ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ขอเชิญร่วมส่งบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในงาน ประชุมระดับนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาติ วันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ ขอเชิญเสนอบทความทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อหลัก (Main Theme) “การฟื้นตัวจากวิกฤติโลกตามทัศนะของชาวพุทธ” (Global Recovery: The Buddhist Perspective) ซึ่งจะสนับสนุนการศึกษาวิจัยรอบด้าน และยินดีรับข้อเสนอจากนักวิชาการทั่วไปที่เกี่ยวกับหัวข้อย่อย (Sub-Theme)

       คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ ขอเชิญเสนอบทความทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อหลัก (Main Theme) “การฟื้นตัวจากวิกฤติโลกตามทัศนะของชาวพุทธ” (Global Recovery: The Buddhist Perspective) ซึ่งจะสนับสนุนการศึกษาวิจัยรอบด้าน และยินดีรับข้อเสนอจากนักวิชาการทั่วไปที่เกี่ยวกับหัวข้อย่อย (Sub-Theme) ดังต่อไปนี้: 
      ๑. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการพัฒนาทางจิต  (Global Recovery through Mental Well-being)
      ๒. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการศึกษาเชิงพุทธ  (Global Recovery through Harmonious Co-existence)
      ๓. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Global Recovery through Harmonious Co-existence)
      ๔. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยนิเวศวิทยาเชิงพุทธ  (Global Recovery through Buddhist Ecology)
      ๕. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Global Recovery through Engaged Buddhism)
      คณะ กรรมการการบรรณาธิการจะเป็นผู้คัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือวิชาการ ระดับนานาชาติ ควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่อันจะนำไป สู่การตีความและประยุกต์ใช้สอดรับสังคมโลกในสภาวการณ์ปัจจุบัน
  กำหนดการดังนี้  
      ๑ ธ.ค. ๕๒ - ๕ ก.พ. ๕๓   รับหัวข้อ บทคัดย่อ และประวัติย่อของผู้เขียนบทความ
      ๑๕ ก.พ. ๕๓  แจ้งเตือนเกี่ยวกับการยืนยัน การปฏิเสธรับข้อเสนอ
      ๑๕   มี.ค.  ๕๓  วันปิดรับบทความฉบับสมบูรณ
      ๒๖ - ๒๘   มี.ค.  ๕๓  นำเสนอในงาน “มหาจุฬาวิชาการ”
      ๑ เม.ย. ๕๓   แจ้งให้ผู้เขียนบทความได้ทราบผลการพิจารณา 
      ผู้ เขียนควรเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ แต่ในกรณีที่ผู้เขียนไม่สามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  ให้เขียนบทความเป็นภาษาไทย หากผลงานใดได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ  คณะทำงานจะดำเนินการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนำลงตีพิมพ์ในวารสารของการจัดการ วันวิสาขบูชาโลก
      บทความทั้งหมดจะถูกคัดเลือกโดยขึ้นอยู่กับคุณภาพ และความสอดคล้องกับหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยของการประชุมงานวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓  บทความทุกหัวข้อจะต้องผ่านการตรวจ ปรับปรุง หรือว่าอาจถูกปฏิเสธโดยขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ บทความที่ถูกปฏิเสธอาจมีการสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติม ความยาวของบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร “Angsana New” ไม่ควรเกิน ๑๕ หน้ากระดาษ A ๔  ขนาดของตัวอักษรไม่เกิน ๑๖ พ้อยท์ สำหรับภาษาอังกฤษต้องใช้  “Times EXT Roman” (คำศัพท์ที่เป็นบาลี และสันสกฤต ควรมีสัญลักษณ์บอก) ขนาดตัวหนังสือไม่เกิน ๑๒ พ้อยท์ โดยในบทความต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนควรแนบบทคัดย่อความยาวประมาณ 500 คำมาด้วยเพื่อนำลงเผยแพร่ในเวปไซต์
      รายละเอียดเพิ่มเติม:  นักวิชาการ ๑ ท่านสามารถเขียนบทความทางวิชาการได้หลายบทความ บทความทางวิชาการจะมีการตีพิมพ์ในงานประชุมวันวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓  กรุณาส่งบทความทั้งหมดและบทคัดย่อในรูปแบบของ Word ไปที่สมาคม และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: 
      สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ๐๓๕-๒๔๘-๐๙๘  E-mail: [email protected]  E-mail: [email protected]

หมายเลขบันทึก: 318216เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

หัวข้อหลักและหัวข้วย่อยล้วนน่าสนใจทั้งนั้นเลยครับ

แต่มีความรู้น้อยจังด้านวิชาการ

เมื่อวาน (๒๒ มค.๕๓) เป็นวันแรกของการเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของการเขียนบทความทางวิชาการ ซึ่งกระผมได้เลือกอยู่ในกลุ่มที่ ๕ ด้วยแรงบันดาลใจทางสังคม

หัวข้อเรื่องที่ได้คิดและอยากจะเขียนเพื่อตอบโจทย์ทางสังคมคือ

บทความทางวิชาการ

การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม

ชื่อเรื่อง: กิ๊ก: พฤติกรรมการนอกใจในสังคมยุคใหม่

ปัญหา : จากภาวะของความสับสนด้านจริยธรรมโดยเฉพาะในศีลข้อ ๓ (กาเมสุ มิจฉาจาร)

การตีแผ่เรื่องการนอกใจหรือการมีคู่มากกว่าหนึ่งผ่านสื่อ วรรณกรรม บทเพลง (ชู้ทางใจ, แอบรัก,ชู้, ฉันรักผัวเขา, แฟนเก็บ,รักคนมีเจ้าของ ฯลฯ)

คำถาม:

๑) กิ๊กในพระไตรปิฎกและพุทธกาลกล่าวไว้อย่างไร

๒) มีปัจจัยและตัวบ่งชี้อะไรที่แสดงให้เห็นถึงการมีกิ๊ก

๓) ผลกระทบต่อสังคมที่เกิดจากการมีกิ๊ก

a. ทัศนคติของคนในสังคมปัจจุบันที่มีต่อคำว่ากิ๊ก

b. วรรณกรรมที่สะท้อนถึงแนวคิดของการมีกิ๊ก

c. สถิติที่เกี่ยวข้อง

๔) บทสรุปเป็นอย่างไร (พม.ดร.สมบูรณ์ แนะนำให้มี เยี่ยมจริงๆ)

a. วิเคราะห์ให้เข้ากับหลักกาเมสุ มิจฉาจารหรือหลักธรรมอื่นๆ

b. สะท้อนความอ่อนแอของสังคมและวิกฤตการณ์ด้านศีลธรรมของสังคม

c. แนวทางการแก้ปัญหา

จากการสัมมนากลุ่มย่อย คำใหม่ที่พระมหา ดร.สมบูรณ์ได้ แนะนำ คือ คำที่เรียกว่า "วาทะกรรมใหม่" (เอามาจากไหน ลืมถาม ว้นนี้จะถาม) เพื่อใช้คำว่า กิ๊กให้เกิดความรู้สึกหรือทัศนคติที่มีต่อเรื่องการนอกใจว่ามีโทษหรือกรรมเบา เป็นเรื่องธรรมดาของสามัญชน

ประเด็นที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีหลายแง่มุม ทั้งในเชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา นิเวศวิทยา และที่สำคัญด้านสรีระวิทยา เช่น กุณาลชาดก เป็นต้น

กามราคะ ตัณหา อุปาทาน และลักษณะองค์ประกอบภายในหลายอย่างที่ควรวิเคราะห์ในเชิงปัญญาให้เข้าใจชัดว่าอะไรคือสาระที่แท้

การเบี่ยงเบนทางศีลธรรมข้อที่ สาม คือ ให้ยอมรับการมีชู้ ประพฤติผิดในกาม ดูเบาลง และสร้างความเคยชินให้เกิดขึ้นกับคนในปัจจุบัน

แล้วปัญหาที่ได้รับจาก ท่านอุทัย (เฟืองฟันอันคมกริบอีกท่าน) คือ เรื่องนี้ ต้องคำนึงถึง theme หลักคือ งานวิสาขะโลก ทำให้กระผมกลุ่มใจอีกว่า เราเขียนเพื่อให้คนไทย คนต่างชาติ หรือกลุ่มใด เป็นหลัก (กลุ่มใดดีครับพระอาจารย์ เพราะอิสลามมีเมียได้ตั้งหลายคน แบบนั้นเรียกว่ากิ๊กไหม? อันนี้งงเองครับ)

ทำอย่างไรจึงสามารถนำเสนอเรื่อง "กิ๊ก" ให้เป็นสากลได้....คิด คิด คิด

ปัญหาอีกประเด็นในเรื่องนี้คือ การให้น้ำหนักของเรื่องราวและความเป็นวิชาการ ก็อยากขอความอนุเคราะห์คำแนะนำจากพระอาจารย์ว่า ระดับไหน ห้า สี่ สาม สอง หนึ่ง หรือแบบใด

สรุป ที่ตื่นเช้ามาค้นคว้าและเขียนคอมเม้น ก็รู้สึกว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ก็กะว่าจะเป็นแฟนคลับของโครงการนี้ต่อไป ถึงเชียงใหม่ และขอฝากเนื้อฝากตัวกับทีมงานด้วยนะครับ

อีกเรื่องหนึ่งครับ

อยากจะนมัสการเรียนถามว่า มุมมอง หรือ กรอบแนวคิด ในการเขียนบทความทางวิชาการนี้ เราจะวางอย่างไรดีครับ หรือเราจะคิดแบบไหนดี จึงจะเข้าถึงคำว่า theme ของเรื่อง กิ๊ก นี้ได้

กราบขอบพระคุณครับ

กิ๊ก (บางทีจะหมายถึง เดท หรือ คู่เดท เป็นคำเรียกของ ความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างบุคคล (short-term relationship) โดยจะแตกต่างกับคำว่ากับความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เรียกว่า แฟน ที่โดยรวมจะหมายถึงความสัมพันธ์ระยะยาว ความสัมพันธ์ของกิ๊กหลายครั้งที่จะมีการเข้าใจผิดกัน โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีการกล่าวถึง โดยอาจจะมีความเข้าใจผิดระหว่าง ความสัมพันธ์ระยะสั้น หรือความสัมพันธ์ระยะยาว ในปัจจุบัน คำว่ากิ๊ก จะกล่าวถึงพฤติกรรมการหาเพื่อน ของกลุ่มวัยรุ่น โดยต้องการหาเพื่อนคุยหรือเพื่อนเที่ยว โดยใช้คำว่า กิ๊ก แทนคำว่าเพื่อน ซึ่งจะเป็นศัพท์แฟชั่นมากกว่า

เนื้อหา [ซ่อน]

1 ความหมายที่แตกต่างของวัย

2 ที่มาของคำว่ากิ๊ก

3 เหตุผลของการมีกิ๊ก

4 ดูเพิ่ม

[แก้] ความหมายที่แตกต่างของวัย

ความหมายของคำว่ากิ๊ก แตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุ และสังคม มีหลากหลาย ได้แก่

เพื่อนต่างเพศที่มีความสำคัญมากกว่าเพื่อนทั่วไป โดยมีความลึกซึ้งมากกว่า

เพื่อนคุยโทรศัพท์ หรือเพื่อนที่คุยได้ทุกเรื่อง

คำว่ากิ๊กบางทีกล่าวถึง คู่นอน มีใช้ในรายกลุ่มปัจจุบัน กล่าวถึง แต่ในบางกรณีเป็นการยากที่จะยอมรับในสังคมไทย

กิ๊ก มีความหมายเหมือนกับคำว่า ชู้ ในบางสังคม แต่ผู้คนเลี่ยงคำว่า ชู้ จึงไปใช้คำว่า กิ๊ก

เพื่อเลี่ยงการใช้คำที่รุนแรงเกินไปต่อความรู้สึกของคนที่มีกิ๊ก

[แก้] ที่มาของคำว่ากิ๊ก

ที่มาของคำว่ากิ๊ก ไม่มีกล่าวถึงที่แน่นอน โดยอาจจะมาจาก

คำว่า กุ๊กกิ๊ก ที่กล่าวโดยวัยรุ่นที่หมายถึงการออกไปเที่ยว หรือไปใช้เวลาร่วมกัน

คำว่า คลิก (click) ที่เป็นแสลงในภาษาอังกฤษ หมายถึง การเข้ากันได้ของคนสองคน (โดยเปรียบเทียบจากเสียง คลิก ของวัตถุสองสิ่งที่ใส่เข้ากันได้พอดี)

คำว่า กิ๊ก (gig) ที่เป็นแสลงในภาษาอังกฤษ หมายถึง กิจกรรมระยะสั้น (คำเดียวกันนี้ ยังมีความหมายอื่น ๆ อีก เช่น งานแสดงดนตรี)

[แก้] เหตุผลของการมีกิ๊ก

มีความประทับใจกับเพศตรงกันข้าม ซึ่งในขณะนั้นเราอาจต้องการ ใครสักคนเพื่อที่จะทำให้เรามีความสุข พูดคุยกับเรา เที่ยวดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ คลายเครียด เมื่อไม่ต้องการเป็นกิ๊กกันแล้วก็จากไปโดยไม่คิดอะไรมากมาย

บางครั้งแฟนของเราที่คบกันอยู่ในขณะนั้น ยังไม่สามารถเติมเต็มกับความต้องการของเราได้ บางครั้งเกิดการเบื่อแฟน หรือในปัจจุบันวัยรุ่นคิดว่า การที่ใครมีกิ๊กหลาย ๆ คนก็ถือว่าคนนั้นมีความสามารถหรือชอบเรียกกันว่า "เจ๋ง"

การที่จะมีกิ๊กได้ไม่จำเป็นว่าต้องยังไม่มีแฟน หรือว่ามีแฟนแล้ว แต่ว่ากิ๊กนั้นทุกคนสามารถเป็นกิ๊กกันได้ แต่ต้องให้ความสำคัญกับกิ๊กน้อยกว่าแฟน และอีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องควรกระทำก็คือ ถ้าหากแฟนจับได้ว่ามีกิ๊กต้องเลิกทันที

เป็นการสร้างความสัมพันธ์กัน เพื่อเป็นกำลังใจให้กันและกันในกลุ่มของวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว

[แก้] ดูเพิ่ม

วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า:

กิ๊กรักสามเส้า

ความรักบริสุทธิ์

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%8A%E0%B8%81".

หมวดหมู่: ตรวจภาษา | ความรัก | คำสร้างใหม่

คุณสิ้นศึก

  • การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Global Recovery through Engaged Buddhism)
  • นี่คือหัวข้อของ Sub-Theme ที่อาจารย์เอ่ยถึง โดยสงสัยว่า "กิ๊กกับพุทธไปด้วยกันหรือไม่อย่างไร" และ "จะอยู่ใน Sub-Theme นี้หรือไ่ม่?"
  • เรื่องเพศและการประพฤติผิดทางเพศ หรือไม่เหมาะสมด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสมัยปัจจุบันเป็นประเด็นปัญหาก่อใก้เกิดปัญหาแก่สังคมไ่ม่แ้พ้ปัญหาอื่นๆ
  • บิล คลิตตัน, นายกรัฐมนตรีของอิตาลี หรือผู้นำพรรค หรือสส.ของอินเดีย ก็มีประเด็นเรื่อง "กิ๊ก" และได้ทำให้ชีวิตคนเหล่านี้ต้องทุกข์ทรมานกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเอง
  • ถามว่า "นี่เป็นปัญหาที่โลกของเรากำลังประสบไหม" ตอบได้เลย ว่า เป็นปัญหาหนึ่งในทางสังคม ที่พระพุทธศาสนาจะต้องให้หลักว่า "เมือมองในทางพุทธ" เราจะตอบอย่างไร เรามีเกณฑ์อะไร
  • ข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ ผมไม่อยากจะให้นำหลักการของศาสนาอื่นๆ มาอธิบายร่วมในประเด็นนี้ เพราจะที่มาในเรื่องเพศของแต่ละศาสนาจะมีแง่มุมที่แตกต่างกัน ประัวัติศาสตร์ และบริบทต่างกัน หากเลี่ยงได้จะเป็นการดี
  • ด้วยธรรมะ พร และเมตตา

กราบนมัสการขอรับ

ทำแนะนำจากพระอาจารย์ชัดเจนมากครับ

ตอนเช้าช่วงที่เข้ากลุ่มก็ได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจาก อ.สมภาร มุมมองที่กระผมรับฟังและต้องยกนิ้วอีกแหล่ะ

ช่วงบ่ายวันนี้จะสาธกกันต่อ หลายๆ ประเด็น ถ้ามีปัญหาสงสัยอะไรจะขอกราบเรียนถามอีกนะครับ

เพื่อให้เกิดผล...กระผมจะนำประเด็นที่พระอาจารย์แนะนำด้านบนไปสู่การเขียนให้ได้

แล้วจะขอความอนุเคราะห์พระอาจารย์แนะนำต่ออีก

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

ด้วยความเต็มใจครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท