ประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้กระบวนการ KM ที่โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์


     เมื่อวันที่ 30 พ.ค. โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ นำโดยท่าน ผอ.กรีฑา ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการ KM ซึ่งโรงเรียนน้ี้ต้องเป็นแกนนำเรื่องนี้ที่ใช้กระบวนการ KM ตามข้อตกลงกับ สพท.นบ.ข.1

     ผมชื่นชมกับทีมงานบริหารและทีมงานคุณอำนวยที่เข้มแข็งมาก  เตรียมการอย่างดี ทั้งเอกสารปฎิบัติิการ การจัดสถานที่ การซักซ้อมกันมาล่วงหน้า  ห้องประชุมโรงเรียนที่จุคนได้ร่วม 1,000 คน สะดวกในการแบ่งกลุ่มย่อยอย่างมากกับครูทั้งโรงเรียน 100 กว่าคน

     เช้าหลังจาก ผอ.สพท.กล่าวเปิด ผมได้นำสรุปทบทวนความรู้เรื่อง KM และมีข้อตกลงเบื้องต้น๋ให้เห็นพ้องต้องกันว่าเรากำลังจะทำอะไรกัน  อยากให้เกิดอะไรขึ้น และถือเป็นงานปกติ จากนั้นก็มีการแบ่งกลุ่มกันโดยคละทุกกลุ่มสาระเพื่อให้เกิดความหลากหลาย เริ่มจากเรื่องเล่าเร้าพลังก่อน  ซึ่งบรรยากาศก็เป็นไปด้วยดี ตามกติกา  ฟังโดยไม่พูดแทรก  ฟังด้วยความตั้งใจ และฟังด้วยความเข้าใจ คุณลิขิตสามารถบันทึกขุมความรู้นำเสนอรายงานกัน

      เรามีวิทยากรมาช่วยดูแลการประชุมปฏิบัติการ ได้แก่ ศน.จาก สพท.นบ.ข.1 คือ อาจารย์โสภา  ชนะภัย (ศน.ประจำโรงเรียนนี้อยู่แล้ว) อาจารย์ชยยุทธ์ ฤทธิ์เต็ม และอาจารย์รัตนา  ด่านศิริกุล ซึ่งมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงแก่คุณอำนวย และกลุ่มตลอดทั้งวัน

     ช่วงบ่ายปฏิบัติการกลุ่มต่อ  โดยวางแผนกำหนดผังมโนทัศน์การบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ(สหวิทยาการ) และนำเสนอรายงานแลกเปลี่ยนกัน  ตอนจบมีการ AAR กัน แต่ไม่สามารถพูดได้ทุกคน เพราะมีคนเป็นจำนวนมาก

      ข้อคิดที่ผมวิเคราะห์ได้จากการประชุมครั้งนี้มีดังนี้

      1.ถ้ามีการเตรียมการดี  ทุกคนมีเป้าหมายร่วม และเห็นพ้องต้องกันแต่ต้นจะทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมแบ่งปัน ร่วมรับผิดชอบ และทำให้บรรยากาศการประชุมปฏิบัติการดี

      2.การประชุมปฎิบัติการไม่ควรมีจำนวนคนมากเกินไป  เพราะยากแก่การดำเนินการ  และการสื่อสาร  ทำให้ได้ผลไม่เต็มที่ และเกิดการรวบรัด   

      3.การใช้เรื่องเล่าเร้าพลังเหมาะสำหรับคุณกิจที่มี Best Practices ในประเด็นนั้นๆจริงๆ  และต้องมีความหลากหลาย  หากอยู่ในหน่วยงานเดียวกันที่เคยมีวัฒนธรรมการทำตามแบบกัน(ติดกรอบ)จะไม่ได้ความหลากหลายของขุมความรู้ ระยะแรกจึงต้องไปดึงความรู้จากที่อื่นที่เห็นว่าดีมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ใช่จากผลสำเร็จของตนเอง  หากเราเริ่มต้นทำงานไม่ติดกรอบการเล่าเรื่องในครั้งต่อๆไปก็จะทำให้ได้ขุมความรู้กว้างขวางขึ้น เป็นการเพิ่มพูนนวัตกรรมให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป

      4.ควรต้องมีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการและปรับประยุกต์ตามบริบทของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีแผน มีปฏิทิน มีผู้รับผิดชอบ และมีการกระตุ้นติดตามสร้างบรรยากาศการจัดการความรู้ให้ต่อเนื่อง โดยจัดให้อยู่ในงานปกติที่ทำอยู่  เช่นการนิเทศภายในโรงเรียน เป็นต้น

    

คำสำคัญ (Tags): #kmสพท.นนทบุรีเขต1
หมายเลขบันทึก: 32275เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท