ลดต้นทุน...ด้วยคำถาม


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (17)

เราคงเคยได้ยินคำว่าที่โน่นที่นั่พยายามลดต้นทุนกันบ่อยๆ นักศึกษาบริหารธุรกิจจะทำ Project กับอาจารย์ก็มาละ "ลดต้นทุน" ที่สนุกและเดิ้นหน่อย ก็ Lean 

แต่ถ้าใครเคยไปเกี่ยวข้องกับโครงการแบบนี้ด้วยมักเหนื่อยครับ บางทีเห็นตัวเลขต้นทุนที่ลดได้จริง แต่ก็ไม่มาก ผู้บริหารบางแห่งพยายามอย่างสิ้นหวัง ด้วยการติดกราฟแสดงค่าไฟ ค่าน้ำ ติดคำขวัญในห้องน้ำก็แล้ว ก็ดูไม่ค่อยจะทำอะไรได้ ทำให้โครงการ Lean ก็แล้วกลายเป็นลีบ บีบคั้น คับแค้นไปในที่สุด

โครงการลดต้นทุน หรือ Lean ส่วนใหญ่ จึงคล้ายๆกับคนที่พยายามลดความอ้วน ลดได้สักพักก็เจอ Yo Yo effect เลยกลับมาอ้วนยิ่งว่าเดิม 

ที่สนุกกว่านั้น น่าจะแทนด้วยคำถามของชาวชุมชนเราคนหนึ่ง ที่ถามผมในวันหนึ่งว่า "อาจารย์ครับ ผมว่าผมจะเปลี่ยนเรื่องที่ทำใหม่ เพราะผมไปดูแล้วมันไม่น่าจะใช่ครับอาจารย์ โครงการผมเป็นโครงการลดต้นทุนในโรงงานแปรรูปกุ้ง ที่คนงานเป็นคนพม่า ค่าแรงก็ถูกแสนถูกอยู่แล้ว จะไปลดทำไมอีกครับ"  

ในมุมมองของผม Project นี้เลยกลายเป็นโครงการที่ท้าทายความคิดพวกเราได้สุดขีด ผมเลยคุยกับเทพดรุณใหม่ โดยบอกว่า เรามาตั้งต้นกันที่นิยามของคำว่าต้นทุนกันดีกว่า ผมถามเขาว่าต้นทุนคืออะไร คำตอบที่ได้ก็เหมือนคนทั่วไปที่ตอบว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต้นทุนค่าแรงลดลง  ครับไม่แปลก เราเลยกลับมาทบทวนกันไหม่จริงๆแล้วต้นทุนไม่ได้หมายถึงค่าแรงเป็นเงิน หรือประหยัดวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นตัวเงินอย่างเดียวครับ นี่เป็นความหมายขั้นต้นเท่านั้น จริงๆแล้วนิยายามของต้นทุนยังครอบคลุมถึงคำว่า คุณภาพสินค้า เช่นถ้าเราทำสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้น ของเสียก็น้อย (ต้นทุนก็ลด) ที่สำคัญลูกค้าก็จะ claim สินค้าน้อยลง (ลดอีกครับ) ส่งผลให้ชื่อเสียงมากขึ้น (เสียค่าโฆษณาน้อยลง เพราะลูกค้าบอกปากต่อปาก) ยังไม่พอ ยังส่งมอบได้ตรงเวลาขึ้น (Delivery) กรณีหลังใครว่าไม่สำคัญ โดยเฉพาะพวกส่งออกครับ โรงงานผลิตเสื้อผ้าส่งออก (รับจ้างผลิตให้ยี่ห้อดัง) แถวกรุงเทพ ผลิตไม่ทันส่งมอบ ตามสัญญาแทนที่จะต้องส่งทางเรือ เลยต้องส่งออกทางเครื่องบิน จนกระทั่งเจ๊งไปเลยครับ 

ในมุมมองของผมต้นทุนยังมองได้ด้วยมิติอื่นๆอีกครับ ในมุมมองของ Appreciative Inquiry สามารถมองได้อย่างนี้ครับวันที่ที่ต้นทุนลด คือ "วันที่คุณทำงานเก่งขึ้น" หรือ "วันที่คุณสร้างระบบอะไรบางอย่างแล้วทำให้ระบบมันทำงานแทนคุณได้"

ตามประสบการณ์ของผมในทุกระบบงาน มีใครสักคนที่อยู่มาวันหนึ่งก็ทำงานเก่งขึ้น เพราะเข้าใจอะไรได้มากขึ้น หรือไปเรียนจากคนอื่นๆมา  หรือบางครั้งงานมันดีขึ้นมา เพราะมีใครสักคนพยายามพัฒนาระบบเพื่อช่วยให้ตนเองทำงานเหนื่อยน้อยลง เหตุการณ์พิเศษเหล่านี้เป็นที่มาของต้นทุนที่ลดลงเสมอครับ

สำหรับโครงการนี้ เมื่อพยายามลดต้นทุนแบบ AI  ว่าแล้วเขาก็เริ่มต้นถามคนงานด้วยคำถามที่ว่า "ให้ลองนึกถึงวันที่คุณทำงานเก่งขึ้น วันนั้นมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น" 

ตัดภาพมานิดหนึ่งนะครับ คนงานชาวพม่าทำงานได้ค่าแรงตามจำนวนกุ้งที่แกะได้ ยิ่งแกะได้มาก (และต้องไม่เสีย) ก็จะได้ค่าแรงมาก คนงานบางคนเครียด เพราะได้ค่าจ้างไม่มากพอ พยายามทำให้เร็วขึ้น กุ้งก็เสียอีก

ถามไปซักพัก (ผ่านล่าม) ก็ได้ความแล้วครับ ที่เก่งขึ้นเพราะไปดูตัวอย่างคนโน้นมา ก็จะเป็นแบบนี้ครับในที่สุดเราก็ไปดูวิธีการแกะกุ้งของคนที่เร็วกว่า ก็พบว่าเขาแกะได้เร็วเพราะมีวิธีเฉพาะตัว ที่สำคัญกุ้งไม่เสียด้วย ได้ทั้งความเร็วและคุณภาพ ในที่สุดเราก็จัดโครงการ KM ในหมู่คนงานพม่าขึ้นมา นอกจากนี้ยังได้วิธีล้างกุ้งไม่ให้เสียจากคนงานอาวุโสคนหนึ่ง ได้วิธีการขนกุ้งขึ้นเพื่อบรรทุกไปห้องเย็น โดยได้พื้นที่มากกว่าเดิม 30% จากคนงานกลุ่มหนึ่ง

เมื่อวัดผลออกมา ปรากฏคนงานแกะกุ้งได้มากขึ้น มีความสุขมากขึ้น (เขาได้ค่าแรงมากขึ้น) โรงงานได้วิธีการ และกระบวนการทำงานใหม่ที่ทำให้กุ้งเสียหายน้อยลง ได้วิธีการฝึกอบรมคนงานใหม่ครับ

ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้มาจากคนงานที่ทำงานอยู่ทุกวันนี่แหละครับ เพียงแต่ไม่มีใครไปคุยกับเขาเป็นเรื่องเป็นราวนั่นเอง

ลองกลับไปคุยและตั้งคำถามดีๆกับคนงาน ชาวบ้าน ที่คุณอาจเคยมองข้ามไปสิครับ บางทีอาจทำให้คุณได้อะไรแบบที่ชนิดที่นึกไม่ถึง แล้วคุณจะลดต้นทุนได้จริงๆครับ ไม่เหนื่อยมากเกินไป นอกจากนี้ คุณจะรักคนงานชาวบ้านๆของคุณมากขึ้นกว่าเดิมครับ

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 320910เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นการถอดบทเรียนมาบันทึกที่ทรงคุณค่าจริงๆครับ

สวัสดีค่ะครูโย

แวะมาเยี่ยมอาจารย์โยตอนบ่ายๆ ค่ะ

ช่วงนี้อ่านblog ครูโยได้แค่แวปๆ 

กำลังปั่น ISบทที่ห้าอยู่ค่ะ

เสร็จแล้วกลับมาอ่านย้อนหลังให้หมดเลยค่ะ^_^

ตัดคำพูดของ อาโยข้างต้นค่ะ

"ในมุมมองของผมต้นทุนยังมองได้ด้วยมิติอื่นๆอีกครับ ในมุมมองของ Appreciative Inquiry สามารถมองได้อย่างนี้ครับวันที่ที่ต้นทุนลด คือ "วันที่คุณทำงานเก่งขึ้น" หรือ "วันที่คุณสร้างระบบอะไรบางอย่างแล้วทำให้ระบบมันทำงานแทนคุณได้"

หากว่า สักวัน AI นั้น มันกลายเป็นของเก่า ล้าสมัยและใช้ไม่ได้กับองค์กร

เพราะว่า องค์กรเปลี่ยนแผนล่ะค่ะอาจารย์ ดังนั้น AI ต้องล้อตามพันธกิจใหม่อีกไปเรื่อยๆ สิใช่มั้ยคะ

หนูเคยเรียนอาจารย์ไปว่า มีสิ่งที่เวิร์คที่เกิดขึ้นในตอนที่หนูทำงาน

แล้วหนูค้นพบมัน ทดลอง ทำซ้ำ มันอยู่ได้ค่ะ

แต่ปรากฎว่า เพียงไม่นาน มันก็อ่อนไหวแล้ว เลยไม่แน่ใจว่า การใช้ AI ของเรานั้นยังไม่เก่งพอ

หรือว่า เราต้องปรับเปลี่ยนให้ไว เพราะว่า งานที่ทำ ทำกับคนค่ะ sensitive สูงมากๆ ค่ะ

บางที AI ใช้ได้กับลูกค้ากลุ่มนี้ ในช่วง 2-3 วันนี้

พอสัปดาห์ถัดมา ปรากฎว่าใช้ไม่ได้แล้วค่ะ ต้องปรับเปลี่ยน

มันขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกของคนด้วยนะคะ

แจ๋วแหวว

ลองเปลี่ยน AI ให้เป็น Policy สิแจ๋วแหว๋วให้มันทำงานด้วยตนเอง

เช่นให้ทำป็น Morning Talk เป็นประจำ

หรือทดลองไปเรื่อยๆก็ได้ครับ

ผมเองก็ทดลองผสมผสานมันเข้ากับเรื่องต่างๆ เช่น LO เพื่อพัฒนามุมมองใหม่ๆ ตรงนี้อาจมีส่วนส่งเสริมให้ภาคส่วนอื่นอยากทดลvงด้วยครับ พอทำจะเกิดความรู้ใหม่ เขาก็อาจมาเล่าให้ผมฟั งเกิดเป็นเกลียวการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ นะ JW

อีกเรื่องคือต้องจัดประเภทสิ่งที่ค้นพบครับ

เช่นผมจะแยกประเภทเป็นผู้หญิง ผู้ชาย ทำให้เราเรียนรู้ และพัฒนากลยุทธ์ได้เรื่อยๆครับ ตรงนี้ KM เราเรียกว่า Combination (Takecuchi and Nonaka, 1995) ครับ ผู้บริหาร นักคิด ที่ไม่จัดระบบความรู้ ก็จะลมปราณแตกซ่านหมด

Comment ของ JW ทำให้ผมต้องเขียนเพิ่มอีกสามเรื่อง ถ้าลืม ช่วยทวงด้วยครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากเน้นคือ นึกถึงสามเรื่องคือ Human Capital, Social capital และ Structural Capital

ต้องสร้างสมไปเรื่อยครับ ไม่งั้นเปลี่ยนที่ไรโคลงหมดนะ ใครมาพูดอะไรหน่อยคนในองค์กรเขวหมดครับ

ประมาณว่า basic ไม่แน่น

จริงๆต้องเขียนสี่เรื่องครับ

การทำให้ AI ยั่งยืนนั้นต่องตอบ Destiny ให้ดี

ให้ใครทำ

เปลี่ยนอย่างไร

เรียนรู้อย่างไร

น่าจะตอบคำถาม JW ได้นะ

ผมจะเขียนเพิ่มให้

ติดคุณสี่เรื่องแล้วนะ

อ.โย

JW ลองพิจารณาเรื่องราวใน Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( ตอน 15 และ 16)

ที่น่าจะตอบโจทย์คุณได้หลายส่วนนะ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ JJ ครับ

ผมจะตาม Blog อาจารย์ทุกวันครับ

หนูว่าทุกอย่างมันไม่มีอะไรตายตัวนะค่ะอาจารย์ ทฤษฎีเป็นเพียงแค่แนวทางในการปฏิบัติ ที่สำคัญคือ เราจะต้องมีการประเมินและทำความเข้าใจตลอดเวลา

ใช่ครับ ทฤษฎีไม่ตายตัว ต้องปรับแหลกจริงๆครับ

คุณอัจฉรียา คุณสบายดีเหรอ

สวัสดีค่ะอาจารย์...

แวะเข้ามาอ่าน....น่าสนใจ ได้แง่คิดในการทำงานคุณภาพค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ อาโญ

แจ๋วแหววเอง

"วันที่คุณสร้างระบบอะไรบางอย่างแล้วทำให้ระบบมันทำงานแทนคุณได้"

เนี่ยล่ะครับ อ โย คือสิ่งที่ผมกำลังพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

และหวังว่าคงจะเสร็จ เป็นที่น่าพอใจในไม่ช้านี้

อาจารย์ครับ

    บทความนี้ นำมาประยุกต์ใช้ในวงการศึกษาได้เลยครับ  โดนเฉพาะในเรื่องของ การใช้คำถาม  เพื่อทำให้ทำงานเหนื่อยน้อย และ  ได้งานมาก

    ตอนนี้   โรงเรียนบ่นกันมากครับ  ว่างานมาก และ ก็มากจริงๆ

    ถ้าคนทำงาน  รู้จักคิด รู้จักมอง  รู้จักพูดคุยกัน  จะพบว่าสามารถทำงานให้เบาลงได้  และ  ได้งานมาก    ไม่ต้องทำงานมากแต่ได้งานน้อย

    ผมมองไปที่การใช้คำถามไปที่ "งาน" ครับ   ถามตัวเองเพื่อหาแก่นของงาน  หาแก่นของงานให้เจอ แล้วทำเฉพาะแก่นงานจริงๆ  ก็จะพบว่าทำงานไม่เหนื่อยมากครับ และ ได้งานมาก

    สิ่งที่เป็นอุปสรรคในระบบราชการ  คือ เราไม่ค่อยใช้คำถามครับ   เรามักจะทำตามสั่ง   มักจะทำตามๆกัน โดยไม่คิด ประมาณว่า ว่าอะไรก็ว่าตามกัน   แล้วก็บ่นว่างานมาก

    แนวคิดที่ผมนำของอาจารย์มาประยุกต์ใช้ คือ ลดต้นทุนการทำงานหนัก  ด้วยการให้ถามตัวเองครับ 

ยินดีเลยครับ..ท่านอาจารย์ Small Man ก็จุดประกายเรื่องการฟังให้ผมมากๆ เลยครับ

การทำไคเซ็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการยกระดับคุณภาพของงานการลดต้นทุนการผลิตรบกวนช่วยแต่งคำขวัญในหัวข้อนี้หน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท