วิจารณ์เรื่อง ภิกษุณี


อย่าเอาเรื่องสิทธิเสรีภาพเข้ามาเกี่ยวมันคนละเรื่องจะทำให้ผู้ฟังเขว ถ้าพูดเรื่องนี้จะมีคนเข้าใจว่าพระในเมืองไทยใจแคบไม่ใช่น้อย(ถ้าเป็นจริงก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่จริงใครนะที่จะหาญกล้าออกมารับผิด) บุญ-บาปนั้นจะตกอยู่กับใคร

อาตมาภาพ ขอวิจารณ์เรื่องของภิกษุณีสักหน่อยท่านผู้รู้คงไม่ว่ากระไรเพราะนี่เป็นแค่คำวิจารณ์ เป็นความคิดของพระรูปหนึ่งที่อยากจะแสดงความคิดเห็น มุมมองของพระบ้านนอกตามประสา.

สืบเนื่องจากช่วงนี้ได้อ่านข่าวสารจากที่ต่างๆสื่อถึงเรื่องนี้ เราต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าเรื่องนี้ได้เป็นปัณหามาช้านานสำหรับวงการภิกษุณีสายเถรวาทหรือนิกายใต้ อย่างพม่า มอญ เขมร อีกหลายประเทศแม้แต่ในประเทศไทยของเรา.

ทำไมถึงมีปัณหาเฉพาะฝ่ายเถรวาทละท่านผู้รู้เคยคิดบ้างไหม?

ดูเหมือนว่าจะเกี่ยวพันถึงเรื่องสิทธิ-เสรีภาพที่เท่าเทียมกันของชายและหญิงด้วยใช่หรือไม่?

ที่เกิดปัณหาทุ่มเถียงกันไม่ตกฟากก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของชาย-หญิงที่แต่ละฝ่ายก็มีความเห็นว่าอีกฝ่ายน่าจะเป็นอย่างนั้นๆใช่หรือไม่?

อย่างที่ผมบอกไปๆมาๆเลยแยกแยะไม่ออกเกี่ยว-พันไปจนถึงเรื่องของประชาธิปไตยด้วย.....

ถามว่าคำว่าประชาธิปไตย-สิทธิเสรีภาพ ใครหรือที่บัญญัติ เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ เป็นไม้บรรทัดวัดว่า แค่ไหนเรียกว่าประชาธิปไตย แค่ไหนเรียกว่าสิทธิเสรี หรือไม่?จริงๆแล้วนี่ ผมเห็นด้วยกับการที่ท่านผู้หญิงมีความดำริจะบวชนะ

ท่านที่เป็นภิกษุณี-หญิงเป็นอีกข้างหนึ่ง เป็นภิกษุ-ชายอยู่อีกข้างหนึ่งหรือ ใครสอนให้คิดอย่างนี้? พุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนี้นี่ฯ

ที่กล่าวว่าเห็นด้วยกับการที่ผู้หญิงจะได้บวชเป็นพระได้เพราะว่าพุทธเจ้าท่านก็อนุญาตไว้แล้วตามธรรมวินัย

แต่ที่ไม่เห็นด้วยคือ การบวชแล้วอยากจะอยู่เป็นภิกษุณีในนิกายเถรวาทในเมืองไทย หรือการเรียกร้องให้คณะสงฆ์ยอมรับตนเอง ทั้งที่เธอก็ไม่ได้บวชในคณะสงฆ์นั้น หรือคณะนั้นก็ไม่ได้ขอร้องให้เธอบวช

อธิบายว่าการบวชกับสงฆ์คณะไหนก็ควรที่จะสังกัดในนิกายนั้นหรือนิกายนั้นจะยอมรับเอง ถ้าตามที่อ่านมาว่าส่วนมากบวชจากลังกามา แล้วมาเรียกร้องให้คณะสงฆ์ในเมืองไทยยอมรับดูมันไม่สมเหตุผล

อย่าว่าแต่บวชนอกเมืองเลย แม้พระที่บวชในเมืองไทยล้วนๆยังต้องแบ่งเป็นนิกาย ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมกัน

ถ้าจะบอกว่าก็พระในเมืองไทยไม่ให้บวชจึงต้องไปบวชในลังกา ก็ให้คิดเสียใหม่ว่า...ไม่ใช่ว่าไม่บวชให้ แต่มันบวชให้ถูกต้องตามธรรมวินัยไม่ได้ เพราะภิกษุณีได้สูญวงศ์ไปแล้ว ถ้าจะให้ถูกต้องตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว ท่านจะต้องบวชในสงฆ์ฝ่ายภิกษุณีด้วย

อธิบายอีกหน่อยว่า ที่เห็นเป็นภิกษุณีตามประเทศต่างๆนั้นส่วนมากเป็นมหายาน หรือถ้าเป็นเถรวาทจริงก็เป็นเถรวาทใหม่ นิกายใหม่ ดัดแปลงแก้ไขใหม่ ภิกษุณีที่เป็นเถรวาทของแท้นั้นสืบ-ค้นหาไม่เจอ

เป็นอันว่าเมื่อไม่มีภิกษุณีเถรวาทแท้แล้วก็ไม่ครบตามธรรม-วินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ในพิธีการให้การอุปสมบทเป็นภิกษุณี แล้วจะให้พระสงฆ์ท่านบวชให้โดยวิธีไหน

อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวว่าการบัญญัติ-ถอนพระธรรม-วินัยเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้าครับ เถรวาทถึงมีมติในคราวทำปฐมสังคายนาว่าจะคงไว้ดังเดิม เพราะใครเผลอไปบัญญัติเพิ่มหรือถอนออก คงได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่แน่นอน

เอาละเมื่อท่านจะถอนก็ได้เพราะพระพุทธเจ้าอนุญาตไว้เหมือนกัน แต่ใครละที่จะมีปัญญาเทียบเท่าพระพุทธเจ้า?

ถ้าเป็นมหายานเขาไม่มีปัณหาเขาจะแก้จะถอนหรือบัญญัติเพิ่มก็เป็นสิทธิ์ของนิกายอื่นไม่พักต้องพูดถึง

แต่สิ่งหนึ่งที่จะบอกให้รู้ก็คือท่านบวชได้แน่นอนตามคติมหายาน ต้องขอย้ำว่าไม่ใช่เถรวาทในเมืองไทย เมื่อเป็นดังนั้นถามว่าท่านที่บวชเป็นภิกษุณีอยากฟื้นฟูการเป็นพระภิกษุณีแบบเถรวาทแท้ใช่หรือไม่? ถ้าท่านต้องการของแท้แต่กลับนำของเทียมขึ้นมาจะสมประสงค์หรือไม่เล่า

อีกอย่างท่านอยากเป็นพระในคณะสงฆ์ของไทยแต่กลับนำของนอกมาปน แล้วกลับบอกว่านี่เป็นของดี ถามว่าท่านนับถือศาสนาพุทธแบบไหน (เถรวาทหรือมหายาน)มหายานแก้ไขได้ เถรวาทไว้คงเดิม งงนะครับว่า...

ท่านอยากฟื้นฟูเถรวาทในเมืองไทยแต่กลับนำคติมหายานมาผสม ผลที่ได้จะออกมาเป็นอย่างไร แน่นอนว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นเป็นการดี แต่เมื่อผสมแบบนี้ผมว่ามันก็เป็นนิกายใหม่เท่านั้นเอง เป็นนิกายใหม่ที่เกิดขึ้นในสายของเถรวาท

สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องเข้าใจว่าท่านทำอะไร จากอะไร เพื่ออะไร ?

สรูปความเห็นไว้ดังนี้....

เห็นด้วยกับการฟื้นฟูการบวชเป็นภิกษุณี เพราะเป็นเรื่องที่ดีช่วยกันเผยแผ่ ให้โอกาสผู้หญิงในการเข้าถึงคำสอนทางกายด้วย ทางใจด้วย เมื่อบวชแล้วมีขึ้นมาแล้วก็เป็นสิ่งที่พวกเราต้องใส่ใจ เข้าใจ เข้าถึง

แต่ในที่นี้ท่านที่เป็นภิกษุณีควรเข้าใจด้วยว่า ท่านเป็นภิกษุณีแน่นอน แต่ไม่ใช่เถรวาทของไทย(อาจจะเป็นเถรวาทแบบใหม่ก็ว่ากันตามสมควร) และการที่ท่านกล่าวว่า(ถ้าจริง)พระในเมืองไทย((ชาย)กีดกันไม่อยากให้บวชนั้น ควรเข้าใจใหม่ว่าไม่ใช่ว่ากีดกันไม่บวชให้ แต่เป็นเพราะว่าบวชให้ท่านถูกต้องตามธรรมวินัยที่พวกเราเคารพอยู่ไม่ได้ เพราะขาดองค์ประกอบ(ภิกษุณีสงฆ์) แม้ว่าเสี่ยงบวชให้ท่านก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุณีในนิกายเราอยู่ดี

อย่าเอาเรื่องสิทธิเสรีภาพเข้ามาเกี่ยวมันคนละเรื่องจะทำให้ผู้ฟังเขว ถ้าพูดเรื่องนี้จะมีคนเข้าใจว่าพระในเมืองไทยใจแคบไม่ใช่น้อย(ถ้าเป็นจริงก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่จริงใครนะที่จะหาญกล้าออกมารับผิด) บุญ-บาปนั้นจะตกอยู่กับใคร

อีกอย่างการอ้างเรื่องสิทธิ์เสรีภาพนี่มันเป็นการอ้างของคนที่คิดไม่ถึง คิดไม่ถึงที่ว่ามันเป็นไปไม่ได้ตามความเป็นจริง ยกตัวอย่างให้ดูสักเล็กน้อย เช่นถ้าจะให้เท่าเทียมกันเหมือนที่ป่าวร้องนั้น จะมิเกณฑ์ให้ชายมาอุ้มท้องแทนหญิงรึ ? หรือให้หญิงมาเป็นพ่อ ให้ชายมาเป็นแม่แบบนั้นหรือเปล่าคิดดูสิว่าเป็นได้ไหม ในข้อที่ว่าจะให้เท่าเทียมกันอย่าหลงประเด็นคนที่เขายกมาเขาอยากให้ทะเลาะกันดอก เพื่อจะได้โอกาสช่องว่างเพื่อแทรกแซง

เรามาคิดช่วยกันว่าเมื่อเป็นภิกษุณีแบบนี้แล้วทำอย่างไรถึงจะให้อยู่ได้ในสังคม ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม อยู่ได้ในขอบเขตกฎหมาย มีอะไรเป็นเกณฑ์เป็นมาตรฐาน เหมือนพระที่อยู่ได้ในประเทศดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในขอบเขตของพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ดีแล้ว

รู้สึกว่าเคยเห็นว่า ถ้าเราเป็นชาวพุทธจริง ต้องยอมรับนับถือคำสอนคือพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ดีแล้ว ถ้าเราไม่ยอมรับก็ป่วยการที่จะป่าวประกาศว่าเราเป็นชาวพุทธ

ความเห็นที่แสดงออกมาทางสื่อนั้นอาจเห็นต่างได้ แต่ต้องไม่แตกแยก และเมื่อเห็นต่างกันแล้ว สิ่งที่จะเอามาตัดสินว่าถูกต้องที่สุดของเราชาวพุทธก็คือพระธรรมวินัย ปัณหาใดๆก็แล้วแต่ต้องจบลงที่พระธรรมวินัยครับ ท่านสาธุชน

ถ้าหากว่าแม้มาถึงธรรมวินัยแล้วยังไม่ยอมจบ ยังดิ้นอยู่เรื่อยไปก็ป่วยการ ป่วยการ ป่วยการ

คำสำคัญ (Tags): #ภิกษุณี
หมายเลขบันทึก: 319883เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2009 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เขียนมาให้วิจารณ์นะครับ เชิญท่านสาธุชนได้กล่าวสักเล็กน้อยตามอัชฌาสัย บอกไว้ก่อนนะครับว่าให้วิจารณ์ในขอบเขตธรรมวินัย เถรวาทครับ ให้วิจารณ์ไม่ได้ให้ทะเลาะนี่ประการสำคัญ เพราะการทะเลาะไม่เป็นคุณกับผู้ใด เจริญพร ขอบุญคือปัญญาจงปรากฏดั่งเม็ดฝนที่ตกต้องลงพื้นปฐพี ยังสัพสัตว์ให้ชุ่มช่ำ ชื่นหัวใจในยามหนาวฯฯฯฯฯ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

อันที่จริงก็ไม่ติดใจเรื่องนิกาย

นิกายเถรวาทพุทธบริษัทไม่ครบสี่มาตั้งนานแล้วรับรู้กันทุกประเทศในสายเถรวาท

ถ้ามหายานบวชได้เราก็เป็นภิกษุณีมหายานอย่างสมบูรณ์

ขอสนับสนุนให้อุบาสิกาให้มาช่วยกันทำงานพระศาสนา

เพราะโดยปรกติสุภาพสตรีเป็นกำลังสำคัญที่อุปถัมภก์สถาบันสงฆ์อย่างใหญ่หลวงตลอดมา

มาช่วยกันเป็นแนวหน้าประกาศพระศาสนาบ้างก็จะดีอย่างยิ่ง

ผู้ที่สำเร็จ....พระอรหันต์..บางทีก็เป็นภิกษุ..บางทีก็เป็นภิกษุณี..บางทียังเป็น..ฆราวาส..ก็..บรรลุได้...ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็น..บริษัทใด.......เหตุใด...มนุษย์จึงยึดติดกับรูปแบบ......กันแท้....ห่มเหลือง...ห่มขาว.....ห่มใด...นุ่งใด.....สนใจแสวง....โลกุตรธรรมเถิด....สาธุชนทั้งหลาย

ขออนุโมทนาสำหรับความเห็นของทุกๆท่าน ขอย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ไม่จำเป็นต้องมาเอาเป็นมาตรฐาน ที่เขียนออกมาเพียงเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เห็นอีกความเห็นหนึ่งที่เป็นพระ สำหรับเป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาเท่านั้นครับ เจริญสุข

นมัสการพระคุณเจ้า

มาส่งความปรารถนาดีในโอกาสใกล้ปีใหม่เจ้าค่ะ

และขอแจมเรื่องนี้ด้วยบันทึก ปัญหาการบวชภิกษุณีในนิกายเถรวาท อันคัดลอกมาจากหนังสือของ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ

โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันเห็นว่าคณะสงฆ์ไทยควรยอมรับสถานะ การดำรงอยู่ของภิกษุณี (ซึ่งอาจไม่ใช่ในนิกายเถรวาทก็ได้) ไม่ใช่ไม่ยอมรับภิกษุณีเลยไม่ว่าในสถานะใด จนเป็นเหตุให้ภิกษุณีมีสถานะเป็นเพียงอุบาสิกา และเป็นปัญหาอย่างทุกวันนี้เจ้าค่ะ 

  • ความจริงแล้วอาตมาก็เห็นด้วยกับการที่ผู้หญิงได้บวชเป็นภิกษุณีนะ เพราะอย่างไรเสียพุทธเจ้าท่านก็ได้อนุญาตไว้เรียบร้อย แต่การบวชนั้นต้องเป็นตามธรรมวินัย(ของนิกายนั้นๆ) แต่ในนิกายเถรวาทนั้นองค์ประกอบของการบวชภิกษุณีไม่ครบตามที่บัญญัติและไม่สามารถหามาทดแทนให้ถูกต้องได้ เพราะการบัญญัติองค์ประกอบนั้นพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง ทีนี้การบัญญัติใหม่(ถอน-เพิ่ม)เพื่อให้องค์ประกอบครบตามกำหนดนั้นไม่สามารถทำได้ตามมติของพระเถระ(ตอนสังคายนา)เพราะฉะนั้นจึงเรียกนิกายเราว่า"เถรวาท" ไม่เป็นไรเรื่องของการบรรลุธรรมนั้นไม่เกี่ยวกับนิกายอยู่แล้ว เมื่อท่านบวชแล้วก็นับได้ว่าเป็นภิกษุณี แต่ต้องให้ชัดเจนว่าท่านบวชกับนิกายไหน เพราะเกี่ยวกับเรื่องการปกครอง(กฏหมายของคณะสงฆ์)ด้วย
  • เรื่องนี้เป็นปัณหามานานถ้าท่านทั้งหลายศึกษาไปเรื่อยๆจะเข้าใจได้ ความชับช้อนของปัณหามีมากค่อยคุยกันด้วยเหตุผลโดยเอาพระธรรมวินัยที่พุทธเจ้าบัญญัติไว้เป็นบรรทัด ปัณหาก็สามารถหมดไปได้
  • แต่ที่อาตมาเขียนนั้นเป็นการวิจารณ์ส่วนตัวอาจจะใช้คำรุนแรงไปบ้างก็ต้องขออภัยเพราะโรคร้ายต้องใช้ยาแรงบ้าง หวังว่าท่านทั้งหลายคงอ่านเอาเหตุผลมากกว่า อ่านเอาพวกพ้องฯฯฯ
  • ขอบคุณ คุณณัฐที่มาให้ความเห็นไว้ด้วย ที่จริงอาตมาติดตามงานเขียนของท่านประจำนะ เจริญพร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท