วิตามิน แร่ธาตุ


วิตามิน แร่ธาตุ
5.  วิตามิน    ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมีความต้องการวิตามินเท่ากับวัยหนุ่มสาว การที่ผู้สูงอายุกินอาหารอ่อน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องฟัน อาจทำให้การได้รับวิตามินบางอย่างไม่เพียง พอ แหล่งของวิตามินส่วนใหญ่อยู่ใน ผักผลไม้สด ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้กินผัก ผลไม้ให้เพียงพอในแต่ละวัน 6.  แร่ธาตุ    ผู้สูงอายุมีความต้องการแร่ธาตุเท่าเดิม แต่ส่วนมากมีปัญหาคือ การกินที่ไม่เพียงพอ แร่ธาตุที่สำคัญ และเป็นปัญหาในผู้สูงอายุได้แก่ แร่ธาตุเหล็ก และแคลเซียม 6.1  แร่ธาตุเหล็ก    โดยทั่วไปอาหารของผู้สูงอายุจะมีปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งมีผลทำให้ได้รับเหล็กต่ำไปด้วย ถ้าขาดทำให้เป็นโรคซีด หรือโรคโลหิตจาง พบว่า แม้จะกินในปริมาณที่เพียงพอ แต่การดูดซึมในผู้สูงอายุน้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว อาหารที่มีแร่ธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดงและเลือดสัตว์ เป็นต้น และเพื่อให้การดูดซึมแร่ธาตุเหล็ก ดีขึ้น ควรกินผักสดหรือผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงด้วย ผู้สูงอายุต้องการแร่ธาตุเหล็กประมาณ 10 มิลลิกรัม ต่อวัน 6.2  แคลเซียม    คนทั่วไปมักคิดว่าเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียม เพื่อการสร้างกระดูกและฟันอีก แต่ความเป็นจริงแล้ว แคลเซียม มีความสำคัญต่อร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น ช่วยในการแข็งตัวของโลหิต เกี่ยวกับความยืดหดของกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อร่างกายได้แคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ก็จะไปดึงมาจาก กระดูกและการขาดแคลเซียมพบมากในผู้สูงอายุ ทั้งนี้สาเหตุมาจากการกินแคลเซียมน้อย นอกจากนี้การดูดซึม และการเก็บไว้ในร่างกาย ยังมีน้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว จึงทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกพรุน อาหารที่เป็นแหล่ง ของแคลเซียม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เป็นต้น ความต้องการแคลเซียมในผู้สูงอายุ ประมาณ 800 มิลลิกรัม ต่อวัน 7.  น้ำ    น้ำมีความสำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายของเสีย ส่วนมากผู้สูงอายุจะดื่มน้ำไม่ เพียงพอ ดังนั้นผู้สูงอายุควรดื่มน้ำ ประมาณ 6-8 แก้วเป็นประจำทุกวัน 8.  เส้นใยอาหาร    แม้ว่าเส้นใยอาหารจะไม่ใช่สารอาหาร แต่เส้นใยอาหารเป็นสารที่ได้จากพืชและผักทุกชนิด ซึ่งน้ำย่อยไม่ สามารถย่อยได้มีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์มากเพราะถ้ากินเส้นใยอาหารเป็นประจำจะช่วยให้ท้องไม่ผูก ลดไขมันในเส้นเลือด ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่มีเส้นใยน้อย จะทำให้ร่างกายเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ต่าง ๆ เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น การกินเส้นใยอาหาร ทำให้ถ่ายอุจจาระได้สะดวกทำให้ร่างกายไม่หมักหมมสิ่งบูดเน่าและสารพิษบางอย่างไว้ในร่างกายนานเกินควร จึงป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ด้วยคุณสมบัติพิเศษของเส้นใยอาหารที่ป้องกันโรคดังกล่าวได้ นอกจากจะไม่ถูกย่อยด้วยน้ำย่อย แต่จะดูดน้ำ ทำให้อุจจาระนุ่ม มีน้ำหนักและถ่ายง่ายแล้ว เส้นใยอาหาร ยังมีไขมันและแคลอรี่ต่ำมาก            ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารอย่างสม่ำเสมอ จึงควรกินอาหารที่ปรุงและประกอบด้วย ผักเป็นประจำ และควรกินผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้สดจะให้เส้นใยอาหารมากกว่าดื่มน้ำผลไม้ นอกจากนี้ควรกินอาหาร ประเภทถั่วเมล็ดแห้ง และข้าวซ้อมมือเป็นประจำ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32446เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท