Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (5)


Creative KPI

ต่อเรื่องการออกแบบ KPI ให้เป็ KPI ที่มาช่วยสร้างสรร องค์กรโดยใช้ Appreciative Inquiry ผมเสนอให้ลองสังเกตจุดเปลี่ยนของการทำงานที่ดีขึ้นว่า ทำอย่างนี้ไปสักกี่ครั้งแล้วจะดีขึ้นไปอีกขั้น ยกตัวอย่างครับในเครือข่ายของเรา เราฝึกคนให้ทำ AI ให้เป็น ผมเจอข้อสังเกตดังนี้ครับ

1. ขั้นแรกต้องทำ Appreciative Interview สักประมาณ 30 ครั้ง (Discovery) ผู้ทำจะเริ่มเจอโอกาสเองว่าอยาก Dream, Design และ Destiny อะไร เพราะฉะนั้นเราสามารถกำหนด KPI  (แบบ Performance Driver) ได้เป็น ถาม 30 ครั้ง จะมีโอกาสเกิด Outcome คือ คนที่มีทักษะการทำ AI ระดับ Beginner 1 คน เพราะฉะนั้นหากเราอยากสร้าง Beginner 1 รายสิ่งที่องค์กรต้องพยายามทำคือ สรร้างสรรสิ่งแวดล้อม และโอกาสให้เขาถามให้ได้ 30 คนครับ

2. จากนั้นถ้าจะยกระดับเป็นผู้มีทักษะระดับกลางคือระดับ Immediate จะเป็นกกล่มที่มักนำการค้นพบมาขยายผลอย่างน้อย 5 Discovery (Perfomance Driver) สิ่งที่องค์กรจะค้องทำคือถ้าต้องกรได้คนระดับ Immediate 1 คนสิ่งที่ต้องทำคือหาโอกาส สร้างโอกาสให้คนระดับ Beginner 1 คนทดลองขยายผล Discovery 5 กิจกรรมครับ

3. ถ้าต้องการได้คนะดับ Advance สิ่งที่ผมสังเกตมาคือคนที่สามารถพัฒนาโครงการ Appreciative Inquiry ให้เป็นระดับนโยบายของหน่วยงานขององค์กร เฃ่นเอามาเป็นกระบวนการหลักในการขับเคลื่อน HA หรือ ระบบบริหารขององค์กร ดังเช่นกรณีโรงพยาบาลพล ที่บูรณาการ AI เข้าเป็น Performance Driver สำหรับกับโครงการปรกติของโรงพยาบล สี่งที่จะทำให้เกิดการบูรณาการแบบนี้ ผู้เป็นผู้บริหารองค์กร หรือผู้สนับสนุน AI ต้องให้เวลาในการ Coach อย่างใกล้ชิด เหมือนเปิดเป็น Express Lane ให้เลย ดังนั้น Performance Driver ที่แท้จริงคือ ก็คือนโยบายดีๆ การสนับสนุนแบบตัวต่อตัว ให้เกิดการบูรณาการระดับ Policy จนได้ ภาษา AI เราเรียกว่าการพัฒนา Positive Change Network (Performance Driver จึงเท่ากับ การพัฒนา Positive Change Network 1 network)

สิ่งที่ผมอยากบอกอย่างเดียวเวลาวางแผนกลยุทธ์คือ "อย่ากำหนด KPI ประเภท Outcome ที่ตั้งเป้าอย่างเดียว ไม่สนใจกระบวนการ คุณไปทำอะไรมาก็ได้" ผมแนะว่าอันนี้ไม่เคยเห็นว่า work ครับ คนจะเซ็งเพราะเขาไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ทำเท่าใด เมื่อไร ไม่เกิดการเรียนรู้อะไรหรอกครับ"

อ.โย

www.aithailand.org

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 318427เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2009 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาทักทายอาจารย์โย คนโคราชด้วยกันก่อนค่ะ

สวัสดีครับคุณครูแป้ม

ดีใจที่ได้เจอคนโคราชครับ

สวัสดีครับ อ.โย

วันหยุด บันทึกของอาจารย์ไม่หยุดตามเลยนะครับ

ชอบคำแนะนำในบันทึก "Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (5)" นี้

จะพยายามนำไปประยุกต์ใช้ครับ

ประเมินตัวเองตามแนวของอาจารย์แล้ว ขั้นBeginner ยังไม่ผ่านเลยครับ

ขอบคุณครับ

อารมณ์ประมาณ How-to เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท