อาชีพไหนเสี่ยงเอดส์มากที่สุด [EN]


เ้ป็นที่ทราบ กันดีว่า อาชีพขายบริการน่าจะเป็นอาชีพที่สี่ยงติดไวรัส HIV หรือเอดส์ (AIDS) มากกว่าอาชีพอื่นๆ ทีนี้ถ้าเป็นบุคลากรทางการแพทย์, สายไหนจะเสี่ยงมากที่สุด มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังครับ

โอกาสติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ เปื้อนเลือด เช่น เข็มตำ ฯลฯ มีประมาณ 0.3% หรือ = 3 ในพัน  ซึ่งถ้ากินยาต้านไวรัสภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังสัมผัสจะช่วยลดความเสี่ยงได้ประมาณ 79%

...

การศึกษาในสัตว์ ทดลองพบว่า การกินยาต้านไวรัสหลัง 24-3ุ6 ชั่วโมง หรือ 1-1.5 วันจะป้องกันไม่ได้ผล ทว่า... มีแนวโน้มว่า การให้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคระยะแรกๆ น่าจะได้ผลดีกว่าให้ระยะหลังๆ จึงควรปรึกษาหารือกับหมอใกล้บ้านเสมอ

ข้อมูลของ CDC หรือสำนักควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ พบบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเอดส์จากคนไข้ (ช่วงปี 1978-1996; บวก 543 จะได้ปี พ.ศ.) ที่มีหลักฐานรับรองชัดเจน (documented transmission) ว่า ติดจากคนไข้จริง มี 52 รายได้แก่

(1). nurse = พยาบาล 21 ราย

(2). clinial laboratory = แลปคลินิก หรือห้องปฏิบัติการคลินิก เช่น เจาะเลือด ตรวจเลือด ฯลฯ 16 ราย

(3). nonsurgical MD = หมอที่ไม่ใช่หมอผ่าตัด 6 ราย

(4). surgical MD / dialysis technician = หมอผ่าตัด และเทคนิเชียนหน่วยฟอกไต (technician = นักเทคนิค มักจะหมายถึงวิชาชีพเฉพาะ ช่างเทคนิคทางการแพทย์) 3 ราย

(5). other = บุคลากรอื่นๆ 3 ราย 

...

นอกจากนั้น ยังมีนักกายภาพบำบัดทางเดินหายใจ (respiratory therapist) 1 ราย, แม่บ้าน-ฝ่ายบำรุงรักษา (housekeeper / maintenance) 1 ราย, และผู้ช่วยเหลือคนไข้ (health aide) 1 ราย

ปัจจัยสำคัญที่พบว่า เพิ่มเสี่ยงชัดเจนมี 4 ข้อได้แก่

(1). บาดแผลลึก มีเลือดออกจากแผล > บอกว่า หลอดเลือดฝอยฉีกขาด

(2). ถูกของมีคมเปื้อนเลือดชัดเจน

(3). สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ที่สอดใส่เข้าไปในหลอดเลือดของคนไข้แล้ว

(4). คนไข้เอดส์ตายภายใน 60 วัน > บอกว่า คนไข้ระยะสุดท้ายมักจะมีเชื้อไวรัสมากเป็นพิเศษ

...

ส่วนที่บุคลากรทางการแพทย์รายงาน มีความเป็นไปได้สูง (possible transmission - ไม่มีหลักฐานรับรองชัดเจน), มี 111 รายได้แก่ 

(1). พยาบาล 28 ราย

(2). ห้องแลปคลินิก 16 ราย

(3). ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 12 ราย

(4). หมอที่ไม่ใช่หมอผ่าตัด 11 ราย

(5). ทีมปฏิบัติการกู้ชีพ-ปั๊มพ์หัวใจ (EMS / paramedic) 10 ราย

...

รองลงไปได้แก่

(6). คนทำงานด้านทันตกรรมหรือห้องฟัน (dental workers) 7 ราย

(7). หมอผ่าตัด 6 ราย

(8). บุคลากรอื่นๆ 6 ราย

(9). เจ้าหน้าที่ห้องเก็บศพ (morgue technician) 3 ราย

(10). หมอผ่าตัด / เทคนิเชียนหน่วยฟอกไต 3 ราย

(11). นักกายภาพบำบัดทางเดินหายใจ 2 ราย

...

ภาพรวมของความเี่สี่ยงนี้ คือ พยาบาลเสี่ยงมากที่สุด, รองลงไปเป็นห้องแลป โดยเฉพาะห้องเจาะเลือด, และหมอที่ไม่ใช่หมอผ่าตัด 

รายงานการติดโรคที่มีหลักฐานรับรองเชื่อถือ ได้มากกว่ารายงานที่ไม่มีหลักฐานรับรอง และเรื่องที่ไม่ควรลืม คือ การใส่เข็มฉีดยากลับเข้าไปในปลอกเป็นจุดเสี่ยงแบบสุดๆ จึงควรฝึกการใส่เข็มเข้าปลอกโดยใช้มือข้างเดียว หรือใช้เครื่องมือกำจัดเข็มเสมอ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ พอ.นพ.สมบัติ ลีลาสุภาศรี. Postexposure prophylaxis for HIV. ใน: สุทธชาติ พีชผล, นพดล วรอุไร, ศุภวิทย์ มุตตามระ, ปริญญา ทวีชัยการ, ปรียาพันธ์ แสงอรุณ, วิชัย ประยูรวิวัฒน์ บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ฉุกเฉิน. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า. นำอักษรการพิมพ์. กทม. พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง. 2542. หน้า 731-734.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 23 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 322465เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท