ประสบการณ์ KM จังหวัดกำแพงเพชร


สิ่งสำคัญของ KM คือ ต้องมีการปฏิบัติ (Action) และปรับไปเรื่อยๆ เกลียวความรู้ก็จะหมุนไป

         เมื่อวันที่ 22 พค.49  ในเวทีสัมมนาสรุปบทเรียน KM ครึ่งปีแรกของกรมส่งเสริมการเกษตร  ที่จังหวัดกำแพงเพชร คุณสายัณห์ ปิกวงศ์ และคุณวีรยุทธ สมป่าสัก ได้ขึ้นเวทีเล่าประสบการณ์การจัดการความรู้ของจังหวัดกำแพงเพชร  พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้  

                                

         คุณสายัณห์ ปิกวงศ์  คุณอำนวยในระดับจังหวัด  เกริ่นนำด้วยคำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชรว่า 

          "กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก" 

           และตามด้วยการแนะนำทีมงาน KM ของจังหวัดกำแพงเพชรที่เข้าร่วมเวทีสัมมนาในครั้งนี้  จำนวน 4 ท่าน  ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิคการให้ขวัญกำลังใจแก่ทีมงานที่ดีมาก และคิดว่าเป็นเทคนิคของคุณอำนวยที่ทุกจังหวัดน่าจะนำไปใช้เป็นอย่างยิ่งค่ะ  ต่อจากนั้น คุณสายัณห์ได้เล่าถึงการจัดการความรู้ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า 

  • ณ เวลานี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ต้องร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อสร้างสรรค์งานส่งเสริมการเกษตร 
  • การจัดการความรู้ของจังหวัดกำแพงเพชร  มีทุนเดิมมาตั้งแต่ ปลายปี 2542  มีการปรับแนวคิดเจ้าหน้าที่ โดยเริ่มแรกมีผู้บริหารที่มองการจัดการภาครัฐแนวใหม่  คิดว่านักส่งเสริมการเกษตรจะอยู่ในสังคมอย่างไรให้สง่างาม  ท่านไพรัช หวังดี เกษตรจังหวัด ได้นำกระบวนการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาสู่จังหวัดกำแพงเพชร  มีการสร้างทีมงาน ลง Action ในพื้นที่  มีการคุยกันก่อน  ทำแล้วนำมาเขียน ใช้วิธีปรับแนวคิด Hilight อยู่ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี  ในสำนักงานเกษตรจังหวัด 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม ร่วมกันวิเคราะห์ศูนย์ฯ มีบทบาทภารกิจอะไรบ้าง  แล้วหาทีมงาน แต่ละกลุ่ม ฝ่าย มีการทะลายกำแพง  ไม่ใช่งานข้าใครอย่าแตะ  แต่มองเป้าหมายงานเป็นตัวตั้ง ภายใต้งานของศูนย์บริการฯ กลุ่มข้าว ผัก ไม้ผล ตั้งเป้าหมายกลุ่มว่าอย่างไร  แล้วลง Focus ในพื้นที่  หน้างานอยู่ที่พื้นที่ มองทีมงานสำนักงานเกษตรอำเภอ เลขาศูนย์ฯ เกษตรกร กลุ่มอาชีพ  
  • จุดเริ่มต้น จากตัวเรา มองรอบข้าง  มีคุณอำนวยคู่  เกิดทีมงานอัตโนมัติ 
  • กำหนดเป้าหมายงาน องค์กร  ระบบส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดและวัฒนธรรมของ สนง.เกษตรจังหวัดกำแพงเพชรเริ่มเปลี่ยนแปลง  เดิมมองว่างานส่งเสริมการเกษตร เหมือนงานบริหารโครงการ  ณ วันนี้ มองเป็นระบบ  เจ้าหน้าที่ถูกละลาย มองเข้าสู่ระบบ  เมื่อมี Topdown ลงมา  จะมีการสร้างฐานแบบ Bottom up จากฐานกลุ่มอาชีพ  มีการคิดเชิงระบบ เกิดทีมงาน  เกิดแนวคิด
  • ในช่วง ปี 42-46   LO (Learning Organization) เกิดขึ้น  เกิดทีมงาน มีบรรยากาศการทำงาน Action ลงพื้นที่  องค์ความรู้เกิดขึ้น  Attiude ตามมา 
  • ปี 48 ได้มารับฟัง KM ที่โรงแรมมารวยการ์เด้น  ได้นำไปใช้ในกรณีศึกษา กลุ่มข้าว ผัก ไม้ผล และมีพืชใหม่ ส้มเขียวหวาน  คิดว่าทำอย่างไรจะเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ใช้หลัก Research เข้ามาวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่าง เกษตรกร นักส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการจังหวัด ลงไปเรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่  เกิดการเรียนรู้ สรุปผลการปฎิบัติงานเรียนรู้เรื่องส้ม นับว่าเป็นเป็นจุดเปลี่ยน 
  • เมื่อเดือนธันวาคม 48 ได้ไปร่วมงานมหกรรมจัดการความรู้ ที่ โรงแรมมิราเคิล ได้นำเสนอ Case เรื่องส้ม ได้พบปะ พี่น้องเครือข่ายจัดการความรู้ ได้พบปะคุณประยงค์ , รพ.บ้านตาก  ได้เรียนรู้ และย้อนดูตัวเอง ทำให้เกิดพลังแนวคิดในการพัฒนาระบบงานส่งเสริมในพื้นที่  
  • ณ วันนี้  ในระบบการจัดการความรู้  มีการพัฒนาบุคลากร สร้างเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ ทั้งทีมงานจังหวัด ทีมงานอำเภอ เลขาศูนย์ฯ  เข้าใจเรียนรู้ เข้าสู่ระบบงาน
  • ปี 48  ได้มีการสอนนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่  มีการสอนงานให้ทฤษฎี ลง Action ในพื้นที่ ใช้คนเก่าที่มีประสบการณ์เล่าให้ฟัง  พัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่  จำนวน 8 คน และยกระดับคนเก่าและฝึกคนใหม่ไปด้วย จำนวน 26 คน
  • มีการบริหารจัดการความรู้ เนียนไปในเนื้องาน  ระบบส่งเสริมการเกษตร  มีเวที DW ทุกเดือน หา Best Practice  กลุ่มอาชีพ  สร้างคุณกิจตัวจริงที่เกษตรกร  มีการจดบันทึก เป็นเอกสาร ใน Website  และ Blog              

        ต่อจากนั้น  คุณวีรยุทธ สมป่าสัก คุณอำนวยคู่ของคุณสายัณห์  เล่าต่อว่า

  • คุณสายัณห์ได้เล่าความหลังไปแล้ว ที่นี้มาดูปัจจุบันและอนาคต 
  • มีการทบทวนการทำงาน พยายามปรับปรุง เรียนรู้ไป ปรับไป ไม่ใช่ดีที่สุด  เป้าหมาย (ธง) ของเราคือ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ไม่ใช่ทำเพราะถูกสั่ง เราคิดวิเคราะห์ โลกเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยน  ใช้หมด KM, LO นำมาประยุกต์ใช้  
  • เป้าหมาย (ธง) คือ พัฒนานักส่งเสริมการเกษตรให้เป็นนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ  โดยแบ่งนักส่งเสริมการเกษตรเป็น 5 ระดับ คือ

         1. มือใหม่     เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่บรรจุใหม่  ทำตามสั่ง ส่วนใหญ่ยังไม่มีประสบการณ์ เป็นช่วงการเรียนรู้ในพื้นที่

         2. มีทักษะประสบการณ์   เป็นนักส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านระดับหนึ่งมาแล้ว ประมาณ 3-5 ปี ส่วนใหญ่จะสามารถทำงานกับชุมชนและเกษตรกรได้ดี  แต่กระบวนการทำงานหากยังไม่ได้รับการสนับสนุนการฝึกปฎิบัติที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะทำตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้

         3. ระดับพัฒนา  มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานจากระดับ 1-2  จากแนวคิดการถ่ายทอดความรู้ มาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถดำเนินการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร มีขีดความสามารถในการเป็นคุณอำนวย/วิทยากรกระบวนการ  การบันทึก สังเกต และปรับกระบวนการได้อย่างเหมาะสม

         4. ยกระดับฝีมือ  มีการวิจัยและพัฒนางาน  มีการพัฒนาและยกระดับฝีมือ โดยสามารถวิจัยในงานประจำ ไปพร้อมๆกัน

         5. ระดับมืออาชีพ   นักส่งเสริม คือ คุณอำนวยของการจัดการความรู้ เป็นนักจัดการความรู้เพื่อชุมชน สังคม  มีขีดความสามารถในบทบาทนักส่งเสริมการเกษตรที่สามารถเป็นนักจัดการความรู้เพื่อชุมชน สังคมเกษตรกรได้   มีเครื่องมืออะไรหยิบฉวยไปใช้ได้ทุกเวลา สามารถทำงานส่งเสริมแบบไร้รูปแบบ หรือได้ทุกรูปแบบ เรียกว่า "กระบี่อยู่ที่ใจ"

  • ทุกสิ่งทุกอย่างที่เล่า อยู่ใน Blog ทั้งหมด  100 กว่าเรื่อง
  • การจัดการความรู้ มีมิติที่กว้าง  กระบวนการวิจัย อยู่ข้างในของการสร้างความรู้ 
  • การมองการเรียนรู้ ความรู้มีหลายส่วน ในตัวคน ทำแล้วสามารถมีความรู้ในทีม เราต้องเอาความรู้ให้อยู่ในตัวองค์กร การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ต้องค่อยๆปรับ
  • ตัวการจัดการความรู้คือ เครื่องมือ  เป้าหมายคือ การพัฒนางาน เนียนอยู่ในเนื้องาน  ตัวอย่างเช่น ตำบล ก. ทำได้ดี  ตำบล ข.ทำอย่างไร มาแลกเปลี่ยนกัน การทำงานจะสนุก
  • การจัดการความรู้ต้องอยู่ในทุกมิติของการทำงานทุกจังหวัดต้องทำได้ทุกอย่าง เป็นคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ  ต้องรู้ว่างานที่ทำ ต้องใช้ความรู้อะไร  เรียนรู้พัฒนาตนเอง  สร้างทีมงาน สร้างระบบงานในองค์กร ปรับวิธีการทำงานในพื้นที่  จากการถ่ายทอดความรู้ มาเป็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  และมีการบันทึก 

              สุดท้ายคุณวีรยุทธ ได้สรุปว่าสิ่งสำคัญของ  KM คือ ต้องมีการปฏิบัติ (Action)  และปรับไปเรื่อยๆ   ถ้าคนเปิดแนวคิดแล้ว การทำงานจะสบาย  และไม่ทำเฉพาะสิ่งที่ให้ทำ  เราทำได้เยอะ ให้อ่านจาก Blog  และต้องเร่งทำ ทำไปปรับไปเรื่อยๆ  เกลียวความรู้ก็จะหมุนไป....... 

 

หมายเลขบันทึก: 31852เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

     ขอบพระคุณคุณนันทามากนะครับ ละเอียดมากเลย ขอปรับจำนวนนิดหน่อยครับ วันนั้นผมอาจนำเสนอผิดไป

  • เราฝึกมือใหม่ จำนวน 8 คน (ระดับที่ 1) และ
  • เรายกระดับคนเก่าและฝึกคนใหม่ไปด้วย (วิจัย PAR พืชปลอดภัย) จำนวน 26 คนครับ (ระดับที่ 4 )
ขอบคุณคุณวีรยุทธมากค่ะ ที่ช่วยแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลให้ถูกต้อง ได้แก้ไขให้แล้วค่ะ...

ดีครับ..สำหรับการที่ นพบ. ส่วนกลางได้ช่วยสรุปงานที่ นพบ. ของภูมิภาคได้พยายามทำหน้าที่และให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร บางครั้งคนที่มีความตั้งใจทำงานตามความมุ่งมั่นและทุ่มเทกับงานในหน้าที่ของคนภูมิภาค ก็ไม่ได้ต้องการที่ได้รับการตอบแทนในตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือการได้ 2 ขั้น แต่เขาอาจจะมีความสุขมากกว่า ถ้าได้รับการยอมรับและสนใจว่า "งานที่ได้พยายามคิด  พยายามทดลองทำ  และพยายามที่ให้ผู้รู้คนอื่นช่วยเสริมเพิ่มเติม...เป็นประโยชน์ต่อกรมส่งเสริมการเกษตร"  ฉะนั้น เป็นไปได้ไหมว่า "คนส่วนกลางที่ทราบหรือรู้ว่า....สิ่งที่เขาได้ทำไว้นั้นมีประโยชน์และช่วยเผยแพร่แก่คนของกรมฯ ที่ยังมีความตั้งใจในการทำงานแต่ยังขาดข้อมูลหรือประสพการณ์"  ก็จะเป็นประโยชน์ต่อกรมฯ และเป็นกำลังใจให้แก่คนทำงาน....ทำต่อนะครับ  และผมก็จะพยายามจัดเวลาเพื่อการนำเสนอประสพการณ์บางส่วนมาเพื่อการแลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไปครับ.

       ไพรัช  หวังดี

  • ขอบพระคุณ ท่านเกษตรจังหว้ดไพรัช เป็นอย่างสูงค่ะ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน และขอบคุณในสิ่งที่ท่านได้สร้างต้นทุนไว้ให้ ซึ่งเป็นรากฐานของการจัดการความรู้ไว้ที่ จ.กำแพงเพชร เป็นทุนเดิมที่ทำให้บุคลากรของจังหวัดกำแพงเพชรหลายๆท่าน สามารถต่อยอดให้การดำเนินการจัดการความรู้ของจังหวัดในปัจจุบัน สามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท