหล่านี้มากๆๆ

แนวคิดเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูที่ได้คือ

       - ครูต้องเด่นในเรื่องวิชาการ รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง

       - ครูต้องมีศิลปะในการถ่ายทอดความรู้

       - ครูต้องมีใจเมตตาต่อศิษย์ รักศิษย์ดังลูก

อนุโมทนาที่ได้มีโอกาสรับรสแห่งพระธรรมจากท่าน แนวทางที่ท่านนำเสนอนับว่า "เหมาะสม และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างดี" แต่ปัญหาคือ "ธรรมใดๆ ย่อมไร้ค่า ถ้าเราไม่ยอมทำ" ขอเป็นกำลังใจในการประยุกต์ธรรมนำไปใช้ ...เจริญพร

ยินดีที่ได้รู้จักผู้ที่มีอุดมการณ์บนทางสายนี้ เหมือนกันนะครับ

เป็นบทความที่มีสาระ น่าอ่านมากเลยครับ

- อิอิท่านพระอาจารย์เป็นคนดัง ต้องขอลายเซ็นไว้เป็นที่ระลึกค่ะ คุณอาจารย์ขจิต ฝอยทอง

- ขอบพระคุณหลวงพี่ธรรมหรรษามากนะคะที่แวะมาให้ข้อคิดดีๆค่ะ จะนำไปใช้ในอนาคตแน่นอนค่ะ

- ขอบคุณ คุณครูพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาอ่านบทความนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • น่าเสียดายจัง
  • ถ้าทราบล่วงหน้า  จะแอบไปปูเสื่อข้างหลังห้องประชุมค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ..."คนผลิตครู"

 

อิอิ เขินจังค่ะ

มันก็เป็นความฝันของหนูหน่ะค่ะ ว่าอายุ 35 หนูต้องเป็นให้ได้

แต่ตอนนี้ยังไม่จบ ป.ตรีเลยคร่า

สวัสดีค่ะน้องOrasa

  • ตอนวัยเด็กป้าครูคิม ฝันอยากเป็นอะไรก็ได้เป็นสมใจค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ  เรามีสิทธิ์ฝัน
  • การเดินทางไปหาความฝันไม่ยากเลย  เมื่อเราตั้งใจจริง

ขอบคุณมากๆเลยนะคะคุณพี่ครูคิม ทำให้หัวมีความหวังขึ้นมาบ้าง

ฝันอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำด้วยใช่ไหมคะ

จะพยายามนะคะ

- ด้วยจิตคาราวะ -

ธรรมย่อมเกิดกับผู้ประพฤติดี ;)

เยี่ยมมากครับ

Rather than "must be/do", isn't "love to be/do" enough?

- ครู ชอบและอยาก (ต้องเด่นในเรื่องวิชาการ) รู้ลึก รู้จริง รู้กว้าง

- ครู ชอบและอยาก (ต้องมีศิลปะในการ) ถ่ายทอดความรู้

- ครู ชอบ (ต้องมีใจเมตตาต่อศิษย์ รัก) ศิษย์ดังลูก

We see that "right view" is a root of "right action" and (repeating action becomes) "right habit" which is a sign of "right person".

ขอบคุณ อาจารย์ Wasawat Deemarn นะคะ ที่กรุณาเข้ามาอ่าน :)

ขอบคุณคุณ sr มากๆนะคะ ที่ช่วยนำความรู้ภาษาอังกฤษมาให้หนูและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทำให้หนูได้กล้าที่จะแปลภาษาอังกฤษค่ะ (เมื่อก่อนเจอก็ปิดหนีเลย T^T)

และทำให้รู้ว่า ภาษาอังกฤษตัวเองนั้น จากการหวังว่าจะได้รับการพัฒนาขึ้น แต่ตอนนี้ต้องเป็นเปลี่ยนเป็น ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนค่ะ !!!

ขอบคุณมากๆค่ะ( ภาษาอังกฤษคือปมด้อยของหนูนะคร้า... T^T)

อยากเรียนคุณ sr ค่ะ การต้องทำกิจใดๆโดยอาศัยความต้องทำโดยที่ใจไม่รักที่จะทำกิจนั้น ในความเห็นของหนู มันไม่พอหรอกค่ะ

แต่การมีใจรักที่จะทำ และต้องทำในสิ่งที่ตนเองรักให้ดีที่สุดนั้น พอแล้วค่ะ สำหรับหนู

[มีใจรัก จึง มักคิดทำ]

คำว่าอยากทำ กับ ต้องทำนั้น ให้ความหมายต่างกันค่ะ

และผลที่ได้จากการใช้คำ 2 คำนี้ก็ต่างกันค่ะ

้เช่น มาลีอยากติดพัดลมในห้องนอน กับ มาลัยต้องติดพัดลมในห้องนอน

ฟังจากประโยค 2 ประโยคนี้แล้ว ใครมีโอกาสติดพัดลมในนอนห้องสูงกว่ากันคะ

(เหมือนประโยคบอกเล่ากับประโยคคำสั่งแหละค่ะ จะให้แรงเสริมต่างกัน)

We see that "right view" is a root of "right action" and (repeating action becomes) "right habit" which is a sign of "right person".

"เราเห็นว่าความคิดเห็นที่เหมาะสมเป็นรากฐานของการกระทำที่เหมาะสม และการกระทำที่ซ้ำๆกลายเป็นนิสัยที่ถูกต้อง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของ คนอย่างเหมาะสม"

แปลแบบนี้ถูกไหมคะ (- -*)

คำว่าเหมาะสมกับคำว่าถูกต้องในภาษาไทยก็ต่างกันอีกนั่นแหละค่ะ

เหมาะสม = ถูกใจ (เหมาะสมกับนาย a แต่ไม่เหมาะสมสำหรับนาย b หรือ x ว่าความคิดนี้ไม่เหมาะสม แต่ b ว่าความคิดนี้เหมาะสม)

ซึ่งความเหมาะสมของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับสภาพบริบททางกายภาพ จินตภาพ และสังคมภาพที่ตนเองประสบพบเจอมาหรือที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่ค่ะ

ถามว่า มีคนเอาเหล้ามาให้เราดื่ม เราจะดื่มไหมคะ (นั่น !! หลายคนรีบตอบว่าดื่ม ^^)

คนยื่นคนหนึ่งบอกว่าดื่มสิ เหล้านี้ดีนะ ราคาแพง, เพื่อนอีกคนบอกว่า อย่าดื่มเลย เดี๋ยวขับรถกลับบ้านไม่ได้

เราก็ต้องคิดก่อนว่า เหล้าที่เขายื่นมาให้เราดื่มนั้นมีประโยชน์มีโทษอย่างไร สุขภาพตอนนี้สามารถดื่มได้ไหม สถานการณ์นี้เหมาะสมหรือไม่ที่จะดื่ม ดื่มในโอกาสอะไร ปริมาณเท่าไหร่จึงจะสามารถครองสติตนเองได้ ผลจากการกิน ได้อะไรบ้าง หรือ เราเลือกที่จะไม่ดื่มเลย หรืออาจดื่ม แต่ขอแค่นิดเดียวเพื่อกระชับมิตร..

ความคิดเห็นหรือแนวคิดของคนอื่นก็เช่นกันนะคะ เราฟังเพื่อทราบแนวคิดวิธีคิด เมื่อได้แนวคิดมาอย่าเพิ่งตีตราว่าเหมาะสม คิดสักนิดก่อน ว่าแนวคิดนั้นๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงและความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน สามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ เป็นประโยชน์ในด้านใด ลองเอาตะแกรงมากรองไว้เสียก่อน สิ่งไหนตัวเราว่าดีก็ให้เก็บไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สิ่งไหนตัวเราว่าไร้ประโยชน์ ก็ปล่อยให้มันไหลไปกับรูรั่วของตะแกรง ไปอยู่ในส่วนของความรู้รอบตัวก็ได้ สุดท้ายเราเองจะรู้ดีว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่ก็ต่อเมื่อ ตัวเราได้ลงมือปฏิบัติเองค่ะ (หลักการเชื่อ ตามกาลามสูตร 10)

ส่วนเรื่องความถูกต้องนั้น หากพูดถึงเรื่องการคิด หรือความคิดนั้น หนูเองคิดว่า ทุกความคิดไม่มีถูกไม่มีผิดค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าคิดบนเหตุและผลอะไร วิธีคิด คิดอย่างไร และถูกใจหรือไม่ถูกใจผู้รับความคิดนี้มากกว่าค่ะ

โอย....พิมพ์มายืดยาว เวิ่นอีกแล้ว เริ่ม งงเองค่ะ ง่วงนอนอีกต่างหากค่ะ

เมื่อคืนทำการบ้านดึกมากเกือบสว่างนู่นค่ะ (แง๊ คุณครูสั่งการบ้านเยอะจัง)

ยังไงหากคุณ sr ไม่รังเกียจ รบกวนเข้ามาสอนภาษาอังกฤษและแลกเปลี่ยนควารู้กับหนูอีกนะคะ

หนูชอบภาษาอังกฤษ...แต่ยังไม่ถึงขั้นรักค่ะ...คิคิ

- ด้วยจิตคาราวะ -

ไปอ่านที่บันทึกล่าสุดนะครับ อาจจะรักภาษาอังกฤษ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

http://gotoknow.org/blog/yahoo/329528

 

ฮ่าๆๆๆ

ขอบคุณมากนะคร้า

ภาษาอังกฤษหนูแย่เต็มที่

ที่ผ่านมาเรียนเอาแค่ไปใช้สอบค่ะ

ต้องหาคอร์สลงภาษาอังกฤษแล้วค่ะ

T^T

  • มาให้กำลังใจในการเขียนบันทึกครับ
  • บันทึกนี้เขียนได้ดีมากครับ

พล.อ.สนธิ ปฏวัติ 19 ก.ย. 2549 นะจ๊ะไม่ใช่ 2548 นี่แหละที่พระอาจารย์บอกว่าต้องรู้ และต้องรู้จริงนะ ขยันอ่าน ๆ ๆ มาก ๆ เพราะทุกอย่างเป็นครูแม้แต่หนังสือพิมพ์ที่ทำเป็นถุงกล้วยทอด

ฮ่าๆๆ

โอ้ ขอบคุณ พี่ Naphatchon Sonthipak มากๆนะคะที่มาบอกข้อผิดพลาด

นี่คือข้อบงชี้ว่า การอ่านที่ดีควรอ่านอย่างมีสติ อ่านแล้วคิดตาม จะทำให้เราสามารถรู้ข้อเท็จจริง

หนูแก้ให้แล้วนะคะ

อิอิ

"ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่า"

"ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ"

ูู^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท