การจัดการความรู้ในหน่วยงานของสถาบัน


โครงการตามดมตามชม

โครงการตามดมตามชม 1.

รายงานผลการใช้โปรแกรมบริหารจัดการด้านเครื่องมือ

ดิฉันได้รับรายงานผลของการใช้โปรแกรมนี้จาก คุณสมชาย   ภูมิสถิตย์ หัวหน้างานเครื่องมือแพทย์  ซึ่งนำโปรแกรมนี้มาจากกองวิศวกรรมกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  คือ การซ่อมออนไลน์  การติดตามตรวจสอบ ค้นหา ใช้ข้อมูลไปบริหาร ทำแผนโดยมีนโยบายที่จะนำไปใช้ในงานซ่อมบำรุงทั่วไป มีแผนที่จะพัฒนาโปรแกรมและให้หน่วยงานต่างๆตรวจผลการสอบเทียบเครื่องมือได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ในระยะต่อไป รายละเอียดอ่านได้จากรายงานค่ะ โครงการตามดมและชมขอปรบมือให้ค่ะ

ตามที่งานเครื่องมือแพทย์ได้นำโปรแกรมบริหารจัดการด้านเครื่องมือ (RMC-2005) จากกองวิศวกรรมการแพทย์  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  มาใช้และติดตั้งใช้งานแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 และเปิดให้หน่วยงานต่างๆที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้งานก่อน  โดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันฯ ปัจจุบันโปรแกรมใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยมีผู้ Login เข้ามาแล้วจำนวน 1,349 ครั้ง, มีการแจ้งซ่อมออนไลน์ จำนวน 164 Job

ประโยชน์ที่ได้รับจากโปรแกรม
     1. การแจ้งซ่อมออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ  ส่งซ่อมได้ตลอด  24  ชั่วโมง  ทั้งการแจ้งซ่อมด่วน  ไม่ด่วนและการแจ้งซ่อมเชิงรุก
     2. การติดตามงาน  สามารถติดตามความคืบหน้าในการซ่อมของช่าง ระยะเวลาในการซ่อม  กำหนดแล้วเสร็จ  โดยเปิดดูจากโปรแกรม
     3. การตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมเพื่อเก็บเป็นต้นทุนของหน่วยงาน
     4. ค้นตรวจสอบครุภัณฑ์ 
     5. ตรวจสอบประวัติการซ่อมครุภัณฑ์
     6. ตรวจสอบรายการเครื่องมือพิเศษ  สำรอง  รวมศูนย์
     7. ตรวจสอบระดับความเสี่ยงของเครื่องมือ
     8. ตรวจสอบรายการเครื่องมือที่ต้องสอบเทียบและบำรุงรักษาพร้อมแผนการสอบเทียบและบำรุงรักษาเครื่องมือ
     9. ตรวจสอบบัญชีรายชื่อเครื่องมือ
   10. ตรวจสอบสถิติหน่วยงานแจ้งซ่อม
   11. ตรวจสอบสภาวะงาน งานค้าง งานรออะไหล่  งานแล้วเสร็จ
   12. การนำข้อมูลไปใช้ในเชิงบริหาร เช่น การขาดเกินของเครื่องมือแต่ละหน่วยงาน
การสิ้นเปลืองของเครื่องมือ การทำแผนการจัดซื้อ   ฯลฯ
    

นอกจากนี้งานเครื่องมือแพทย์ได้นำโปรแกรม  Calibration (โปรแกรมสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ ) และโปรแกรม  Train_medical ( โปรแกรมบันทึกประวัติบุคลากรและประวัติการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ )  จากกองวิศวกรรมการแพทย์ฯ  มาพัฒนาเพื่อใช้งาน  โดยโปรแกรม  Calibration  อยู่ระหว่างพัฒนาปรับปรุง  ส่วนโปรแกรม  Train_medical  ได้พัฒนาปรับปรุงเสร็จแล้วปัจจุบันติดตั้งใช้งานที่งานเครื่องมือแพทย์และงานภูมิคุ้มกันไวรัสวิทยาและได้ประกาศทาง  Intranet  ของสถาบันฯ  เพื่อให้หน่วยงานที่ต้องการได้ใช้ต่อไป

ทั้งนี้จากการตรวจรับรอง  HA  ที่ผ่านมาโปรแกรมบริหารจัดการด้านเครื่องมือ  ได้รับการยอมรับจากคณะผู้ตรวจเยี่ยม  ทำให้งานเครื่องมือแพทย์ซึ่งรับผิดชอบในบทที่  6  ผ่าน  HA  และได้รับคำแนะนำจากคณะผู้ตรวจเยี่ยมให้นำข้อมูลจากโปรแกรมมาใช้ในเชิงบริหารจัดการต่อไป
           
ขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไป
     1. นำโปรแกรมไปใช้กับงานซ่อมบำรุงทั่วไป   ซึ่งงานเครื่องมือแพทย์ได้จัดทำโปรแกรมไว้เรียบร้อยแล้วทั้งฐานข้อมูลครุภัณฑ์ทั้งหมดของสถาบันฯและแบบฟอร์มต่างๆ  ยังขาดเพียงไม่มีสายสัญญาณเครือข่ายไปที่งานซ่อมบำรุง
     2. พัฒนาโปรแกรมเป็น  SQL  และ เว็บบอร์ด ต่อไป
     3. นำโปรแกรม Calibration  ออนไลน์ร่วมกับโปรแกรมบิหารจัดการเครื่องมือ  เพื่อให้หน่วยงานต่างๆตรวจสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน

รายงานโดย คุณสมชาย   ภูมิสถิตย์ 
 

โครงการตามดมตามชม  2

การจัดการองค์ความรู้ในกลุ่มงานแนะแนว
ดิฉันได้ตามไปถ่ายรูปกลุ่มงานแนะแนวเพื่อเสนอให้สคส. และได้สอบถามคุณเปี่ยมสุขถึงกิจกรรมต่างๆ ส่วนที่เสนอในส่วนนี้มาจากรายงานที่คุณเปี่ยมเสนอมาให้ดิฉันทราบค่ะ

หน่วยงานทำอะไรบ้าง
     1. Case Conference
     2. รายงานการประชุม นำความรู้ที่ได้จากการประชุมมาถ่ายทอดให้เจ้าหน้าที่ ในกลุ่มงานได้รับทราบ
     3. CQI  เรื่อง CMF ( Counseling  Material  and  Follow  up )  ต่อการติดตามการใช้ถุงยางอนามัยในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
     4. วิจัย  เรื่อง  ผลของของการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยเสพ
เฮโรอินที่ติดเชื้อเอดส์  ในสถาบันบำราศนราดูร
     5. ส่งผ่านองค์ความรู้ทาง weblog  (MCSWCOP  ลปรร. การให้ความช่วยเหลือด้านจิตสังคม)
     6. จัดทำคู่มือการปรึกษาเพื่อป้องกันการ รับ/แพร่ เชื้อเอชไอวี Risk reduction

การสร้างระบบองค์ความรู้มาจากไหน
     1. จากการอบรมทั้งภายนอก ภายในองค์กร
     2.  เอกสารต่างๆ , Internet
     3.  จากประสบการณ์จากการทำงาน

เก็บองค์ความรู้ไว้ที่ไหน
     1. แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล
     2. สมุดรายงานการประชุม
     3. รายงานประจำเดือน
     4. เก็บไว้ในแฟ้มเก็บงาน
     5. เก็บใน web blog

ถ่ายทอดอย่างไร
     1. โดยวิธีการบอกเล่าในทีม
     2. การบันทึกเพื่อให้ผู้สนใจได้เปิดอ่าน
     3. การนำเสนอในที่ประชุม/บรรยายให้ผู้สนใจ

ให้ใครรู้บ้าง
     เจ้าหน้าที่ที่สนใจ และทีมงานในองค์กร

กิจกรรม Webblog ของกลุ่มงานแนะแนวฯ ชื่อ  MCSWCOP  นามแฝง  Twenty Angle 

ความหมายของชื่อ   MCSWCOP  ย่อมาจาก  Medical Counseling and Social Welfare Community of Practician มีสมาชิกของกลุ่มงานทั้งหมด 20 คน โดยมีหัวหน้ากลุ่มงานฯ คือคุณเปี่ยมสุข  พรหมายน เป็นคุณเอื้อ

(1.) วัตถุประสงค์ของการสร้าง Blog   ฝึกทักษะการเขียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวความคิดของคนทำงานในด้านการให้ความช่วยเหลือทางจิตสังคม

ข้อตกลง   ในการเปิด Blog ตอนแรก : เพื่อฝึกทักษะการเขียน , เป็นไปตามความสมัครใจ – เป็นธรรมชาติ – ไม่บังคับ , แจ้งข่าวสารกิจกรรมภายในกลุ่มงาน และส่งเสริมให้ข้อคิดและกำลังใจในการทำงานซึ่งกันและกัน

เริ่มเปิด Blog  เมื่อ  28  มีนาคม  2549
จำนวนเรื่องที่ได้ตีพิมพ์มีทั้งหมด  23  เรื่อง  จากที่เขียนไว้  25  เรื่อง

สรุปการแบ่งกลุ่มเนื้อหา  ได้เป็น  6  ประเภท คือ
     1.  ลปรร. เกี่ยวกับเทคนิคในการให้คำปรึกษาในผู้ติดเชื้อ HIV 5 เรื่อง
     2.  ลปรร. เกี่ยวกับ ประสบการณ์ในการทำงานโครงการร่วมกับ TUC 5 เรื่อง
     3.  ลปรร. เกี่ยวกับข้อคิดในการทำงานในทีม การให้กำลังใจในการทำงาน 4 เรื่อง
     4.  ลปรร. เกี่ยวกับ ข้อคิดทางธรรมะ/อนุรักษ์ธรรมชาติ  2 เรื่อง
     5.  แจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมความเคลื่อนไหวภายในกลุ่มงาน 4 เรื่อง
     6.  ลปรร.เกี่ยวกับสถานการ์ปัจจุบัน/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ 3 เรื่อง

(2.) แหล่งที่มาของความรู้: ข้อมูลที่เขียนใน Blog ปัจจุบันจะเป็นข้อมูลที่ได้จาก การประชุมทีมงาน,จากการปฏิบัติงาน หรือประสบการณ์ส่วนบุคคล มีบางเรื่องได้นำมาจากการการไปฟังเทศน์-การอ่านหนังสือ,การพูดคุยกับบุคคลภายนอกกลุ่มงาน เมื่อพบข้อคิดเห็นดีดีๆ/น่าสนใจ ก็นำมาเขียนถ่ายทอดออกมาให้เพื่อนในกลุ่มได้รับรู้


(3.) การจัดเก็บข้อมูลความรู้:  เขียนบันทึกเป็นแฟ้มข้อมูลอยู่ในBlogของกลุ่มงานฯ สมาชิกทุกคนสามารถเป็นทั้งคุณกิจและคุณลิขิต โดยในการเขียน Blog ได้มีการกำหนด password ไว้ ซึ่งสมาชิกของทีมจะรู้ password ของ Blog และใครที่มีเรื่องที่จะเขียน/เล่าประสบการณ์ ก็จะเข้าไปสู่ระบบ (มีการพิมพ์คำแนะนำในการใช้ Blog การเขียนบันทึก อยู่ในสำนักงาน ซึ่งสมาชิกสามารถนำข้อมูลจากใบคำแนะนำมาใช้ปฏิบัติได้)


(4.)  การเข้าถึงแหล่งข้อมูล :  ผู้สนใจที่จะอ่านบันทึก หรือ ร่วม ลปรร. กับทางกลุ่มงานฯ สามารถทำได้โดย การใช้ Internet  เข้าไปที่  : www.gotoknow.org/MCSWCOP

(5.)  อนาคตหรือทิศทาง :  การเขียนเชิงวิชาการหรือเนื้อหาสาระที่จะนำไปใช้อ้างอิงต่อไป โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับ HIV/AIDS Csg. ยังเป็นสิ่งที่สมาชิกกำลังฝึกหัดและปฏิบัติอยู่ โดยจากการทำโครงการภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ TUC  ของกลุ่มงานแนะแนวฯ เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้รับการฝึกฝนทักษะการเขียน มีประสบการณ์จัดทำ การทำ Clinical Supervision ร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากรมสุขภาพจิต (TUC ปี 48)

อาจจะต้องมีการสรรหา ผู้ดูแลเนื้อหาใน Blog เพื่อให้เกิดประโยชน์และง่ายต่อการค้นหาข้อมูล

รายงานโดย คุณเปี่ยมสุข  พรหมายน

 

โครงการตามดมตามชม 3

การจัดการองค์ความรู้ในห้องสมุดสถาบันบำราศนราดูร
แผนวิชาการและรวบรวมแหล่งความรู้

งานห้องสมุดในขณะนี้มีหน้าที่ในการค้นคว้าหาแหล่ง Journal ให้กับบุคลากรของสถาบันบำราศนราดูร  โดยที่ทางห้องสมุดได้ดำเนินการในการติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเชื่อมต่อในการขอใช้ Electronic Journal กับทางมหาวิทยาลัย  ซึ่งในขณะนี้ทางห้องสมุดได้ดำเนินการในการให้บริการกับบุคลากรของทางสถาบันบำราศนราดูร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แผนงานในปีต่อไป(2549) ทางห้องสมุดจะทำการรวบรวมงานวิชาการที่เกิดขึ้นใน สถาบันบำราศนราดูรทั้งหมด ซึ่งหมายรวมถึง งานวิจัย งานบรรยายวิชาการ  (ทั้งบุคคลภายนอกสถาบันฯ และบุคคลภายในสถาบันฯ) งาน journal club ของทีมแพทย์ เพื่อที่จะได้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลของบุคลากรทั้งในและนอกสถาบันบำราศนราดูร
          1. งานวิจัย  ห้องสมุดจะประสานงานกับทางศูนย์วิจัย เพื่อขอข้อมูล Abstract และ Full Text ย้อนหลังประมาณ 5 ปี เพื่อสามารถที่จะให้ผู้ใช้บริการมาค้นคว้าข้อมูลได้
          2. งานบรรยาย ห้องสมุดจะประสานงานกับทางศูนย์ฝึกอบรม เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการสรุปรายงานการบรรยาย ย้อนหลังเท่าที่หาได้
          3. Journal Club ห้องสมุดจะประสานงานกับเลขานุการแพทย์ เพื่อขอ Hand Out ที่ทางแพทย์ได้ทำการสรุปรายงานเอาไว้ ย้อนหลังเท่าที่หาได้

ทั้งนี้ทางห้องสมุดจะขอนำงานทั้งหมดมาเก็บรวบรวมเอาไว้ที่ห้องสมุด เพื่อที่ห้องสมุดจะได้เป็นแหล่งในการเก็บรวบรวมผลงานของบุคลากรไว้ สำหรับเพื่อให้ผู้ใช้บริการมาสืบค้นหาข้อมูลได้จากห้องสมุดอย่างครบวงจร และเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Management) ให้กับบุคลากรของสถาบันบำราศนราดูรต่อไป 

นอกจาก งานวิจัย  งานบรรยาย  และ Jornal Club ที่ห้องสมุดจะทำการรวบรวมไว้เพื่อเป็นแหล่งความรู้ครบวงจรที่ให้ผู้มาใช้บริการสืบค้นข้อมูลแล้ว ห้องสมุดยังได้ทำการจัดเก็บ และรวบรวม ตำรา เอกสารวิชาการ  วารสาร ไว้ให้บริการด้วย โดยแบ่งประเภทดังนี้

การจัดเก็บ
     ตำราวิชาการ ทางห้องสมุดได้ทำการจัดเก็บตามหมวดหมู่ตามหลักวิชาทางบรรณารักษ์ โดยจัดแบ่งเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล
     งานวิจัย ทางห้องสมุดได้จัดเก็บงานวิจัยแยกเป็นส่วนของงานวิจัยออกมา จากตำราวิชาการและจัดทำดัชนีงานวิจัยเพื่อใช้ในการค้นหา
     เอกสารวิชาการ  ทางห้องสมุดก็ได้แยกเก็บออกมาเป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน และได้จัดแบ่งตามโรค เพื่อสะดวกในการค้นคว้า
     วารสาร ทางห้องสมุดได้จัดเก็บวารสารโดยแยกเป็นวารสารภาษาไทย และวารสารต่างประเทศ ตามชื่อวารสาร

การเผยแพร่
     เมื่อทางห้องสมุดได้รับตำราวิชาการ หรือหนังสือใหม่ๆ และงานวิจัยต่างๆ เข้ามาในห้องสมุดเพื่อไว้สำหรับให้บริการ  ในการเผยแพร่นั้นทางห้องสมุดจะนำขึ้น website ของสถาบันบำราศนราดูร เพื่อบุคลากรจะได้รับทราบว่าในขณะนี้ ทางห้องสมุดได้มีหนังสือ หรือตำราใหม่ๆ เข้าไว้เพื่อให้บริการแล้ว

วิธีการใช้
     ตำราวิชาการ
  ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นหาตำราวิชาการได้ โดยดูจากที่ทางห้องสมุดได้จัดแบ่งหมวดหมู่ต่างๆ ตามที่ทางห้องสมุดแจ้งไว้ เช่น เรื่องโรคติดต่อ จะอยู่ในหมวด  WC  เป็นต้น 
     งานวิจัย     ผู้ใช้สามารถดูได้จากดัชนี ว่าในขณะนี้ทางห้องสมุดได้มีงานวิจัยในเรื่องใดบ้างตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการหรือไม่
     เอกสารวิชาการ   ผู้ใช้สามารถดูได้จากที่ห้องสมุดแบ่งไว้เป็นหมวดตามชื่อโรค  
     วารสาร   ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาวารสารได้ตามที่ห้องสมุดได้จัดเก็บไว้ตามชั้นให้แล้ว  ทั้งวารสารภาษาไทย และวารสารต่างประเทศ   ส่วนวารสารต่างประเทศในปี 2006 นั้นทางห้องสมุดไม่ได้ทำการบอกรับไว้ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งให้บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้ทำการค้นหาได้จากการเชื่อมต่อกับทางมหาวิทยาลัยมหิดล  ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานโดย นางสาววิภาวี  ธรรมจำรัส/นางรุ่งอรุณ  สุวรรณประทีป

                          

หมายเลขบันทึก: 31920เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วได้แนวทางเพื่อ KM ด้าน KAของตัวเอง ขอบคุณผอ. อัจฉรา ,Twenty Angle และ น้องห้องสมุดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท