กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ตอนจบ


นำสิ่งที่กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ทำอยู่ 7 รูปแบบ การเรียนรู้ เพื่อก้าวไปสู่หลักสูตรใหม่ โครงสร้างใหม่ การเรียนการสอนใหม่ เด็กๆ จะออกมานอกโรงเรียนมากขึ้น เป็นความสอดคล้อง ที่ส่งเสริมกันได้

เสนอบทเรียนสู่แผนระดับจังหวัด

เวทีเสนอบทเรียนและกำหนดแผนการทำงานระดับจังหวัด

    มีการเตรียมพร้อมด้วยเอกสารประกอบของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์  และสีสันของซุ้มนิทรรศการจากกลุ่มเยาวชนต่างๆ ที่ช่วยให้เห็นภาพการทำงานชัดเจนยิ่งขึ้น 

    มีการพูดคุย   ซึ่งเด็ก ๆ ต่างมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นกันอย่างเป็นธรรมชาติ กับกลุ่มคนต่าง ๆ ร่วม 200 คน จากเครือข่ายเยาวชนในจังหวัด องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยราชการ ผู้นำชุมชน ครูภูมิปัญญา ครูในโรงเรียนต่าง ๆ ผู้อาวุโสจากสมาคมผู้สูงอายุ  พระสงฆ์ พ่อแม่ของเยาวชน บุคคลในส่วนประชาสังคม เป็นการรวมพลครั้งสำคัญของฝ่ายประชาสังคมในกิจกรรมด้านการศึกษาของบุตรหลานชาวสุราษฎร์ธานี

แนวทางการดำเนินงานต่อไปของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

1. จัดอบรมสร้างพี่เลี้ยง

2. หากัลยาณมิตรช่วยสนับสนุนการเรียนรู้

3. สร้างความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ ชุมชน และเด็ก

4. ร่วมสรุปความรู้ สรุปบทเรียน จากแต่ละกลุ่มการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การออกแบบการเรียน รู้จักตนเองได้อย่างเหมาะสม

5. ยกระดับองค์ความรู้จากแต่ละกลุ่มการเรียนรู้ ให้เป็นบทเรียนขับเคลื่อนการศึกษาใหม่ ซึ่งต้องมีการหารือให้เห็นแนวทางการทำงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับขยายแนวคิดในกลุ่มโรงเรียน กลุ่มผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก/เยาวชนได้อย่างเหมาะสมต่อไป

การเสวนาการศึกษาเติมเต็มความรู้ขึ้น

   สู่บทสรุป 7 รูปแบบการเรียนรู้

1. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

- การสรุปงาน  - สรุปความรู้ร่วมกัน

ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของกลุ่ม

2. การสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์/รณรงค์

- การสื่อสารแบบธรรมชาติ   

- การสื่อสารสู่สาธารณะเพื่อเผยแพร่ทางจดหมายข่าว การจัดรายการวิทยุ จัดเสียงตามสาย จัดนิทรรศการ

- การสื่อสารผ่านกิจกรรมการจัดประชุม รณรงค์

3. ชุมชนศึกษา

- เพื่อทราบปัญหาเรื่องราวภายในชุมชน

- เพื่อศึกษาชุมชนในความเปลี่ยนแปลง ผ่านการสังเกต สัมภาษณ์ การประชุม นำไปสู่การวิเคราะห์ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมโดยใช้รูปแบบอื่น ๆ ได้อีก รวมทั้งได้ร่วมงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนภายในจังหวัด

- เพื่อจัดกิจกรรมในเชิงบริการชุมชน สร้างความร่วมมือในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง และยังสามารถเชื่อมโยงให้เห็นแบบแผนของความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบในท้องถิ่น

4. การเรียนรู้แบบซึมซับ

- การเรียนรู้จากแบบแผนการปฏิบัติภายในกลุ่ม ที่มีการคบหากันร่วมงานกัน

- การเรียนรู้ระหว่างบุคคล

5. การสนทนาอย่างลึกซึ้ง (Dialogue)

สามารถทำได้ 2 แบบ แบบธรรมชาติ และแบบที่มีการจัดการเป็นวงสนทนา/เวทีแลกเปลี่ยน

ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้มิติทางสังคมได้ในช่วงนี้ ช่วยให้ค้นพบหนทางแก้ไขปัญหา เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่สามารถเชื่อมโยงกับวิธีการเรียนรู้แบบอื่น ๆ ได้ดี

6. การฝึกอบรม

- ฝึกการทำงานกลุ่มตามบทบาทหน้าที่

- ฝึกการดำเนินชีวิตที่สงบ เรียบง่าย ตามแนวท่านอาจารย์พุทธทาส ที่ว่า "การเป็นอยู่อย่างต่ำ การกระทำอย่างสูง"

- การฝึกเฉพาะด้านตามความสนใจ และตามสภาพปัญหาในการทำงาน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพ

7. การศึกษาดูงาน

- ศึกษานอกสถานที่ เช่น การเยี่ยมเพื่อนบ้าน การเรียนรู้จากประสบการณ์ขององค์กรชุมชนต่างพื้นที่

ข้อควรระวัง  ในการลอกเลียนแบบหรือการศึกษาโดยไม่เข้าใจบริบทของกลุ่ม/องค์กรอื่น ๆ ต้องมีการสรุปบทเรียนทุกครั้ง การศึกษารูปแบบนี้ จึงเหมาะสำหรับกลุ่มที่มีความสามารถในการจำแนกแล้วพอควร ในการนำประสบการณ์ของกลุ่มอื่นมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

                                                                                                                       smile

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 321เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2005 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท