"โรซ่า กับ CSR" : งานส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน


สิ่งที่ผมสนใจที่แตกต่างกว่างานชิ้นอื่นก็คือ ประสบการณ์ที่บริษัทเอกชนเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐในการทำงานเพื่อสังคม โดยมุ่งไปที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ไม่ใช่ CSR แบบหวานอมขมกลืน ...ตรงนี้ผมคิดต่อว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการขับเคลื่อนสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นพัฒนาสังคมในรูปแบบใดๆก็ตาม

เป็นงานที่น่าสนใจ และท้าทายอย่างยิ่งอีกงานหนึ่ง ที่บริษัทเอกชน กับ หน่วยงานรัฐได้ร่วมกันทำขึ้นมา เป็นงานที่ส่งผลความยั่งยืนของการดำเนินงานโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน...

ผมรับปากว่าจะช่วยถอดบทเรียนงานนี้เมื่อได้ฟังแต่แนวคิดของงานแบบคร่าวๆจากคุณณหทัย บัวแย้ม กรรมการผู้จัดการบริษัทเลมอนเรย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่รับทำงานปฏิบัติการในพื้นที่ โดยมีบริษัทไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด เป็นสปอนเซอร์ในการทำงงานทั้งหมด ในส่วนของกรมอนามัย ก็เป็นภาครัฐที่เข้าเป็นภาคีด้านวิชาการ ให้คำปรึกษาพร้อมสานพลังภาคีทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีอาจารย์สง่า ดามาพงษ์ เป็นหัวเรือใหญ่

อ.สง่า ดามาพงษ์

อ้างอิงภาพจาก : http://campus.sanook.com/teen_zone/senior_02955.php

Roza1

ผมคิดว่างานนี้เป็นงานเล็กๆ ดูจากเนื้อหาที่คุณณหทัยส่งมาให้ผมอ่าน ก็ไม่ได้เห็นประเด็นอะไรมากนัก และในที่สุดก็ให้ประเด็นใหญ่ๆในการถอดบทเรียนว่า “งานที่ลงมือทำนั้นสำเร็จมากน้อยเพียงใด” เป็นคำถามใหญ่ของการถอดบทเรียน

ผมคิดเพียงเท่านี้จริงๆ แต่ก็ไม่ได้คิดผิดครับคิดถูกแต่ถูกเพียงส่วนเดียว  ได้มานั่งฟังทีมงานทั้งหมดสรุปภาพรวมของงานให้ฟังโดยคร่าวๆ ที่ร้านอาหารย่านเกษตร-นวมิน ค่ำนี้แล้ว สิ่งที่ผมคิดไว้เป็นเพียงเสี้ยวเดียวจริงๆ

โครงการส่งเสริมโภชนการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน  เป้าหมายเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตภาคอีสานตอนบน (หนองคาย,อุดรธานี,ขอนแก่น)  ประมาณ ๓๒ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และ อีก ๒๐ โรงเรียนเข้ามาร่วมเรียนรู้ โดยโรงเรียนทั้งหมดเป็นผู้ทำแผนงานส่งเสริมโภชนาการแบบมีส่วนร่วม (รูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทโรงเรียน)  และมีการปฏิบัติการตามแผน ในระยะเวลาหนึ่ง จนเกิดความสำเร็จที่ปลายทาง นั่นก็คือ นวัตกรรมการทำงานด้านโภชนาการในโรงเรียน

มีบางคนในวงสนทนาถามผมขึ้นมาในวงสนทนาว่า ผมหนักใจมากไหมกับชิ้นงานที่คุยกัน ...??

ผมตอบว่า “ไม่หนักใจเลย”  แม้ว่าเนื้อหางานที่ได้ฟังบวกกับความตั้งใจของทีมงานที่ผสมผสานเป็นพิเศษ รัฐ+ เอกชน ที่มุ่งเน้นความยั่งยืนในการพัฒนา มากกว่าการทำงานเพื่อเน้นการส่งเสริมยอดขายของสินค้า ทั้งหมดเป็น Corporate Social Responsibility  หรือ CSR.ที่ผมคิดว่า ทางภาคชนก็ใจกว้างพอสมควรที่จะอดทนรอคอยความสำเร็จ ที่อาจไม่ได้ผลงานมาโชว์ได้รวดเร็วและเห็นชัดเจนเป็นผลงานเชิงประจักษ์ หากแต่ว่ากระบวนการพัฒนาโดยมุ่งให้โรงเรียนดำเนินการทำแผนส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืน  ที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชนและเด็กนักเรียน กระบวนการปฏิบัติต่างๆหลากหลายที่สามารถออกแบบได้อิสระตามบริบทพื้นที่ จนเกิดความสำเร็จที่ปลายทาง

สิ่งที่ผมสนใจที่แตกต่างกว่างานชิ้นอื่นก็คือ ประสบการณ์ที่บริษัทเอกชนเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐในการทำงานเพื่อสังคม โดยมุ่งไปที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ไม่ใช่ CSR แบบหวานอมขมกลืน ...ตรงนี้ผมคิดต่อว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการขับเคลื่อนสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นพัฒนาสังคมในรูปแบบใดๆก็ตาม

กระบวนการเหล่านี้เอง คือ ประเด็นที่ทีมงานถอดบทเรียนต้องเรียนรู้ และดึงเรื่องราวเหล่านี้ออกมาให้สังคมได้เรียนรู้ร่วม อาจารย์สง่า บอกว่า เรื่องราวเหล่านี้ เป็นการตอบโจทย์ประเทศไทยด้านงานส่งเสริมงานโภชนาการ ดูยิ่งใหญ่ ฮึกเหิม และท้าทาย

สำหรับเวทีการถอดบทเรียนครั้งนี้ มีทั้งตลาดนัดนวัตกรรมความรู้ด้านโภชนาการ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราจะมีเวทีการถอดบทเรียน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในวันที่ ๖ – ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นี้

ความคาดหวังงานถอดบทเรียนครั้งนี้ เราต้องการบทเรียนที่เป็นเรื่องเล่า “นวัตกรรมความสำเร็จ” มากกว่างานวิชาการที่ใช้วิธีวิทยาถอดบทเรียนออกมาอย่างแข็งกระด้าง ไว้เก็บขึ้นหิ้งอย่างเดียว เราคิดว่า ความสำเร็จที่นำเสนอต่อสังคม น่าจะเป็นบทเรียนที่ ง่าย เป็นธรรมชาติ และเป็นการสื่อสารกับสังคมด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

กรุงเทพฯ

๑๑ มค.๕๓

 

*** การพูดคุยเตรียมงาน เพื่อชี้เเจงโครงการ รวมไปถึงความคาดหวัง และผลลัพธ์การถอดบทเรียน มีคุณศิลา และผมไปร่วมรับฟังเเละเเลกเปลี่ยน


สำหรับทีมงานถอดบทเรียนที่ผมได้ทาบทามเข้ามาช่วยในกระบวนการต่างๆที่ มรภ.อุดรธานี นั้น ช่วงเเรกให้ Download เอกสารที่เเนบมานี้ศึกษาก่อนครับ

Nutritionsus

(สรุปจากการพูดคุยหารือกับ บ.ไฮ คิว,บ.เลมอนเรย์ และ อ.สง่า จากกรมอนามัย ในวันที่ ๑๑ มค. ๕๓ ที่ มหาชัยซีฟู้ด เกษตร นวมิน)

click ขยายภาพขนาดใหญ่เพื่อดูในรายละเอียด และในส่วนอื่นๆสามารถติดต่อผมได้ตลอดเวลาครับ ทั้งทางอีเมลและโทรศัพท์

หมายเลขบันทึก: 327035เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • สวัสดีค่ะ น้องเอก
  • หากมีวาสนาจะไปฟังได้มั้ยคะ เพราะป้าแดงไม่เข้าใจ"คำว่า ถอดบทเรียนเลย"
  • ขอบคุณค่ะ

ทำต่อไปนะคะ..เพื่อสังคม..เพื่อชุมชน..เป็นกำลังใจคะ

ทำต่อไปนะคะ..เพื่อสังคม..เพื่อชุมชน..เป็นกำลังใจคะ

เป็นกำลังใจสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งดีๆครับ...

สวัสดีครับคุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ผมแวะมาเยี่ยม มาทักทาย
  • มารับรู้เรื่องดีมีประโยชน์
  • แล้วพบกันที่ ยโสธร นะครับ

อาหารกระป๋องสำเร็จรูป กับ โภชนาการอย่างยั่งยืน  ...

เจาะกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนในพื้นที่ภาคอิสานตอนบน

... สินค้าราคานี้  คุณภาพ ... ธุรกิจจับตลาดแมสนี้ ...

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ไม่อยากให้เป็นเพียง CSR แบบหวานอมขมกลืน

อย่างไรจะรอติดตาม งานส่งเสริมเพื่อสังคมชิ้นดี ว่าจะเป็น ? นะคะ

pa_daeng ครับ ไม่ต้องใช้วาสนาอะไรเลยครับ ยินดีต้อนรับครับ บุคลากรด้านสุขภาพแบบpa_daeng นั้น เราต้องการมุมองที่ดี ในการเติมเต็มกลุ่มครับ :)

 

 

ทำต่อไปนะคะ..เพื่อสังคม..เพื่อชุมชน..เป็นกำลังใจคะ

ขอบคุณกำลังใจจากคุณแอนนา ครับ :)

เป็นกำลังใจสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งดีๆครับ...

ขอบคุณครับ น้องฟูอ้าจ

สวัสดีครับคุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ผมแวะมาเยี่ยม มาทักทาย
  • มารับรู้เรื่องดีมีประโยชน์
  • แล้วพบกันที่ ยโสธร นะครับ

สวัสดีครับคุณครูจ่อย

สำหรับค่ายฯที่ ยโสธร กำลังเกรงว่า บริหารจัดการเวลาไม่ได้ครับ ผมมีงานอีกในวันจันทร์ ที่กรุงเทพฯครับผม..

แต่หากธรรมะจัดสรร คงได้พบกันครับผม

ขอบคุณครับคุณครู

... สินค้าราคานี้  คุณภาพ ... ธุรกิจจับตลาดแมสนี้ ...

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ไม่อยากให้เป็นเพียง CSR แบบหวานอมขมกลืน

อย่างไรจะรอติดตาม งานส่งเสริมเพื่อสังคมชิ้นดี ว่าจะเป็น ? นะคะ

คุณปูครับ

ผมเพิ่งเข้ามาเรียนรู้นะครับ ต้องดูว่า เรื่องราวต่อไปจะเป็นเช่นไร ครั้งนี้คุยนัดเเรกกับทีมงาน...ประทับใจในหลายๆมุมคิดของคนทำงานครับ :)

 

สวัสดีครับคุณเอก คงเป็นมุมใกล้เคียงกันครับ แต่มุมของผมน่ะ ไกลจากหน้าผาโข ต้นดอกหญ้าที่คุณเห็นในภาพของผม เป็นดอกหญ้าเตี้ย ๆ ครับ แต่ใช้มุมกล้องทำให้ดูสูง แต่ที่คุณถ่ายภาพนั่น เป็นต้นตองกงที่สูงจริง ๆ ครับ เช้าวันที่ผมขึ้นไปภูชี้ฟ้า อุณหภูมิ 13.5 องศาเซลเซียส คุณเอกขึ้นไปกี่องศาครับ ขอบคุณครับ

เป็นงานที่ท้าทาย ฮึกเหิม และเพิ่มพลังจริง ๆ ค่ะ

สิ่งเหล่านี้เป็นนิมิตหมายอันดีที่จะพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

เพราะภาวะโภชนาการของเด็ก ๆ เป็นพื้นฐานของภาวะสุขภาพที่จะนำไปสู่สุขภาวะต่อไป

ขอบคุณค่ะที่ให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งดี ๆ ...^_^

ขอบคุณวิวสวยงามของภูชี้ฟ้าครับนายก้ามกุ้ง 

และพี่สีตะวัน ประเด็นการหารือในรายละเอียดผมคงต้องเขียนเเละส่งให้กับทีมงานอีกครั้ง ต้องขอบคุณมากครับสำหรับการเป็นส่วนหนึ่งของทีมเรียนรู้

แวะเข้ามาทักทาย ต้อนรับศักราช 2553ค่ะ

ขอให้มีความสุข กับการทำงาน และทำกิจกรรมต่างๆค่ะ

ขอบคุณครับ คุณ  berger0123 ขอให้คุณมีความสุขมากๆเช่นกันครับ

สวัสดีครับพี่เอก

มาขอบพระคุณที่นึกถึงผมนะครับพี่ 555 เรียนตามตรงว่ายังนึกภาพไม่ชัดเจน อิอิ แต่ยินดีช่วยเต็มที่ครับผม ช่วยชี้แนะทีนะครับพี่เอก ;)

ตื่นเต้น ตื่นเต้น ^^ 

สวัสดีค่ะคุณเอก..ขอให้กิจกรรมนี้ได้ผลสำเร็จทั้งสองฝ่ายค่ะโดยเฉพาะภาวะโภชนาการของเด็กต้องดีขึ้นมากกว่า......นะคะ

adayday ครับ

งานชิ้นนี้ เป็นงานชิ้นที่ท้าทายดี เพราะเป็นการร่วมมือระหว่างเอกชนกับรัฐ บทเรียนการทำงานลักษณะนี้ เป็นบทเรียนที่น่าสนใจให้กับสังคมด้วยครับ ผมไปที่อุดรคราวนี้ ต้องขอเเรงคนอุดร(น้องเดย์) ไปช่วยจับประเด็นในงาน หรือ เป็นช่างภาพในการถ่ายภาพให้ผมด้วยครับ :)

*** ๑๖ มค. วันเสาร์นี้ลงเครื่องมาแล้วเราเจอกันที่ไหนสักที่ก่อนไปที่เวริ์กช้อปนะครับ พี่จะเป็นเจ้ามือเลี้ยงน้องชาย น้องสาวทั้งสองเองครับ

ครูrinda ครับ

บทเรียนของงานชิ้นนี้ ผมคิดว่าจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจสำหรับ การดำเนินงานพัฒนาแผนโภชนาการในโรงเรียน โดยส่วนตัวก็สนใจครับ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วม (ครู นักเรียน ผู้ปกครอง) เป็นหัวใจ เป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการ ครับ

รอติดตามต่อครับผม

สำหรับ ทีมงานถอดบทเรียน ที่ผมได้หารือไปก่อนหน้านี้เเล้วนั้น ให้มา Download ไพล์แนบนี้ศึกษาไปก่อนนะครับ หากมีข้อปัญหาหรือข้อเสนอแนะอะไรติดต่อผมได้ทั้งทางโทรศัพท์และทางอีเมลล์ได้เลยครับ

Nutritionsus

(สรุปจากการพูดคุยหารือกับ บ.ไฮ คิว,บ.เลมอนเรย์ และ อ.สง่า จากกรมอนามัย ในวันที่ ๑๑ มค. ๕๓ ที่ มหาชัยซีฟู้ด เกษตร นวมิน)

"ที่มุ่งเน้นความยั่งยืนในการพัฒนา มากกว่าการทำงานเพื่อเน้นการส่งเสริมยอดขาย"

คือ ไม่ได้ขัดนะครับ แต่ผมคิดว่าคำว่า "มากกว่า" ในประโยคดังกล่าวอาจไม่ใช่หมายความว่า "มากกว่า" จริงๆ

หรือ อาจจะหมายความว่า "มากกว่า" จริงๆ หากมาจากปากของ CSR Manager

แต่ถ้าให้ผมมอง ผมมองว่าเป็นการสร้าง Brand Positioning แต่อย่างไรก็ดีครับ สำคัญที่สุดคือ สังคมได้ประโยชน์

ซึ่งถ้ามุมมองผมผิด ก็ต้องขออภัย

...

ผมเสมออย่างนี้ครับพี่เอก ถ้าจะ CSR จริงๆ แบบรับผิดชอบต่อสังคม ไปทำกับสิ่งที่ตนเองกระทำจะดีกว่า

- กระบวนการผลิตสร้างสารพิษเท่าไหร่

- สารพิษนั้นลง น้ำ หรือ อากาศ

- ผลิตผลต้นทาง มาจากไหน ไปส่งเสริมการใช้วัตถุดิบปลอดสารพิษดีมั้ย ทั้งผู้บริโภคและผู้ที่อยู่ในกระบวนการผลิตจะได้ปลอดภัย

- ชุมชน รอบๆ โรงงานคุณ ได้รับผลกระทบอะไรไหม ความสมดุล หรือ อะไรที่หายไป หลังจากที่โรงงานคุณตั้ง

แม้จะไม่ได้นับเป็นจำนวนเงิน แต่ถ้ามีผลกระทบกับสภาวะนิเวศน์ มันก็มีเหตุจากคุณ

(ทีมาบตาพุด มีงานวิจัยที่แสดงว่า คนบริเวณนั้น มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนพื้นที่อื่นหลายเท่า เพราะสารพิษจากนิคมฯ)

- สัตว์อะไรบ้างที่หายไป พืชผักอะไรบ้างที่ออกดอกออกผลลดลง (ลองไปดูลิ้นจี่แม่กลองได้ครับ มีโรงงานหนึ่งมาตั้ง

พอเริ่มดำเนินงาน ผลผลิตต่อต้นลดลงอย่างรวดเร็ว)

....

ที่เสนอนี่ไม่ได้ขัดสิ่งที่จะทำนะครับ แต่ Corporate Social Responsibility หากพูดถึงความรับผิดชอบก็อยากให้มองถึงสิ่งที่คุณทำแล้วคุณรับผิดชอบ อาจฟังรุนแรงนิดนึง แต่เจตนาผมไม่อยากให้ภาพข้างนอกสุกใสข้องในต๊ะติ๊งโหน่ง

เพื่อสังคมครับ

สวัสดีครับ น้องบีเวอร์

ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากสำหรับมุมมองที่เขียนมาครับ เราก็คาดหวังเช่นนั้น :) ในความเป็นจริง เราก็คงต้องยอมรับว่า ยากมากเหมือนกันครับ สำหรับผลกระทบที่หน่วยธุรกิจลักษณะที่ต้องใช้ทรัพยากรร่วมกับโลก เลี่ยงเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ แต่ก็ต้องมีมาตรการที่สมดุล

สำหรับ CSR ซึ่ง เราถือว่าเป็น "ทาน" ผมก็ถือว่าเป็น Impact to bisiness เป็นเจตนารมย์ไม่ว่ารูปแบบไหนก็เเล้วแต่ เมื่อมีเข็มมุ่งในการพัฒนาสังคม ผมก็คิดว่า สิ่งนั้น เขาได้ทำเเล้ว และ เราในฐานะที่เรียนรู้อยู่ในเหตุการณ์ควรที่ชื่นชม

ทุกอย่างเราต้องการให้สมดุล ไม่สุดโต่งไปข้างใดมากนัก เเล้วเราก็จะเข้าใจ และอยู่ร่วมกันได้

ในกรณี งานส่งเสริมโภชนาการ ที่ผมถือว่าเป็น CSR ของ บริษัทเอกชนเเห่งนี้ผมมองว่า งานพัฒนาคุณภาพประชากรแบบนี้ ใช้เวลา ใช้ใจ ใช้พลังสูง ผลงานเชิงประจักษ์ช้า ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จุดนี้เองครับ ผมมองว่า งาน CSR แบบนี้น่าสนใจ

น่าสนใจเรื่องวิธีคิดของภาคธุรกิจ...

อันนี้ผมคิดเร็วๆครับ ส่วนผลกระทบอื่นๆที่เกิดขึ้นในวิถีการผลิตนั้น เราก็ต้องว่ากันเป็นส่วนๆอีกที แต่ก็เน้นย้ำอย่างนะครับว่า ทุกอย่างเราดูที่สมดุล และความเป็นจริง เป็นสำคัญ

 

เพิ่มเติมครับ...

สำหรับ case นี้ ผมถือว่าเป็น กระบวนการหนึ่งที่มีลักษณะของ CSR  และ เป็นส่วนหนึ่งของ งานถอดบทเรียนที่เราทีมงานถอดบทเรียนวางแผนการเรียนรู้เชิงกระบวนการอยู่ เเม้ไม่ใช่ point ที่เราจะเจาะลึก เเต่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมการทำงานโภชนาการยั่งยืน ในครั้งนี้ครับ...

ถือว่าเป็นการร่วมเรียนรู้อีกมุมหนึ่งด้วยกันครับ

เอกสารการถอดบทเรียนนี้ จะถูกนำเสนอต่อสาธารณะ มี case study และ มี Show case ที่ผมคิดว่าบทเรียนที่ดี หรือ อาจเรียกนวัตกรรมการทำงานบางอย่างเล็กๆ จะสร้างเเรงบันดาลใจให้คนทำงาน เช่น ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักพัฒนา เป็นต้น

ที่แปลกและน่าสนใจ อีกอย่างก็คือ งานนี้มีบริษัทที่รับทำ ออกาไนเซอร์ มาร่วมดูเเลกระบวนการด้วย ส่วนผมเป็นนักวิชาการที่มาเสริมทีมครับ

 

ประชาสัมพันธ์ไปด้วยเลย

วันที่ ๖ - ๗ กพ. ๕๓ ที่ มรภ.อุดรธานี จะมี เวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้ง การนำเสนอผลงานของโรงเรียนในเครือข่าย ๓ จว. (อุดร,ขอนแก่น,หนองคาย) วันแรกจัดเวลาถอดบทเรียนแบบมีส่วนร่วม วันที่สองเป้นนิทรรศการที่นำเสนอกันอย่างเต็มที่ จากโรงเรียนทั้งหมด

ใครอยู่ไม่ไกลจากที่จัดงาน มีเวลา โอกาส เข้าร่วมเรียนรู้กันนะครับ

ขอบคุณครับพี่เอก ขอบคุณแทนสังคมด้วยครับ

เป็นหนึ่งในโครงการจัดทำแผนอย่างยั่งยืนในโรงเรียนที่ผ่านมา (6-7 ก.พ.53 ) ที่ ม.ราชภัฏอุดร ฯ อยากทราบว่าเกณฑ์การตัดสินที่ชัดเจนเป็นอย่างไร 1. จากโรงเรียนที่จัดทำอย่างเอาเป็นเอาตาย หรือ 2. จาการจัดบูลธ์ที่อลังการ

ถึงคุณ ไม่ปลื้ม

ความเอาเป็นเอาตายนั้นวัดกันไม่ได้ค่ะ วันนี้ เราทำงานหนัก เราคิดว่าเราเหนี่อย แต่คนอื่นอาจจะเหนื่อยกว่า หรือ เหนี่อยน้อยกว่า มันก็ไม่สามารถวัดกันได้ ทุกโรงเรียนมีความพยายามที่จะจัดทำโครงการอย่างดีที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด การจัดบูธให้ดูอลังการนั้นอาจจะเป็นเทคนิคของแต่ละโรงเรียน แต่ลองนึกย้อนกลับกันว่า ต่อให้บูธของคุณสวยแค่ไหน แต่ถ้าแผนงานของโรงเรียนนั้น กลวงโบ๋ ก็ไม่อาจจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ชนะได้

อาจจะเป็นความบังเอิญว่าโรงเรียนที่ชนะนั้น มีทั้งแผนพัฒนาที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง มีการเขียนโครงการอย่างเป็นระบบระเบียบ ทั้งยังมีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดบูธ จึงทำให้สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้ชนะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนที่ไม่ชนะนั้น พยายามไม่พอ หรือ ดีไม่พอ

คณะกรรมการผู้ตัดสินที่ถูกเชิญมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นเรื่องความยุติธรรมนั้น คงไม่ใช่ประเด็น

สุดท้ายนี้ การแข่งขันก็เป็นแบบนี้ค่ะ ต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ วันนี้ไม่ชนะก็ไม่เป็นไรค่ะ ไม่ต้องท้อใจและกล่าวโทษ แต่ควรเอาเวลามาค้นหาสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไมสิ่งที่เราทำยังไม่บรรลุเป้าหมายที่เราต้องการ เพราะน้ำใจนักกีฬาก็เป็นอย่างหนึ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตค่ะ ถ้าคนเราไม่รู้จักยอมรับความพ่ายแพ้ ชัยชนะคงยากที่จะมาถึงค่ะ

พยายามเข้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท