“การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง”


ทีมงาน Clinical Tracer คัดเลือกผู้ป่วยเข้ากลุ่มได้ 20 คน นัดรวม 6 ครั้ง หลังเข้าร่วมโครงการผู้ให้บริการมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน สามารถดูแลและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาตรฐานวิชาชีพได้

ติดไว้ตั้งแต่วันที่เล่าเรื่องการจัดงาน “มหกรรม CQI ปี 2552 รพ.สูงเนิน “ผลงานด้านคลินิกอันดับ 1 คือเรื่อง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ทีมงาน Clinical Tracer COPD ได้เลือกผู้ป่วยเพื่อมาจัดกิจกรรมให้ความรู้เสริมทักษะแก่ผู้ป่วย-ญาติ โดยเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรค, การหยุด-หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง(สูบบุหรี่), ฝึกทักษะการใช้ยาชนิดพ่นสูด, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยการฝึกออกกำลังกายด้วยวิธีเฉพาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ

กิจกรรมการพัฒนา

กิจกรรมที่ 1 ซักประวัติ, ค้นหาปัจจัยเสี่ยง, ประเมินระดับความรุนแรงของโรค, ประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก

(CSES : The COPD self–Efficacy Scale=ที่ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถควบคุมอาการหายใจลำบากได้ในสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้แบบวัดการรับรู้สมรรถนะตนเอง)

 

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ (โรค, การหยุด-หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง, ฝึกทักษะการใช้ยาพ่น, ฝึกออกกำลังกาย)

กิจกรรมที่ 3 ตรวจร่างกายและวินิจฉัยโดยแพทย์

กิจกรรมที่ 4 ประเมินความทนทานในการออกกำลังกาย (Exercise  tolerance=ความสามารถในการเดินบนพื้นราบ 6 นาที เรียก 6 MWT =วัดระยะทางทั้งหมดที่ผู้ป่วยเดินได้ในเวลา 6 นาที)

จากนั้นวัดอาการหายใจลำบากทันที (DVAS=Dyspnea Visual Scale=ภาวะที่บุคคลรู้สึกว่าหายใจไม่สะดวก หายใจไม่ทัน)

 

กิจกรรมที่ 5 ฝึกออกกำลังกายด้วยวิธีเฉพาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ โดยทำนวตกรรมใหม่   

กิจกรรมที่ 6 นัดหมายผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมครั้งต่อไปทุก 1 เดือน 3 ครั้ง, ทุก 2 เดือนครบ 6 ครั้งพร้อมกับประเมินผลโครงการทุก 3 เดือน     

                          

ผลการพัฒนา

- อัตราการ Admit จาก 25 เป็น 10% 

- อัตราการ Re-admit ก่อนและหลัง 0%

- อัตราการ Re-visit จาก 30 เป็น 0%

- ความทนทานในการออกกำลัง/ทำกิจวัตรประจำวันจาก 71.9 เป็น 93.1%

- ความสามารถในการควบคุมอาการหายใจลำบากเพิ่มขึ้นจาก 17.1 เป็น 96%

- ความสามารถในการดูแลตนเองเมื่อหอบเหนื่อยจาก 29.1 เป็น 84.7%

- เลิกบุหรี่ได้ 75%

หลังเข้าร่วมโครงการ

ผู้ให้บริการมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยเป็นแนวทางเดียวกัน 

สามารถดูแลส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ

ในการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยพึงพอใจ

 

 

หมายเลขบันทึก: 318223เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับคุณ ระพี CQI ชุดนี้ต้องนำไปแลกเปลี่ยนกับทีมงานแล้วน่ะครับ โดยเฉพาะผลที่เกิดขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการ

ผู้ให้บริการมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยเป็นแนวทางเดียวกัน

สามารถดูแลส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ

ในการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยพึงพอใจ"

ขอบคุณที่นำมาให้เรียนรู้ครับ

เห็นด้วยค่ะคุณ "วอญ่า-ท่านผู้เฒ่า"

เพราะผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยรู้วิธีการหายใจเพื่อลดการตีบแฟบของถุงลม

คุณลุงคนนึง ขณะร่วมกลุ่มทำกิจกรรมเกิดอาการหอบ ทีมงานจะรีบพาไปตรวจและพ่นยา แต่คุณลุงบอกว่า "เดี๋ยวครับคุณหมอ ลุงขอเวลาแป๊บ.."

และทีมงานก็ได้เห็น คุณลุงนั่งลง..หายใจเข้าลึกๆช้าๆ..ค่อยๆเป่าลมหายใจออกโดยทำปากจู๋ เป่าลมช้าๆเพื่อเพิ่มแรงดันในถุงลมปอด ไม่ให้แฟบเร็ว..และแล้วอาการหอบของคุณลุงก็ลดลง

เห็นแล้วรู้สึกอย่างไรคะ...สำหรับทีมงานปิติอย่างบอกไม่ถูก(เวอร์ไปไหมคะ)

สวัสดีค่ะ

วันหลังจะลองไปดูว่าที่ทำงาน ป้าแดง เขาทำกันอย่างไรบ้างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายและชมกิจกรรมดี ๆ ค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

(^___^)

"ป้าแดง"สวัสดีค่ะ

โครงการนี้เราเพิ่งเริ่มค่ะ จากผลลัพธ์ที่ได้..ดีมาก..

ต่อไปเราจะทำในผู้ป่วยทุกราย(หวังไว้)ค่ะ

รักษาสุขภาพเช่นกันค่ะคุณ"คนไม่มีราก"

เขียนบันทึกแล้วมีคนแวะเข้ามาอ่าน ถือเป็นกำลังใจในการทำงาน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาชื่นชมกับทีมงานด้วยค่ะ

คุ้มค่ากับการทำงานเหนื่อย พักผ่อนบ้างนะค่ะ

คุณ"เพชรน้อย"สวัสดีค่ะ

มาตามสัญญาที่ให้ไว้ไงคะ..

กำลังจะขอจัดตั้งวันคลินิก COPD, Asthma เหมือนที่รพ.โนนไทย

เห็นด้วยค่ะคุณ"มนัญญา"

ผลงานออกมาดี ทำให้ทีมงานมีความสุข

หลังจากเหนื่อยมานาน

ขอแลกเปลี่ยนด้วยคนค่ะ

ปัญหาของผุ้ป่วย COPD ก็คือ ไม่สามารถหายใจออกได้นาน(คือหายใจออกสั้น) เพราะถุงลมสูญเสียความยืดหยุ่นและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจออกอ่อนแรง ทำให้ CO2 คั่งอยู่ในปอด เกิดภาวะ hypoxia จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยฝึกหายใจแบบ purselip โดยอาจใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ให้ผู้ป่วยหายใจออกช้าๆ ให้ลมหายใจออกไปทำให้กังหันพลาสติกที่เด็กๆนำมาเป่าเล่นกัน หมุนให้ต่อเนื่องให้นานที่สุด โดยให้ผู้ป่วยนับในใจว่าหายใจออกได้กี่วินาที ทำประมาณ 5-10 รอบ แล้วหายใจปกติ เมื่อผู้ป่วยทำไปเรื่อยๆ เวลาก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าผู้ป่วยสามารถเอาอากาศออกจากปอดได้มาก O2 ก็จะเข้าไปได้ดีขึ้น

สวัสดีค่ะ สุขสันต์วันพ่อค่ะ ไปเที่ยวไหนรึปล่าวค่ะ น้องไปจุดเทียนชัยถวายพระพรมาค่ะ  พาเด็กๆไปรำด้วย สบายดีน่ะค่ะ

แวะมาเรียนรู้การดูแลผู้ป่วย COPD ค่ะ

Acss5s

ขอบคุณค่ะคุณ "PT"ที่แวะเข้ามาแลกเปลี่ยน

การทำ purse lip ช่วยได้มากแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำไม่เป็น

ต้องโทษตัวเราเอง..ที่ไม่ได้สอนผู้ป่วย

ทำงานกับเด็กๆน่าสนุกนะคะคุณ"ครูบันเทิง"

พี่ระพีก็ไปถวายพระพรเหมือนกัน เสร็จแล้วก็ออกเดินทางไปเที่ยวปาย สนุกค่ะ

ตอนนี้ก็ยังไม่ถึงบ้านเลย อยู่ลำปาง

ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านบันทึกนะคะ

เมนูนี้..น่ากินจังค่ะ"คุณเกด"

แต่คงต้องหลายชุดหน่อยนะคะ

น้องระพีคะ

พี่จะPrintไปให้น้องที่ทำเรื่อง COPD อ่านนะคะ จะได้เป็นแรงบันดาลใจทำงานต่อ คนไข้ COPD ของเราเยอะมาก และไม่ยอมหยุดบุหรี่

ยินดีค่ะ "พี่ nui"

ผู้ป่วย COPD เป็นโรคเรื้อรัง ถ้าเราช่วยให้เค้าอยู่กับโรคที่เป็นได้อย่างมีความสุข จะช่วยลดงานของรพ.เองนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท