การขอรับทุนสนับสุนึนโครงการที่เกี่นวกับสุขภาพ


การขอรับทุนสนับสุนึนโครงการที่เกี่นวกับสุขภาพ 100,000. - 500,000.- จาก สสส.

แนวทางสนับสนุนทุน และ   แบบเสนอโครงการ ทุน > 100,000-500,000 บาท 

“เป็นโครงการนำร่อง หรือใช้กลวิธีสร้างเสริมสุขภาพใหม่ๆ  ที่หวังผลระยะยาว”

 โครงการสร้างเสริมสุขภาพ

ประเภท เปิดรับทั่วไป

  

เปิดรับโครงการ ปีละ 3 รอบ

รอบ

ระยะเวลาเปิดรับ

แจ้งผลการพิจารณา

วันเริ่มโครงการ

1

1 ธันวาคม   –  31 มกราคม

จะแจ้งผลการพิจารณาภายใน 60 วัน นับจากวันที่ สสส. ได้รับโครงการ

ส่งโครงการถึง สสส.ล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน ก่อนวันเริ่มต้นโครงการ

2

1 เมษายน   –  31 พฤษภาคม

3

1 สิงหาคม  –  30 กันยายน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :

สำนักสนับสนุนโครงการเปิดรับทั่วไป   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

โทรศัพท์

02-2980500 ต่อ 1111-1116

โทรสาร

02-2980499

Website

www.thaihealth.or.th

 

สำหรับการสนับสนุนทุนโครงการประเภทอื่นๆ  สามารถติดต่อขอรับแบบเสนอโครงการ ดังนี้

**** โครงการวิจัย, โครงการนวัตกรรม

     โทร. 02-2980500 ต่อ 1116

**** โครงการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ

     โทร. 02-2980500 ต่อ 1712

**** แผนงานการให้ทุนอุปถัมภ์ (Sponsorship)

     โทร. 02-2980500 ต่อ 1902, 1905

ปรับปรุงครั้งที่ 1(ต.ค.50)

(สน.6) 

 

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

มีเหตุผล

 

มีภูมิคุ้มกัน
ในตัวที่ดี

ทางสายกลางภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงแปลง

พอประมาณ

 

เงื่อนไขความรู้
(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)

ก้าวหน้าอย่างสมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน

ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม

นำสู่

เงื่อนไขคุณธรรม
(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน)

 

  • เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต

  • ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน

 

 

 

แนวทางสนับสนุนทุนโครงการ

 

รู้จัก สสส.

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เมษายน 2544 มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชนไทย

 

วัตถุประสงค์การสนับสนุนทุน

เป็นโครงการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นสุขภาพที่ สสส. ให้ความสำคัญ และเป็นโครงการที่มีความคิดสร้างสรรค์ ที่ต้องการทดสอบต้นแบบ หรือใช้กลวิธีใหม่ๆ โดยใช้ฐานความรู้และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีโอกาสยั่งยืนเมื่อทุน สสส. หมดลง และหวังผลระยะยาวที่มุ่งเน้นข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งข้อ ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มความรู้ ทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตสู่สุขภาพดีของกลุ่มเป้าหมาย

  • สร้างกฎ กติกา ข้อตกลง หรือ นโยบาย ด้านสร้างเสริมสุขภาพ ที่ชุมชนหรือองค์กรร่วมกันกำหนดและมีการปฏิบัติตามจริงจัง

  • เป็นโครงการนำร่องและสามารถใช้เป็นต้นแบบหรือแบบอย่างสำหรับชุมชนอื่นๆ ได้

 

ประเด็นสุขภาพสำคัญ ที่ สสส. ให้การสนับสนุน

       ลดการบริโภคสุรา ยาสูบ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

  • ลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัย
  • สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และปลอดภัย
  • การผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

 

  • สร้างเสริมสุขภาพจิต
  • สุขภาวะทางเพศ เพศสัมพันธ์ปลอดภัย
  • ป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพจากโรคที่เป็นภัยเงียบ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพจากโรคอุบัติใหม่ เช่น ไข้หวัดนก


กลุ่มเป้าหมายหลักที่รับประโยชน์จากโครงการ

 

  • เด็กและเยาวชน

  • กลุ่มผู้สูงอายุในชนบท

  • กลุ่มที่ขาดโอกาสและมีปัญหาสุขภาพ

  • บุคคล หรือองค์กรที่นำการเปลี่ยนแปลง

 

 

 


 

ใครที่เสนอโครงการได้

 กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรไม่แสวงกำไร ที่ตั้งใจดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน/อาชีพ โดยอาศัยฐานความรู้ และจะต้องวางแผนงานโครงการและดำเนินงานโครงการอย่างมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

  • ผู้เสนอโครงการควรอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกับชุมชน/กลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการ
  • ควรมีที่ปรึกษาโครงการที่เป็นผู้รู้ หรือนักวิชาการในพื้นที่

 

 

 

 

 

เกณฑ์การพิจารณาโครงการ

  โครงการที่เข้าข่ายการพิจารณา อย่างน้อย ต้องเข้าเกณฑ์ ดังนี้

  • ใช้แบบเสนอโครงการของ สสส. เท่านั้น และเสนอตามรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยส่งถึง สสส. ล่วงหน้า 90 วัน ก่อนวันกำหนดเริ่มโครงการ
  • เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประเด็นสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่ สสส. สนับสนุน
  • มีรายละเอียดครบถ้วน ระบุสภาพปัญหาพื้นที่/ชุมชนชัดเจน แผนกิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ ระบุผลลัพธ์ที่จะเกิดจากโครงการได้ชัดเจน วัดได้ งบประมาณประหยัดและสมเหตุสมผล หรือมีทรัพยากรสมทบจากองค์กรท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่น และมีความคุ้มค่า
  • มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน มีความต่อเนื่อง เมื่อทุนของ สสส. หมดลง
  • เสนอโดยกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ
  • ถ้าเคยได้รับทุนจาก สสส. ต้องเป็นผู้มีประวัติรับทุนดี และได้รับทุนไม่เกิน 2 ครั้ง 
  • หากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาก่อน ต้องแสดงเหตุผล หรือข้อมูลที่แจ้งชัดว่าจะเพิ่มคุณค่า หรือก่อประโยชน์เพิ่มเติมจากโครงการเดิมอย่างไร
  • ไม่สนับสนุน โครงการระยะสั้น ไม่ต่อเนื่อง กิจกรรมโดดๆ ที่ไม่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น การดูงานทั้งในและต่างประเทศ ประชุมสัมมนา ค่าย นิทรรศการ การท่องเที่ยว การผลิตสื่อทุกประเภทโดยไม่มีกิจกรรมอื่นรองรับ  
  • ไม่สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำนักงาน เงินเดือน และค่าตอบแทนรายเดือน
  • ไม่สนับสนุนการตั้งกองทุนไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น กองทุนหมุนเวียน กองทุนสงเคราะห์ กองทุนกู้ยืม กองทุนอาชีพ ฯลฯ 
  • ไม่สนับสนุนทุนโครงการที่ถือเป็นงานประจำของหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานนั้นๆ อยู่แล้ว 
  • สสส. ขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาโครงการที่เสนอมาใหม่ หากหน่วยงาน หรือองค์กรนั้นมีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่กับ สสส.    

 

ลักษณะโครงการ/กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ที่ สสส.  ไม่สนับสนุน

  • องค์กรที่เสนอโครงการ หรือเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบหรือสินค้าทำลายสุขภาพ
  • หน่วยงานหรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่ สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม
  • โครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างแจ้งชัด
  • โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน  ให้รางวัล  หรือจัดซื้อรางวัล
  • โครงการที่มีลักษณะธุรกิจหากำไรหรือเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหากำไร
  • โครงการด้านการรักษาพยาบาล
  • โครงการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์ เช่น การจัดซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์ ตรวจร่างกาย การแจกอาหาร  หรือให้สวัสดิการช่วยเหลือต่างๆ
  • โครงการที่มีมุ่งจัดหา ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น รถยนต์  อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง การก่อสร้างอาคาร  ลานกีฬา การสร้างห้องฟิตเนส ซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • โครงการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก
  • โครงการที่ไม่พยายามสร้างการมีส่วนร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

 

 

เงื่อนไขการสนับสนุนทุน

 

  1. เมื่อโครงการได้รับอนุมัติทุนแล้ว  สสส. จะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในนามโครงการ  โดยจะโอนเงินเป็นงวด  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและงบประมาณของแต่ละโครงการ ตัวอย่างเช่น

1.1   โครงการที่มีงวดงานงวดเงิน 2 งวด สสส. จะโอนเงินงวดที่ 1 ร้อยละ 70 และงวดสุดท้าย ร้อยละ 30 

1.2   โครงการที่มีงวดงานงวดเงิน 3 งวด  สสส. จะโอนเงินงวดที่ 1 ร้อยละ 30  งวดที่ 2 ร้อยละ 40 และงวดสุดท้าย ร้อยละ 30

1.3  โครงการที่มีงวดงานงวดเงิน 4 งวด  สสส. จะโอนเงินงวดที่ 1 ร้อยละ 30  งวดที่ 2 ร้อยละ 30  งวดที่ 3 ร้อยละ 20 และงวดสุดท้าย ร้อยละ 20

  1. โครงการจะต้องนำส่งผลงานและรายงานการใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญารับทุน หากนำส่งผลงานและรายงานการใช้จ่ายเงินล่าช้าเกินกว่า 3 เดือน  โดยไม่ชี้แจงเหตุผล หรือชี้แจงเหตุผลที่ไม่มีเหตุผลอันควร  สสส. จะปรับเป็นรายวันตามที่ระบุในสัญญารับทุน และอาจเรียกเงินที่สนับสนุนไปแล้วคืนทั้งหมด  รวมทั้งขอสงวนสิทธิ์ในการบันทึกประวัติการรับทุนในฐานะที่ไม่ให้ความร่วมมือ  และไม่ให้การสนับสนุนอีกต่อไป

 

 

คำแนะนำสำคัญในการเสนอโครงการ

1)    กรุณาตรวจสอบว่าโครงการและองค์กรของท่านเข้าข่ายการสนับสนุนทุนตามวัตถุประสงค์ของ สสส. และผู้เสนอโครงการ/องค์กรที่เสนอโครงการมั่นใจว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุนของ สสส.ได้ครบถ้วน

2)       หากสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมควรหารือกับเจ้าหน้าที่ สสส. ที่รับผิดชอบก่อนส่งโครงการ

3)    เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาสนับสนุนโครงการ กรุณาใช้แบบเสนอโครงการของ สสส. เท่านั้น และเสนอตามรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยส่งถึง สสส. ล่วงหน้า 90 วัน ก่อนวันกำหนดเริ่มโครงการ

4)       สสส. จะไม่พิจารณาอนุมัติกิจกรรมย้อนหลัง  ในกรณีที่โครงการดำเนินงานไปแล้ว ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

5)       ผู้ขอทุนควรเสนอรายละเอียดโครงการให้มากที่สุด “โดยไม่ปิดบัง”  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ

6)    คณะกรรมการจะพิจารณาการให้ทุนตามเกณฑ์  โดยจะรวมถึงการเปรียบเทียบโครงการต่างๆ ที่ขอทุนเข้ามาภายในรอบเดียวกันด้วย  เพื่อให้การสนับสนุนทุน บังเกิดผลประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ภายใต้วงเงินทั้งหมดที่จัดสรรไว้สำหรับแต่ละรอบ

  

วิธีเสนอโครงการ  (ส่งทางไปรษณีย์เท่านั้น)

ส่งเอกสารโครงการ และเอกสารประกอบการพิจารณาทางไปรษณีย์ เท่านั้น ดังนี้

1.   รายละเอียดโครงการ จำนวน 5 ชุด  (ตาม “แบบเสนอโครงการ” หน้า 7 ถึง 16) และแนบแผ่นดิสก์เก็ต หรือ CD ที่มีไฟล์โครงการของท่าน  

2.  เอกสารแนบเพิ่มเติม  เพื่อประกอบการพิจารณา  จำนวน 5 ชุด  ได้แก่

2.1   ประวัติ ผลงาน และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาโครงการที่เสนอ ของผู้รับผิดชอบโครงการ และทีมงานโดยย่อ (ประมาณ 1-2 หน้า) 

2.2   ภาระหน้าที่หลัก และผลงาน ขององค์กร/หน่วยงานที่เสนอโครงการ 1-2 หน้า  

s        กรณี โรงเรียน กรุณาระบุ กรม/กอง ที่สังกัด ระดับที่เปิดสอน จำนวนครู-นักเรียน

s        กรณี สถานประกอบการ กรุณาระบุประเภทธุรกิจของท่าน จำนวนบุคลากร

s    กรณี องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) สมาคม มูลนิธิ  ชมรม องค์กรภาคประชาชน กรุณาแนบความเป็นมา ผังการบริหาร และรายชื่อ คณะกรรมการ ผู้บริหาร

s        กิจกรรม/ผลงานด้านสร้างเสริมสุขภาพ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยสังเขป พร้อมรูปถ่าย

2.3    แผนที่ขององค์กรของท่าน และแผนที่ในพื้นที่ดำเนินงาน

                        

               หมายเหตุ           กรุณาพิมพ์เอกสารโครงการ   

                                                และตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารก่อนส่ง สสส.

                                                พร้อมทั้งแนบใบนำส่งเอกสารตาม หน้า 17

 

ที่อยู่                       เลขานุการกรรมการฯ  (โครงการเปิดรับทั่วไป)  

                                                สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

                                                เลขที่ 979/116-120  อาคารเอส.เอ็ม.ทาวเวอร์  ชั้น 34 

                                                ถนนพหลโยธิน  แขวงสามเสนใน  เขตพญาไท  กทม. 10400

                                                                                                  วงเล็บมุมซอง : (เสนอโครงการ)

 บเสนอโครงการ  (ทุนมากกว่า 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท)

แบบเสนอโครงการนี้  สามารถ download ได้จาก  www.thaihealth.or.th

ส่วนที่ 1   ข้อมูลทั่วไป     (กรุณากรอกให้ครบถ้วน)

 

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย)

……………………………………………………………………………………………………………………..…………

……………………………………………………………………………………………………………………..…………

 

ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ)

ถ้ามีชื่อโครงการ ภาษาอังกฤษ  โปรดระบุด้วย       ………………………..…………………………………………….

…………………………………………………..………………………………………………………………………..……

 

องค์กรที่เสนอโครงการ

ชื่อองค์กร  ……………………….…………..…………………………………………….… 

ชื่อ-นามสกุล หัวหน้าองค์กร ……….………………………….………..………….. ตำแหน่ง ………………………...………..…

ที่อยู่  ……..……………………………..…..…………………….……...………………………….…………………………………

............................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย์ ………….………  

โทรศัพท์ ................................................ โทรศัพท์เคลื่อนที่ …....….…..…………………….….   โทรสาร ……....…….……..

Email:  / websites ………………………………………………….………………………………………………………………...

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ (ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าองค์กร)

ชื่อ-นามสกุล  …….……………………………….……………………… ตำแหน่ง  …………………………….....……………

เลขที่ประจำตัวประชาชน 13 หลัก   o oooo ooooo oo o

ที่อยู่  .........………………………………………………………...………………………….………………..…………...…………

............................................................................จังหวัด .....................................................รหัสไปรษณีย์ ………….………  

โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   …………..……………...…………… โทรสาร …..………...…Email:  …..……………………......

บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบในโครงการนี้ ..........................................................................................................................

รายชื่อผู้ร่วมทำโครงการ  (อย่างน้อย 2 คน)

1. ชื่อ-นามสกุล ……………………………………………….….……….………………………………..…..……………………

เลขที่ประจำตัวประชาชน 13 หลัก    o oooo ooooo oo o

ที่อยู่  .........………………………………………………………...………………………….………………..…………...…………

............................................................................จังหวัด .....................................................รหัสไปรษณีย์ ………….………  

โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   …………..……………...…………… โทรสาร …..………...…Email:  …..……………………......

บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบในโครงการนี้ ..........................................................................................................................

2. ชื่อ-นามสกุล ……………………………………………….….……….……………………………………..……………………

เลขที่ประจำตัวประชาชน 13 หลัก     o oooo ooooo oo o

ที่อยู่  .........………………………………………………………...………………………….………………..…………...…………

............................................................................จังหวัด ....................................................รหัสไปรษณีย์ …………..………  

โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   …………..……………...…………… โทรสาร …..………...…Email:  …..……………………......

บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบในโครงการนี้ ..........................................................................................................................

 

ที่ปรึกษาโครงการ (ถ้ามี) 

  1. ชื่อ ……………………………………………………  ที่อยู่/หน่วยงาน …………………………………..……………………

.……………………………………………….………. โทรศัพท์ ………………….…………...…………………..……...……

  1. ชื่อ ……………………………………………………  ที่อยู่/หน่วยงาน ………………………….………...……….……….…

.…………………………………………………...…..  โทรศัพท์ ………….………………………….…..………….…...……

 

โปรดให้รายชื่อบุคคลที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถอธิบายถึงผลงานของท่านที่ผ่านมา

  1. ชื่อ ……………………………………………………  ที่อยู่/หน่วยงาน …………………………………..……………………

.……………………………………………….………. โทรศัพท์ ………………….…………...…………………..……...……

  1. ชื่อ ……………………………………………………  ที่อยู่/หน่วยงาน ………………………….………...……….……….…

.…………………………………………………...…..  โทรศัพท์ ………….………………………….…..………….…...……

 

ท่านและองค์กรของท่าน จัดอยู่ในประเภทองค์กรใด เลือกเพียง 1 ข้อ

q    องค์กรชาวบ้าน กลุ่มซึ่งมีการรวมตัวเฉพาะกิจ

q    องค์กรศาสนา

q    องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)  / มูลนิธิไม่แสวงกำไร

q    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  องค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ

q         สถาบันการศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยราชการ

q         กลุ่มบุคคล ระบุ จำนวนสมาชิกกลุ่มรวม .............. คน

q         อื่นๆ  ระบุ  …….…………………………………………………………………………………………………………..

 

กลุ่มหรือองค์กรของท่าน เคยมีผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ

q         ไม่เคยมีผลงาน

q         มีผลงาน  โปรดระบุ      ……………………………………………………………………….……………………

           …………………………………………………………………………………………………..………………….. 

           …………………………………………………………………………………………………..………………….. 

           …………………………………………………………………………………………………..…………………..

           …………………………………………………………………………………………………..……&he

หมายเลขบันทึก: 320049เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ที่นำข้อมูลที่น่าสนใจมาเผยแพร่


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท