พัฒนาการด้าน KM ในหน่วยงานต่างๆ – ตอนที่ 1


คำถามที่ผมมักจะได้รับจากพวกที่ทำกิกรรม ทำเวที KM มามากมาย ก็คือ . . . “แล้วผมควรจะทำอะไรต่อ?”
            จากการที่ได้มีโอกาสเห็น “พัฒนาการด้าน KM”  ในหน่วยงานมากมาย ผมได้ลองนำมาจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ
 
กลุ่มที่แรก เป็นพวกที่ยัง “ทำ KM ตามรูปแบบ” ค่อนข้างมาก คือดำเนินไป “ตามกรอบ” ที่กำหนดทุกอย่าง เรียกได้ว่า “ยึดเกณฑ์เป็นใหญ่” โดยไม่สนใจในบริบทของตนเองเท่าใดนัก มีเป้าหมายอยู่ที่การประเมินเท่านั้น ต้อง การจะทำเพื่อให้ได้คะแนนประเมินสูงๆ KM ของหน่วยงานประเภทนี้จะมีรูปแบบที่ค่อนข้างจะ “ตายตัว” เดินไปตามขั้นตอนที่กำหนดทุกอย่าง เช่น มีการตั้งกรรมการ KM (อย่างเป็นทางการ)  มีการวางแผน (ทั้งที่บางทีก็ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำไปว่าหลักการที่สำคัญของ KM คืออะไร? ทำไปทำไม?) ให้ความสนใจทั้งหมดไปที่ "ตัวชี้วัด (KPI)" ลืมไปว่า KPI นั้นแท้จริงแล้วไม่ต่างอะไรจาก “นิ้วที่ใช้ชี้ไปที่ดวงจันทร์” แต่หน่วยงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ กลับเป็นพวกที่ให้ความสำคัญกับ นิ้วที่ใช้ชี้ แทนที่จะให้ความสำคัญกับ ดวงจันทร์  ด้วยเหตุดังกล่าวเราจึงมักจะพบว่า “กิจกรรม” ต่างๆ ที่ทำไปนั้น เป็นเพียงการทำเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่เขียนไว้ ทุ่มเทไปกับการพิสูจน์ (ยืนยัน) เพื่อให้ผู้ประเมินได้เห็นว่า “ข้าได้ทำทุกกิจกรรม ไม่ต่ำกว่า 80 % ตามที่ระบุไว้ในแผน” เพราะต้องการจะได้คะแนนสูงๆ เท่านั้น
 
กลุ่มที่สอง เป็นพวกที่ไม่ได้จับจ้องอยู่แค่ตรง “นิ้วที่ใช้ชี้” (หรือ KPI) เท่านั้น แต่ได้ให้ความสำคัญกับ “ดวงจันทร์” ด้วยเช่นกัน คือให้ความสนใจในผลงาน (ผลิตภัณฑ์ และการบริการ) ให้ความสนใจที่ Performance (คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) เป็นพวกที่เข้าใจหลักการแท้จริงของ KM รู้ว่าทำ (กิจกรรม) KM ไปทำไม? กล้าที่จะทำอะไร ที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในแผน เป็นพวกที่รู้อยู่แก่ใจว่า การจัดการความรู้จะสมบูรณ์ได้จะต้องให้ความสำคัญกับความรู้ทั้งที่อยู่ในรูป Explicit และ Tacit ด้วยเหตุนี้คนกลุ่มนี้ืจึงให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างมาก มีการจัด Workshop เพื่อฝึกคุณกิจ ให้เห็นประโยชน์ของการแชร์ Tacit สอนให้เปิดใจ สอนให้มีทักษะในการฟัง มีทักษะในการทำ Dialogue มีการจัด Workshop คุณอำนวย (Facilitator) คุณเอื้อ (CKO ระดับต่างๆ) เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็นคุณเอื้อ/ คุณอำนวย มีการจัดเวที Knowledge Sharing ขึ้นมากมาย เรียกได้ว่าเกิด “กิจกรรม KM” เต็มไปหมด แต่แล้วคำถามที่ผมมักจะได้รับจากพวกที่ทำกิกรรม ทำเวที KM มามากมาย ก็คือ . . . “แล้วผมควรจะทำอะไรต่อ?” ซึ่งคำแนะนำที่ผมให้ ก็คือ . . . “ให้หันมาใช้ KM ในงาน (ในชีวิต) จริงๆ ซะที !” และนี่ก็คือสิ่งที่พวกที่อยู่ในกลุ่มที่สามเขาทำกัน (ซึ่งผมจะอธิบายในตอนที่สองต่อไป)
หมายเลขบันทึก: 328281เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • กำลังจะเขียนเหมือน ดร.ภิญโญ ว่าโดนใจเช่นกันค่ะ
  • เพราะกำลังพยายามผลักดันให้ KM เกิดในสำนักงาน แม้จะยังอยู่ในกลุ่มแรกแต่ก็กำลังพยายามต่อไปให้เข้ากลุ่มที่สองก็ยังดี
  • น่าจะดีกว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มกับเขาเลย

เป็ฺนกำลังใจให้ คุณBe green และขอบคุณ ดร.ภิญโญ ที่ติดตามอ่านสม่ำเสมอครับ

เรียนท่าน อาจารย์ ดร.ประพนธ์ สวัสดีปัใหม่ครับ

  • ไม่แน่ใจว่า จะมีหน่วยงาน ที่กำกับดูแล ให้ส่วนราชการ บูรณาการ ให้ Farmat + Natural KM เติมเต็มงานประจำให้เนียนในปี 2010 ใหมครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์หมอ JJ . . ผมเองก็อยากให้เป็นเช่นนั้นครับ

  • ขออนุญาตคัดลอกบทความไปเผยแพร่ในบล็อกค่ะ เพื่อให้คนทำงานได้เข้าใจในเรื่องของ KM มากขึ้นค่ะ

ด้วยความยินดีครับ คุณจินตมาศ

สวัสดีค่ะอาจารย์

*** บันทึกนี้ ทำให้มองดารจัดการความรู้ ได้ชัดขึ้น

*** ดิฉันชอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ไม่ใช่บุคคลที่อยู่บนเวที KM ในระบบงาน

*** แต่ดิฉัน“หันมาใช้ KM ในงาน (ในชีวิต) จริงๆ จากการได้เรียนรู้ที่ G2K อย่างมีความสุข กับผู้คนหลากหลายอาชีพ เกือบทุกวัน

*** ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ...

ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร KM เนี่ย แต่พยายามศึกษาอยู่ค่ะ

อ่านไป อ่านไป เดี๋ยวก็เข้าใจครับ คุณตัวเม่น

ขอบคุณครับอาจารย์

2 กลุ่มนี้ โดนใจครับ

ทำให้กลับมามองหน่วยงานของตัวเองว่าจะพัฒนาไปยังกลุ่มที่ 2 อย่างไรต่อไป

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยเข้าใจ KM เท่าไหร่ค่ะ แต่ก็อยากจะทำ IS เรื่อง "การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงาน สกสค. จังหวัด" กรณีศึกษาภาคใต้ตอนบน แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าหัวข้อจะผ่านหรือเปล่า ก็ได้แต่ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ไม่ทราบจะปรึกษาใคร จากหัวข้อ ไม่ทราบว่าจะเรียนปรึกษาอาจารย์ได้ไม๊ค่ะ

  • ต้องการความชัดเจนเรื่องKMมาก ๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณอาจารย์ที่แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์

ขออนุญาตสำเนาข้อความอาจารย์ไปนะคะ โดนใจจริง

หนูไปเรียนรู้คำว่า KMของกรมอนามัยที่เชียงใหม่1-3กพ53

หนูจึงรู้ว่าที่หนูทำมาทุกเรื่อง เป็นKM นั่นเองเพียงแต่ไม่ได้สกัดออกมา

เล่าเรื่องเป็นแต่จะพยายามเรียนรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอใช้คำว่าโดนใจมากกับอาจารย์ภิญโญค่ะ แสดงว่าหลายๆแห่งมีปัญหาเหมือนกัน ดิฉันเข้าใจว่าที่จริงแล้วผู้ที่จะทำ KMอย่างหนึ่งต้องเป็นคนใจกว้าง อัตตาต้องไม่สูง ไม่ทราบว่าดิฉันเข้าใจถูกหรือเปล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท