เปิดความรู้เรื่องสวัสดิการชุมชนจังหวัดเพชรบุรี


ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี

 "จะต้องแก้ระเบียบท้องถิ่นให้เอื้อต่อการจัดสวัสดิการชุมชนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว"

นี้เป็นคำมั่นสัญญาของ นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ......

 ในการประชุมผ่าน วีดีโอ conferrent เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552.......

สวัสดิการชุมชน เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทั่วไปใช่ใหมครับ...คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ

ถ้าค่อยๆอธิบายไปเรื่อยไม่ซับซ้อน ก็จะเข้าใจง่ายขึ้นครับ....

ถ้าเริ่มด้วยคำถามว่า ทุกวันนี้ใครได้รับสวัสดิการบ้าง....... หลายคนจะต้องตอบว่าราชการไงหละ ได้รับสวัสดิการเพียบเลย... ถ้าคนทำงานเอกชน ก็แย้งว่า เอกชนก็มีสวัสดิการนะ เช่น เช่นค่ารักษาพยาบาล ปีละ... ไง  คำตอบก็คือ ถูกต้องครับ

แล้วชาวบ้าน(ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน รับจ้าง) มีสวัสดิการไหม  คนทั่วไปก็บอกว่า ทุกๆคนก็ได้รับบัตรทองก็ได้รับสวัสดิการซิ  ก็ถูกนะ  พูดง่ายๆก็คือ การให้สวัสดิการพื้นฐานนั้นเป็นหของรัฐอยู่แล้ว

แต่สวัสดิการชุมชน มันแตกต่างจากรัฐตรงไหน อันนี้ต้องอธิบายพอสมควร.....

เริ่มต้น ที่แนวความคิด การดูแลกันเองของชุมชน ในอดีตดูแลกันอย่างไร......

คนชนบทในอดีต "พริกน้ำเหนือ เกลือบ้านใต้" "ไปบ้านไหนเอาไฟน้ำนั้น"   ...

สรุปความคือ สวัสดิการชุมชน คือการช่วยเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชนด้วย ในหลายรูปแบบ ส่วนรัฐสนับสนุนในด้านงบประมาณที่มีรายละเอียดที่มากพอสมควร ไว้วันหน้าจะนำมาอธิบายให้ในวันหลัง

กระผมเป็นตัวแทนของ พอช.ไปร่วมประชุมร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในบทของคณะกรรมการฯ  จังหวัดเพชรบุรี ได้ดำเนินการจัดสวัสดิการชุมชนมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 - ปัจจุบัน สามารถจัดตั้งกองทุนสวัสดิการได้แก่ ๕๒ กองทุน มี ๒ กองทุนที่เป็นตัวอย่างระดับจังหวัด ได้แก่ กองทุนตำบลบางขุนไทร ตำบลไร่ใหม่พัฒนา จังหวัดมีเป้าหมายขยายผลปี ๕๓ ไปอีก ๓๐ กองทุน  

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ความสำคัญ โดยท่านได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่า

"การจัดสวัสดิการ ต้องดูแลคนทั้งตำบล และให้ความสำคัญกับคนที่มีจิตอาสาที่มีวินัย จัดลำดับความสำคัญให้สมดุลย์ และท้องถิ่นควรให้ความสนใจในการสนับสนุนให้เหมาะสมจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

สุดท้าย การจัดสวัสดิการ ต้องไม่ทิ้งแนวความคิดที่ว่า "ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี  จะทำให้การจัดสวัสดิการชุมชน มีประโยชน์สูงสุดครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 322459เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สุดท้าย การจัดสวัสดิการ ต้องไม่ทิ้งแนวความคิดที่ว่า ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี  จะทำให้การจัดสวัสดิการชุมชน มีประโยชน์สูงสุด

ผมเห็นด้วยครับ สำหรับประโยคท้ายบันทึก สวัสดิการสังคมไม่ใช่การสงเคราะห์ ต้องให้เเละรับอย่างมีศักดิ์ศรี

 

ขอบคุณ อ.เอก ครับ

"สวัสดิการสังคมไม่ใช่การสงเคราะห์ ต้องให้เเละรับอย่างมีศักดิ์ศรี"

เขียนอย่างไร จะทำให้ไม่เป็นวิชาการมาก อ.เอกช่วยแนะนำด้วยครับ

เร็วนะค่ะ ถอดความรู้มาได้เร็วทันสถานการณ์เลยนะ คิดว่าทุกคนมีบทเรียนดี ๆ มีคำถามที่ต้องการคำตอบจากหน่วยงานและขบวนองค์กรขุมชนจากการเข้าร่วมประชุมในวันนั้นทั่วประเทศมากมายที่ต้องประมวลเป็นองค์ความรู้

ขอบคุณ กุ้ง

"คิดว่าทุกคนมีบทเรียนดี ๆ........

มีคำถามที่ต้องการคำตอบจากหน่วยงานและ......

ขบวนองค์กรขุมชนจากการเข้าร่วมประชุมในวันนั้นทั่วประเทศ......

มากมายที่ต้องประมวลเป็นองค์ความรู้"

รีบเขียนนะ พี่กำลังรออย่างใจจดใจจ่อ

เขียนแบบนี้ ก็อ่านได้สนุกนะ

 งานวิชาการบางทีก็อาจต้องมีกลิ่นวิชาการบ้างก็ไม่แปลกหรอกครับ แต่บริบทการเขียนเเบบเล่าเรื่องเเบบนี้ อ่านเเล้วผ่อนคลาย ได้สาระครับผม :)

ขอบคุณครับอ.เอก

 จะพยายามร้อยเรียงให้ต่อเนื่องน่าติดตามมากกว่านี้ครับ

เรื่องเล่าแบบนี้ผมว่าโอเคนะพี่ฝน เป็นการบอกคนอื่นว่าเราเป็นใคร เรากำลังทำอะไร และทำเพื่อใคร เขียนวิชาการมันแห้งนะ ใส่ความรู้สึก ความเห็นได้ยาก ผมพยายามผสม ยังไงก็ไม่ได้ซะที ไม่อ่อน ก็แข็งไป หาจุดเหมาะสมไม่เจอซะที

ขอบท่านมหา

คงต้องเขียนบ่อยๆนะผมว่า อี่กซักพักภาษารืนไหลไปได้ครับ

ยอดเยี่ยมมากครับ

อ่านเพลินและได้สาระ/ความคิด

บันทึกนี้แสดงให้เห็นว่างานวิชาการอ่านเพลินก็มี มิใช่มีแต่แบบแห้ง ๆ เท่านั้นครับ

เขียนต่อไปครับ จะรออ่าน...

ขอบคุณครับ หนานเกียรติ

จะมุ่งมั่นต่อไปครับ

คนชนบทในอดีต "พริกน้ำเหนือ เกลือบ้านใต้" "ไปบ้านไหนเอาไฟน้ำนั้น" ... เห็นด้วยครับนี่เป็นสวัสดิการชาวบ้านทั้งที่ชาวบ้านไม่ได้เรียกว่าสวัสดิการครับอ้าย อ้ายเขียนดีแล้วครับผมจะมาเป็นกำลังใจให้ พร้อมดูดข้อมูลเพราะทำเรื่องสวัสดิการอยู่เหมือนกัน 555 ล้อเล่นครับ

ครับนายหมูแดงอวกาศ

ไว้มีเรื่องดีๆเล่าให้ฟังนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท