คำถามจากเวทีอบรมไรน้ำนางฟ้า รุ่น 3 (2)


คำถาม-คำตอบวิธีการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
คำถามที่ 5  ไรน้ำนางฟ้าไทยและไรน้ำนางฟ้าสิรินธรพบอยู่ด้วยกันในแหล่งธรรมชาติหรือไม่
คำตอบ  จากการสำรวจไรน้ำนางฟ้าในธรรมชาติพบว่าบางครั้งจะพบไรน้ำนางฟ้าไทยและสิรินธรอยู่ในบ่อเดียวกันโดยขนาดของไรน้ำนางฟ้าไทยจะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน เนื่องจากไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นชนิดที่โตเร็ว โดยโตเร็วกว่าสิรินธรประมาณเท่าตัว แต่โอกาสที่จะพบทั้งไรน้ำนางฟ้าไทยและสิรินธรในบ่อเดียวค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะพบเป็น ไทย หรือสิรินธรแยกกัน เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างที่แตกต่างกัน เช่น บางพื้นที่มีเกลือขึ้นบริเวณขอบบ่อส่วนใหญ่จะพบไรน้ำนางฟ้าสิรินธรเนื่องจากมีความแข็งแรงมากกว่าไรน้ำนางฟ้าไทย
คำถามที่ 6   เมื่อได้ไข่ไรน้ำนางฟ้ามาแล้วควรเก็บอย่างไร เก็บได้นานขนาดไหน
คำตอบ เมื่อเลี้ยงจนได้ไข่ไรน้ำนางฟ้า ท่านต้องแช่ไข่ไรน้ำนางฟ้าในน้ำจากบ่อเลี้ยงหรือภาชนะอื่นๆ ทิ้งไว้ 2-4 สัปดาห์ จากนั้นทำให้แห้ง เมื่อแห้งให้เก็บไข่ในกล่องพลาสติกที่มิดชิด อย่าให้สัมผัสออกซิเจนมาก (ขณะนี้มีนักศึกษาปริญญาเอกกำลังทำการศึกษาวิธีการเก็บไข่ที่ถูกต้อง หากได้คำตอบที่แน่ชัดจะประกาศให้ทราบภายหลัง) และจากการเก็บไข่ไว้นาน 1-3 ปี ก็ยังสามารถฟักได้ตามปกติ ในรายงานของต่างประเทศพบว่าสามารถเก็บได้นานถึง 10 ปี
คำถามที่ 7  หากไม่มีเวลาตากไข่ให้แห้ง การรินน้ำทิ้งแล้วเติมน้ำใหม่ลงไปจะสามารถกระตุ้นการฟักของไรน้ำนางฟ้าได้หรือไม่
คำตอบ สามารถกระตุ้นการฟักได้แต่อัตราการฟักค่อนข้างต่ำ ทางที่ดี ควรแช่น้ำ 2-4 สัปดาห์แล้วตากให้แห้งอัตราการฟักจะสูงมาก
คำถามที่ 8   ถ้าบ่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไม่มีท่อระบาย หรือไม่มีที่กรองไข่ควรทำอย่างไร
คำตอบ กรณีที่ท่านต้องการเก็บไข่ในบ่อที่ไม่มีท่อระบาย ให้ทำการกวนบ่อไปในทิศทางเดียวกันประมาณ 1-2 นาที เพื่อรวมไข่และมูลให้มาตกตะกอนที่กลางบ่อจากนั้นใช้สายยางที่มัดปลายสายด้วยผ้า หรือถุงกรองไข่ (สิรินธรให้ใช้ผ้ากรองที่มีรูขนาด 100 ไมครอน เนื่องจากไข่ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรมีขนาดประมาณ 150 ไมครอน สำหรับไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยให้ใช้ผ้ากรองขนาด 200 ไมครอน เนื่องจากไข่ไทยมีขนาดประมาณ 250 ไมครอน) จากนั้นทำกาลักน้ำจนสามารถดูดเก็บไข่ในบ่อเลี้ยงจนหมดแล้วนำไข่ไปแช่น้ำต่อไป หรือกรณีเก็บไข่ครั้งเดียวควรปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์ตายหมดแล้วจึงทำการเก็บไข่ แต่ต้องนำไข่ไปแช่น้ำทิ้งนาน 2 สัปดาห์ก่อนตากแห้ง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31782เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามอ่านครับผม
  • ขอบคุณครับ

ข้อมูลการเลี้ยงปลาต่างๆที่สมบูรณ์ใหม่ที่http://www.samud.com/pramorsee.asp

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท