ประเภทของสหกรณ์


อยากรู้เชิญอ่านได้เลย มีประโยชน์มาก ๆ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มให้มีการสหกรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

สหกรณ์ มี 6 ประเภท ดังนี้

๑. สหกรณ์การเกษตร เป็นสหกรณ์สำหรับผู้มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ สหกรณ์การเกษตรนี้ได้วิวัฒนาการมาจากสหกรณ์หาทุนเดิม รวมกับสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร ในท้องถิ่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น สหกรณ์ขายข้าว สหกรณ์บำรุงที่ดินและอื่น ๆ มาเป็นสหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์หลายอย่างครอบคลุม ครบวงจรการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก โดยดำเนินธุรกิจในลักษณะของการบริการ ดังนี้
๑.๑ ธุรกิจสินเชื่อ จัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ ด้วยการระดมทุนจากสมาชิกทั้งในรูปของการฝากเงิน และการถือหุ้นเพิ่ม หาแหล่งเงินกู้ภายนอกเพิ่มเติม เพื่อนำมาดำเนินการให้เป็นไปตามความต้องการของสมาชิก
๑.๒ ธุรกิจการซื้อ จัดหาปัจจัยการผลิตได้แก่ ปุ๋ย พันธุ์พืช ยาปราบศัตรูพืช เครื่องมือการเกษตร เพื่อเพิ่มผลิตผลของสมาชิก รวมทั้งเครื่องอุปโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มาบริการแก่สมาชิกด้วย
๑.๓ ธุรกิจการขาย จัดการรวบรวมผลิตผล ของสมาชิกมาจัดการจำหน่าย หรือแปรรูปออกจำหน่าย โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้สมาชิกขายผลิตผลได้ในราคาดี การที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจำหน่ายผลิตผลได้ในราคาสูง การดำเนินการในขั้นตอนของการผลิตจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ จะต้องอยู่ในกลุ่มผู้ผลิตเท่านั้น จึงจะสามารถกำหนดราคาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ผลิตได้
สหกรณ์การเกษตรเป็นจำนวนมาก มีโรงสีแปรรูปข้าวเปลือกของตนเอง มีโรงงานผสมอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมสด และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ รวมทั้งมีฉางไซโล ยานพาหนะและอุปกรณ์ในการรวบรวมผลิตผลของสมาชิก
นอกจากธุรกิจที่สำคัญ ๓ ประการดังกล่าวแล้ว สหกรณ์การเกษตรยังจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างฐานะของสมาชิกและครอบครัวรวมทั้งชุมชนด้วย ได้แก่ กิจกรรมสวัสดิการสงเคราะห์ ทั้งในเรื่องของภัยธรรมชาติ ณาปนกิจ กิจกรรมกลุ่มสตรีสหกรณ์ และเยาวชนสหกรณ์


๒. สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์สำหรับผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ไม่มีที่ดินทำกินหรือน้อยไม่พอประกอบอาชีพ โดยรัฐบาลจะจัดสรรที่ดินที่เสื่อมสภาพจากป่าสงวนแล้ว ให้ราษฎรเข้าถือครองประกอบอาชีพ ในสมัยแรกที่มีการจัดตั้งสหกรณ์นิคม สมาชิกสหกรณ์จะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับการจัดสรรนั้น แต่ปรากฎว่ามีสมาชิกจำนวนมากที่ไม่รักษาที่ดินนั้นไว้ นำไปขายต่อให้ผู้อื่น ทำให้มีการบุกรุกป่าสงวนเพิ่มขึ้นอีก ประกอบกับเป็นพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดสหกรณ์ในที่ดินพระราชทานตามโครงการในพระราชดำริ ไม่มีการให้กรรมสิทธิ์แต่สมาชิกทุกคนจะได้รับสิทธิครอบครองและสามารถตกทอดเป็นมรดกถึงลูกหลานได้ ตราบใดที่ยังประสงค์จะทำมาหากินถึงลูกหลานได้ ตราบใดที่ยังประสงค์จะทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ของสหกรณ์ หากไม่มีทายาทที่จะรับช่วงมรดก ก็ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของสหกรณ์ เพื่อรับบุคคลที่ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเข้ามาทำกินได้ เราเรียกการจัดสหกรณ์ชนิดนี้ว่า สหกรณ์การเช่าที่ดิน
สมาชิกของสหกรณ์นิคมอีกชนิดหนึ่งที่สามารถได้กรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือ สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน ซึ่งจัดขึ้นในที่ดินผืนใหญ่ที่มีผู้เช่าที่ดินทำกินอยู่แล้ว และเจ้าของที่ดีประสงค์จะขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้เช่า ซึ่งถ้าผู้เช่าทั้งหมดตกลงและประสงค์ที่จะได้ที่ดินเหล่านั้นเป็นของตนเอง แต่ติดขัดในเรื่องเงิน ทางราชการโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ก็จะขออนุมัติรัฐบาลจัดหาเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินนั้นไว้และขายให้แก่ผู้เช่าเหล่านั้นโดยวิธีการเช่าซื้อ ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามหลักการและวิธีการสหกรณ์เมื่อผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเสร็จสิ้น ก็จะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเองต่อไป


๓. สหกรณ์ประมง เป็นสหกรณ์สำหรับผู้มีอาชีพประมงโดยเฉพาะ ทั้งอาชีพประมงน้ำจืดและประมงทะเล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทางด้านวิชาการ และดำเนินธุรกิจเพื่อส่งเสริมอาชีพประมงทั้งการจำหน่ายสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุปกรณ์ประมง

๔. สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป โดยการจัดจำหน่ายสินค้าเครื่องอุปกรณ์บริโภคที่จำเป็นในครอบครัวให้แก่สมาชิกมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว สหกรณ์ร้านค้า หรือร้านสหกรณ์ นี้ถือว่าเป็นต้นแบบของสหกรณ์ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะสหกรณ์แห่งแรกของโลกที่ดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นสหกรณ์ที่จำหน่ายสินค้าเครื่องบริโภคของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่สามารถใช้เป็นหลักการสหกรณ์สากลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้

๕. สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสหกรณ์สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำโดยทั่วไปที่ต้องการพึ่งตนเองด้วยการออมทรัพย์เป็นประจำ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยการให้กู้ยืมเมื่อเกิดความจำเป็น สหกรณ์ออมทรัพย์ตั้งขึ้นทั่วไปในสถานที่ราชการ สำหรับข้าราชการพลเรือน ตำรวจทหาร และในรัฐวิสาหกิจ โรงงาน บริษัท สถานศึกษา หรือชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในโรงงาน และบริษัทต่าง ๆ นอกจากจะช่วยให้พนักงานมีการออมทรัพย์เพื่อตนเองแล้ว ยังสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในระหว่างพนักงานและเจ้าของกิจการ ทำให้ข้อขัดแย้งต่าง ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๒๙ มีสหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน ๖๓๔ สหกรณ์ มีสมาชิก ๙๙๔,๗๙๐ คน

๖. สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์สำหรับผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ ต้องการดำรงชีพตามแนวทางสหกรณ์ และมีประเภทของอาชีพนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว สหกรณ์บริการจึงมีหลายรูปแบบ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกระแสไฟฟ้า และจัดให้มีการบำรุงรักษาร่วมกัน สหกรณ์เคหสถาน ดำเนินการให้ได้มาซึ่งบ้านที่อยู่อาศัย หรือที่ดิน และสิ่งสาธารณูปโภคอื่น ๆ สหกรณ์ผู้เดินรถรับจ้าง สหกรณ์แท็กซี่ สหกรณ์ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32120เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รู้เยอะมากๆๆๆๆๆเลย

เก่งจังเลยจร้า

Thank U

^_^

อย่กได้ประเภทของสหกรณ์สากลค่ะ

อาจารย์จะสอบ

ช่วยหน่อยนะคะ

จากเด็ก กระนวน-ขอนแก่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท