ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

เกณฑ์การประกวดแต่งกลอน


กลุ่มสาระวิชาภาษาไทย

9. การประกวดแต่งกลอน

                9.1 คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

9.1.1 นักเรียนระดับชั้น ม.1-3

9.1.2 นักเรียนระดับชั้น ม.4-6

                9.2 ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

9.2.1  แข่งขันประเภทเดี่ยว  

                                9.2.2  จำนวนผู้เข้าแข่งขันแต่

                                                1)  ระดับชั้น ม.1-3  จำนวน  1  คน 

                                                2)  ระดับชั้น ม.4-6  จำนวน  1  คน

                9.3 วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

                                9.3.1 หัวข้อที่จะใช้ในการแข่งขันให้กรรมการกำหนดจำนวน 3 หัวข้อ

9.3.2 ก่อนการแข่งขันให้นักเรียนจับฉลากเลือกหัวข้อที่ใช้แต่งคำกลอนแล้วนำไปแต่งกลอน

สุภาพ (กลอนแปด)

9.3.3 ระดับชั้น ม.1-3  แต่งจำนวน 2 บท

9.3.4 ระดับชั้น ม.4-6 แต่งจำนวน 4 บท

9.3.5 ใช้เวลาในการแต่งกลอน 30 นาที

                                9.3.6 กรรมการตรวจบทกลอนตามเกณฑ์

                9.4  เกณฑ์การให้คะแนน  100  คะแนน 

9.4.1  บทกลอนที่ผิดฉันทลักษณ์สำคัญๆ ต่อไปนี้ กรรมการจะไม่นำไปตรวจให้คะแนน

1) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค

         2) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท

3)  เสียงท้ายวรรคผิด (ท้ายวรรคที่หนึ่งใช้ได้ทุกเสียง ท้ายวรรคที่สองห้ามใช้เสียงสามัญ

เสียงตรี ท้ายวรรคที่สามและท้ายวรรคที่สี่   ใช้เฉพาะเสียงสามัญและเสียงตรีเท่านั้น)

4) ใช้สระเสียงสั้น สัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)

5) เขียนไม่ครบตามที่กำหนด

9.4.2 บทกลอนที่ไม่ผิดฉันทลักษณ์สำคัญ กรรมการจะนำไปตรวจให้คะแนนโดยมีหลักเกณฑ์

การให้คะแนนดังนี้

         1) ฉันทลักษณ์และอักขรวิธี (20 คะแนน)

                -  เขียนตัวสะกดการันต์ผิด หักคะแนน คำละ 2 คะแนน

                -  มีสัมผัสซ้ำ หักคะแนนตำแหน่งละ 5 คะแนน

                -  มีสัมผัสเลือน หักคะแนนตำแหน่งละ 5 คะแนน

 

                                  2)  ความคิดและเนื้อหา (40 คะแนน)

                พิจารณาหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้

                -  ตรงประเด็น หมายความว่า นักเรียนจะต้องใช้หัวข้อที่กำหนดให้เป็นแกนเรื่อง

-  เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า เนื้อหาที่นักเรียนเสนอนั้นให้แง่คิดที่เป็น

ประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น แง่คิดในการดำรงชีวิต การเข้าใจสังคม การปฏิบัติตนให้เป้นประโยชน์ต่อสังคม

- เสนอแนวคิดที่แปลกใหม่ หมายถึง แนวความคิดที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง เป็น

แนวความคิดที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตของหัวข้อ

                               3) กวีโวหาร (40 คะแนน)

                                                พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

                                                -  มีสัมผัสราบรื่น อ่านแล้วเกิดความไพเราะ

-  การใช้โวหารต่างๆ ส่งเสริมเนื้อหาให้มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น การกล่าว

เปรียบเทียบ และใช้บุคลาธิษฐาน เป็นต้น    

- การเล่นตัวอักษร เล่นคำ ที่ช่วยให้คำประพันธ์มีความไพเราะยิ่งขึ้น

9.5 เกณฑ์การตัดสิน

                                                ร้อยละ   80 – 100               ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

                                                ร้อยละ   70 – 79                  ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

                                                ร้อยละ   60 – 69                  ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง
                                ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร  เว้นแต่กรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น

                9.6  คณะกรรมการการแข่งขัน  ระดับชั้นละ  3 – 5 คน

                คุณสมบัติของคณะกรรมการ

               -  เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

                -  เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

               -  ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านภาษาไทย

                ข้อควรคำนึง 

                -  กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

                -  กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

                -  กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย

                -  กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

                สถานที่ทำการแข่งขัน

                                ควรใช้ห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้  ที่สามารถดำเนินการแข่งขันพร้อมกัน

หมายเหตุ  ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ

 

9.7 การเข้าแข่งขันระดับชาติ

9.7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด  ลำดับที่ 1-3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ

9.7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 คน ให้พิจารณาลำดับที่ตาม   ลำดับข้อของเกณฑ์การให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ผู้ใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก

ข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณา 

               ควรต่อยอดโดยการจัดค่ายพัฒนาทักษะการแต่งกลอน

คำสำคัญ (Tags): #เอกลักษณ์ไทย
หมายเลขบันทึก: 319559เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ครูอ้อย มาอ่านเกณฑ์ที่ดี และจะนำไปเป็นตัวอย่าง นะคะ
  • รักษาสุขภาพนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • ขอบคุณมากๆครับ พี่อ้อย ที่เคารพรัก
  • ที่แวะมาเยี่ยม ทักทายน้องชาย
  • รักษาสุขภาพทั้งใจกายเช่นกันนะครับพี่

ประกวดในงานอะไรหรอครับ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท