นายแม่
จิราพร เปี้ยสินธุ fatimar เปี้ยสินธุ

เริ่มต้นการบริหารความเสี่ยง


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
หนึ่งอาทิตย์ทที่ผ่านมานี้ สนใจอยู่กับการ ทำ"คู่มือบริหารความเสี่ยง" ของสำนักวิทยบริการ ตามคำบัญชาของท่าน ผอ.สำนักฯ พร้อมๆกับข่าวคราวการเดินสายทำงานด้านประกันคุณภาพของอาจารย์จารุวัจน์ น้องที่ทำงานแจ้งว่า อาจารย์มีกำหนดจะมาเยี่ยมเยียน สำนักฯในวันพรุ่งนี้ (สงสัยหาวิธีจัดการกับเราได้แล้ว) น้องๆโยนคำถามว่า "พี่จะทำยังไง ให้ได้ 2.8 นี่ของเราที่ทำไปนี่ต้องรื้อใหม่หมดเลย ที่ได้ 2 นี่ ก็เหนื่อยมากแล้วนะพี่" ใจเย็นๆใหนเอามาให้ดูสิว่าอาจารย์แก้ตรงใหนถึงคิดว่าต้องรื้อ (พลิกๆดู ) อ๋อไม่รื้อหรอก อาจารย์ให้เพิ่มมันต้องใช้พลังในการทำให้คะแนนมันขยับขึ้น ที่ผ่านมาเรายังใช้พลังไม่มากพอ ยังไงก็ยืนอยู่ที่ 2 แล้วใช้พลังทุมเทกับมันอีกมันก็อาจขยับ แต่ถ้าพยายามแล้วมันไม่ขยับก็ยังได้ 2 ไม่มีอะไรเสียหาย เอางี้สิ มี 2 ทางเลือก 1.ถ้าจะสู้อาจารย์จารุวัจน์ ก็เอากลับไปอ่านกันให้ดี คิดให้ดีว่าหลักฐานที่อาจารย์ว่าน่าจะหาได้มันคืออะไรแล้วมันจะหาได้หรือเปล่า เอาไปถามวันที่อาจารย์มาถ้าช่วยกันคิดแล้วมันหาไม่ได้ก็ตกไป 2. ไม่ต้องทำอะไรรอถึงวันที่อาจารย์มาแล้วก็ฟังคำแนะนำ แล้วก็ลุยกันอีกรอบ   "ผมยกตัวอย่างนะพี่ ข้อนี้เลยนะ การให้บุคคลภายนอกเขามาเป็นกรรมการ หรือมีส่วนร่วม ภาคประชาชน อ่ะ จะทำยังไงผมละคิดไม่ออก ทำไม่ได้หรอก" พี่เชื่อว่าพวกเราทำได้ ยกตัวอย่างง่ายๆนะ ก็แวะไปที่บ้านกำนัน หน่อยเป็นไง ไปคุยกับกำนันหน่อยว่า ที่สำนักฯเปิดให้ประชาชนตำบลเขาตูมเข้าไปอ่านหนังสือ และใช้อินเตอร์เนต ได้นะ เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน และขอให้กำนันประชาสัมพันธ์ให้ ลูกบ้านทราบด้วย และต่อไป (หรือที่ผ่านมา) มีกิจกรรมที่จะทำหรือทำไปแล้ว อะไรบ้าง ทั้งนี้ ก็แจ้งให้กำนันทราบว่า กำนันสามารถให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ กับสำนักฯได้ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน พร้อมมอบบัตรสมาชิกให้กำนัน เป็นสมาชิกห้องสมุดประเภท ข ซะ บันทึกการประชุม ณ ที่ทำการกำนัน ตำบลเขาตูม  โอเคปะ "เด็กๆอมยิ้ม" (ไม่รู้คิดได้ไง) กลับไปบริหารความเสี่ยงต่อ วันก่อนแวะไปเอาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาลัยฯที่กองกลาง ท่าน ผอ. สนอ. ทวงแผนธุรกิจเครื่องเขียนของมหาลัยฯ ตอบไปตามตรงว่ายังไม่มีเวลาทำให้เลย เร่งคู่มือบริหารความเสี่ยงอยู่(และก็ซุ่มทำ 3 บท อยู่ด้วย) ท่านก็ บอกว่า อย่าเพิ่งเร่งเลยฟ้า รอคณะวิทย์ฯ ทำของมหาลัยเสร็จก่อน กลัวต้องรื้อใหม่เสียเวลา ( รื้ออีกละ) ได้ยินคำนี้บ่อยจัง กลับมาถึงที่ทำงาน คิดว่าจะทำต่อหรือหยุดก่อนดี ก็สรุปว่า ทำต่อไปค่ะ ท่านผอ.ให้โจทย์ ว่า คู่มือบริหารความเสี่ยงนี้ ให้ทำขึ้น เพื่อให้ บุคลากรในสำนักฯ อ่านแล้วเข้าใจว่า ความเสี่ยงคืออะไร การบริหารความเสียงต้องทำอย่างไรบ้าง เป็นหน้าที่ของใคร ที่ต้องรับผิดชอบ เอาให้ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจแค่นี้ก่อน ส่วนของมหาลัยฯจะออกมาอย่างไร  คนที่เข้าใจแล้วคงรับได้ไม่ยาก
หมายเลขบันทึก: 328803เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

บันทึกนี้อ้างชื่อผมเกินกว่าหนึ่งครั้ง โดนปรับครับ ฮาฮา

สู้ๆ ครับ สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือ อะไรบ้างที่เป็นหลักฐานของแต่ละตัวบ่งชี้

พรุ่งนี้เจอกันครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ...ร่วมกันแก้ไขปรับปรุง อย่าเพิ่งคิดว่าทำไมได้ทั้งที่ยังไม่ได้ลงมือทำ "ในความยากย่อมมีความง่ายดายอยู่" ท่าน อ.จารุวัจน์ ไปพรุ่งนี้ท่านพร้อมจะทำให้ทุกคนเรียนรู้ได้ดีครับอย่ากังวล "นายแม่อยู่ที่นั่นกลัวทำไมจริงไหม๊ครับ"

เป็นกำลังใจในการซุ่มเขียน ๓ บทนะครับ(หัวอกเดียวกันครับ)

ด้วยความหวังและดุอาอฺครับ

ยินดีต้อนรับค่ะอาจารย์

อาจารย์เสียงเล็กๆค่ะ เราแข่งกันไหมค่ะ วิ่งอยู่คนเดียวมักจะหลงทาง

มีคู่แข่งจะได้ถึงเส้นไช ไวๆไงค่ะ

ยินดีต้อนรับค่ะอาจารย์

อาจารย์เสียงเล็กๆค่ะ เราแข่งกันไหมค่ะ วิ่งอยู่คนเดียวมักจะหลงทาง

มีคู่แข่งจะได้ถึงเส้นไช ไวๆไงค่ะ

ยินดีต้อนรับค่ะอาจารย์

อาจารย์เสียงเล็กๆค่ะ เราแข่งกันไหมค่ะ วิ่งอยู่คนเดียวมักจะหลงทาง

มีคู่แข่งจะได้ถึงเส้นไช ไวๆไงค่ะ

กลับมาฟันธงว่า ถ้าแข่งกันจริงๆ อาจารย์ฟูอาดเป็นรอง สองต่อห้า ครับ ฮาฮา นายแม่ชนะเห็นๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท