ครุพันธุ์ใหม่เรียนสาขาที่ขาดแคลน จบแล้วบรรจุเลย


ครูพันธุ์ใหม่

ดึงครูพันธุ์ใหม่ เรียนสาขาขาด

 
+โพสต์เมื่อวันที่ : 1 ธ.ค. 2552

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานคณะกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า มีแนวโน้มว่าโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 ธ.ค. ซึ่งโครงการนี้เป็นการให้ทุนคนเก่ง ดี มาเรียนครูจำนวน 5 รุ่น ในปีการศึกษา 2554-2558 รวม 30,000 คน เมื่อจบแล้วจะได้รับการบรรจุเข้าเป็นครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู หรือโรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร

รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า ส่วนที่นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มอบหมายให้จัดทำแผนการผลิตครูในระยะ 10 ปีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประมวลข้อมูล โดยพบว่าการผลิตครูของคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ยังไม่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง คณะทำงานชุดนี้จึงจะกำหนดแผนที่ชัดเจนว่าควรผลิตครูในสาขาใด จำนวนเท่าไร และหามาตรการส่งเสริมดึงดูดให้คนมาเรียนในสาขาที่ขาดแคลน

 

ที่มา ข่าวสดรายวัน วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6942 หน้า 30
และจาก  เว็บไซต์ครูบ้านนอก  http://www.kroobannok.com/23831

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 317566เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2009 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ น้องครูพันธ์ใหม่ ดีใจด้วยน่ะค่ะ จบปุ๊บ  บรรจุ ปั๊บ! พี่เป็นครูจ้างมาตั้ง 5 ปี กว่าจะบรรจุ รับจ้างซะเหนื่อย งัยก็ขอแสดงความยินดี ด้วยล่ะกัน..ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

แล้วหลักสูตร 4+1 ไปถึงไหนแล้วคะ

พอจะทราบรายละเอียดบ้างรึป่าว

สามารถสอบถามได้จากที่ไหนบ้างคะ

ขอบคุณค่ะ

สรุปแล้ว ทุนครูพันธุ์ใหม่ จะมีในปี 53 มั้ยค่ะ

ทำไมข้อมูลด้านบนจึงบอกว่า

**** "โครงการนี้เป็นการให้ทุนคนเก่ง ดี มาเรียนครูจำนวน 5 รุ่น ในปีการศึกษา 2554-2558 รวม 30,000 คน" ****

ช่วยบอกทีนะค่ะ อยากเรียนครูพันธุ์ใหม่มากๆ

ปีนี้ จบ ม.6 อยากจะสอบครูพันธุ์ใหม่

ยังไงช่วยทีนะค่ะ ช่วยให้ข้อมูลทีค่ะ

ช่วยตอบทีนะค่ะ [email protected] ขอบคุณค่ะ

ทุนครูพันธุ์ใหม่ จะมีในปี 53 มั้ยค่ะ

กำลังจะจบปริญญาตรีสาขาภาษาไทย4ปีในปี53

อยากจะเป็นครูต้องเรียนเพิ่มอีก1ปีใช่ไหมค่ะ

ตามโครงการ (หลักสูตร4+1) จะได้ทุนเรียนหรือเปล่า...?

แล้วจะต้องแจ้งหรือดำเนินการอย่างไร

มีความประสงค์ขอรายละเอียดของโครงการ (หลักสูตร4+1)

ช่วยนักศึกษาใกล้จบด้วยนะค่ะ อยากเรียนครูพันธุ์ใหม่มากๆ ช่วยให้ข้อมูลทีค่ะ

ช่วยตอบทีนะค่ะ ขอบคณค่ะ [email protected]

นักสึกษาที่จบครู3ปีละครับที่มีสิทะสอบบางหรือเปล่า

มีเปิดสอบเอกอะไรบ้างครับที่จังหวัดไดบ้าง

จบเอกเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาครับที่ผมจบมา

มีเปิดสอบบ้างหรือเปล่าถ้ามีตอบกลับทางนี้ด้วยครับ

[email protected] ขอบคุณครับ

จะมีเปิดรับครูพันธ์ใหม่ที่ตอนนี้เรียนอยู่ ปี 3 (ครู 5 ปี) บ้างไหมครับ(2553)

หมายถึงรับผู้ที่กำลังจะจบอ่ะครับ และครุทายาทเขารับไหมครับถ้าตอนนี้เรียนอยู่ ปี 3

โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ล่าสุด 4กพ.53

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

"ครูพันธุ์ใหม่" ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ หลายคนคงสงสัยว่ามีด้วยหรือที่ครูเป็นพันธุ์เก่าหรือพันธุ์ใหม่ วันนี้ขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้ท่านผู้สนใจการศึกษาของชาติฟัง

ในเรื่องคุณภาพการศึกษาของบ้านเราที่มีเสียงวิจารณ์ว่าเลวร้ายและตกต่ำมากจน เด็กไม่สามารถสอบผ่านเฉลี่ยเกินร้อยละ 50 ได้สักวิชาเดียว ในความเห็นของผู้เขียนเมื่อดูเผินๆ ก็เป็นเช่นนั้นจริง เมื่อก่อนผู้เขียนก็เชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยว่าข้อสรุปดังกล่าวเป็นจริง แต่เมื่อได้เห็นความจริงของคุณภาพการศึกษาไทยในชนบทเมื่อเทียบกับในเมืองแล้ว ผู้เขียนก็ชักไม่แน่ใจ

เด็กไทยในโรงเรียนใหญ่ในเมือง ในโรงเรียนนานาชาติ ในโครงการเรียนสองภาษา ที่เรียกว่า EP (English Program) และโรงเรียนใหญ่ทั่วประเทศ ผู้เขียนเชื่อว่าโดยทั่วไปมีคุณภาพใช้ได้โดยสามารถเทียบเคียงกับประเทศอื่นได้อย่างไม่ยากเย็น เด็กพวกนี้สอบได้คะแนน O-NET (ข้อสอบวัดสัมฤทธิผลการศึกษาที่ใช้ข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศและสอบในเวลาเดียวกัน) เฉลี่ยสูงเกินกว่า ร้อยละ 50 และบางโรงเรียนอาจถึงร้อยละ 60-70 ในเกือบทุกวิชาด้วย

แต่สำหรับเด็กในโรงเรียนเล็กในชนบทที่มีอยู่นับหมื่นโรงเรียน (ทั้งประเทศไทยมีโรงเรียนประมาณ 31,000 โรงเรียน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนมัธยมประมาณ 4,000 โรงเรียน) คะแนนเฉลี่ย O-NET ต่ำอย่างน่าใจหาย สมมุติว่าคะแนนเฉลี่ยวิชาหนึ่งทั้งประเทศเท่ากับ 40 คะแนน เด็กในเมืองได้คะแนนกันสูงมาก แต่เด็กในชนบทได้คะแนนต่ำมาก จนเมื่อเฉลี่ยกันออกมาแล้วเป็น 40 คะแนน (คะแนนต่ำจากเด็กจำนวนมากมายในชนบท ดึงคะแนนเฉลี่ยสูงของเด็กในเมืองที่มีจำนวนน้อยกว่ากันหลายเท่าตัวลงมา)

ทำไมคะแนนเด็กชนบทต่ำกว่ามาก? คำตอบมีตั้งแต่พื้นฐานการศึกษาของพ่อแม่ ฐานะทางเศรษฐกิจของพ่อแม่ ความเอาใจใส่เรื่องการศึกษาของพ่อแม่ และที่สำคัญคุณภาพของครู โรงเรียนในต่างจังหวัดจำนวนมากขาดแคลนครู (เป็นเวลาหลายปีที่อัตราของครูเกษียณอายุปีละ 4-5 พันอัตราถูกยุบและไม่ได้คืนให้ ต่อมาก็คืนในร้อยละ 25 และร้อยละ 50 ปัจจุบันคืนให้ทั้งหมด) เพราะครูไม่อยากไปอยู่ ครั้นจะสั่งครูให้ไปโรงเรียนชนบทหรือที่เรียกว่าเฉลี่ยอัตราจากที่ล้นอยู่ในเมืองสู่ชนบทก็ทำได้ยากลำบาก

โรงเรียนในชนบทจำนวนมากโดยเฉพาะชั้นประถมเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก (ร้อยละ 40 มีนักเรียนน้อยกว่า 200 คน) ครูที่มีอยู่จำนวนน้อยก็ทำงานหนักมาก เพราะต้องสอนหลายชั้น ทำงานธุรการ และต้องทำเอกสารของโรงเรียนเพื่อให้พร้อมต่อการประเมิน บ้างก็มัวแต่ทำเอกสารเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งซึ่งจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกพอควรจนไม่ได้ดูแลเด็กจริงจัง

ส่วนโรงเรียนในเมืองใหญ่ ครูอยากไปอยู่เพราะสะดวกสบาย อัตราครูไม่ขาดแคลน (ถึงขาดจำนวนไปก็ใช้เงินของโรงเรียนจ้างลูกจ้างเพิ่มได้) มีโอกาสสอนพิเศษ และมีโอกาสก้าวหน้ากว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง ครูจำนวนมากจึงอยากอยู่โรงเรียนในเมือง และนี่คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณภาพโรงเรียนชนบทต่ำ

ในการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 (2552-2561) รัฐบาลต้องการดึงดูดคนดีและเก่งมาเป็นครูเพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มคุณภาพการศึกษา โครงการผลิต "ครูพันธุ์ใหม่" จึงเกิดขึ้นภายใต้ดำริของนายกรัฐมนตรีและจากการผลักดันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาไปดำเนินการให้เกิดเป็นจริงขึ้น ผู้เขียนเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ ได้เพื่อนร่วมงานที่แข็งขัน เช่น ดร.วิชัย ตันศิริ (ที่ปรึกษากรรมการ) ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ดร.สมบัติ นพรัก ดร.มนตรี แย้มกสิกร ดร.พิษณุ ตุลสุข คุณพรสวรรค์ วงษ์ไกร คุณวัฒนาพร สุขพรต คุณอรชร เสาเวียง ฯลฯ ได้ร่วมกันทำงานใน 6-7 เดือนที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าสำเร็จลุล่วงเป็นรูปเป็นร่างจริงจัง โดยสรุปได้ดังนี้

(1)ผลิตครูพันธุ์ใหม่ 30,000 คน ใช้อัตราเกษียณอายุที่ได้คืนมารวม 5 รุ่น ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2554-2558 โดยใช้งบประมาณประจำปีซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้วพร้อมระบุให้บรรจุอัตราได้ทันทีทุกตุลาคมของทุกปี รวมเป็นเงิน 4,235 ล้านบาท

รายละเอียดก็มีดังนี้ สำหรับผู้จบจากคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี (ปัจจุบันเรียน 5 ปี เพราะเป็นเงื่อนไขของการได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูด้วย) มีจำนวน 17,500 คน และสำหรับผู้จบปริญญาอื่นๆ ที่ต้องมาเรียนและฝึกสอนอีก 1 ปี เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 12,500 คน (รวม 30,000 คน) ทั้งหมดคือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันผลิตครูที่มีคุณภาพซึ่งจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูทันทีที่เรียนจบโดยไม่ต้องไปสอบแข่งขันอีก (เรียกว่าประกันงาน)

หากแยกออกอีกลักษณะหนึ่งของยอด 30,000 คน ก็จะเป็นว่าผู้ที่ได้บรรจุ 18,000 คน มาจากพวกเรียน 5 ปี (รับนักศึกษาปี 4 ที่เรียนอยู่แล้วปีละ 1,000 คน รวม 4,000 คน และรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ 6 ที่เพิ่งเข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ปีละ 1,600 คน รวม 8,000 คน) ส่วนอีก 6,000 คน รับผู้ที่จบปริญญาต่างๆ ตามที่ขาดแคลน และมาเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครูอีก 1 ปี (ปีละ 1,200 คน เป็นเวลา 5 ปี รวม 6,000 คน)

จำนวนรวม 18,000 คน ข้างต้นนี้ที่เรียนระหว่างปีการศึกษา 2554 ถึง 2558 ได้รับการประกันงานแต่ไม่มีทุนการศึกษาให้ ทุกคนจะมีการทำสัญญากับทางการและรู้จังหวัดที่ตนจะต้องไปทำงานก่อนล่วงหน้า ซึ่งเมื่อลงไปทำงานแล้วจะย้ายออกจากพื้นที่ไม่ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง พื้นที่เหล่านี้ขาดแคลนอัตราครูและสาขาความเชี่ยวชาญ ทางการจะพยายามบรรจุลงภูมิลำเนาของนักศึกษา สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีจะได้รับการพิจารณาสิทธิการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นลำดับต้น

ที่เหลืออีก 12,000 คน จะได้รับทั้งการประกันงานและทุน โดยกลุ่มเรียน 5 ปี จะมีจำนวน 5,500 คน (5 ปี ปีละ 1,100 คน) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ 6,500 คน ( 5 ปี ปีละ 1,300 คน) กลุ่มนี้คือนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่เฉพาะกิจโดยบรรจุลงพื้นที่ที่ขาดแคลนครูและสาขาเชี่ยวชาญมากซึ่งอยู่ชายขอบจังหวัด และพื้นที่เฉพาะกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นอกเหนือจากนี้จะมีการบรรจุครูพันธุ์ใหม่อีก 6,600 คน ในลักษณะเดียวกันโดยใช้เงินจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (2555) ซึ่งกำลังรอเงินจากพระราชบัญญัติเงินกู้ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา รวม 467.50 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบยอดเงินแล้ว เป้าหมายคือผลิตครู 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2552-2554) แบ่งออกเป็นปีการศึกษา 2552 มีการประกันงาน 2,000 คน (พิจารณาจากนักศึกษาปี 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์) ปีการศึกษา 2553 ประกันงาน 2,000 คน (พิจารณาจากนักศึกษาปี 4 ในลักษณะเดียวกัน) และประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 1,300 คน และปีการศึกษา 2554 ประกันงานและให้ทุนแก่ผู้เรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 1,300 คน

นักศึกษาทั้งหมดในโครงการประกันงาน และประกันงานและรับทุน จะอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมาธิการ (ระดับชาติ) ที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน (ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์) ส่วนการคัดเลือกนักศึกษานั้นจะมีคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งมี ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้จะคัดเลือกสถาบันผลิตครูที่มีคุณภาพและผลิตนักศึกษาในสาขาที่ต้องการ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาและการรักษาสถานภาพของการอยู่ในโครงการ โดยสถาบันจะเป็นผู้คัดเลือกนักศึกษาเองในขั้นสุดท้ายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

สถาบันผลิตครูจะได้รับงบประมาณในการดูแลและพัฒนานักศึกษาของโครงการตลอดเวลา 5 ปี และ 1 ปีที่เรียน โดยมุ่งพัฒนาจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความเป็นครูเพื่อสร้างครูที่มีเชื้อพันธุ์ของครูรุ่นเก่า

เป็นที่มั่นใจได้ว่าการดึงดูดคนดี คนเก่ง เพื่อมาสร้างให้เป็นครูพันธุ์ใหม่ที่มีเชื้อพันธุ์ของครูรุ่นเก่าอย่างแท้จริงจะสามารถช่วยยกคุณภาพของการศึกษาได้โดยตรง การได้เป็นข้าราชการครูทันทีเมื่อเรียนจบ และ/หรือได้รับทุนการศึกษาระหว่างเรียน 5 ปีถึงปีละ 69,000 บาทต่อคน (103,500 บาทต่อคนต่อปี สำหรับพวกจบปริญญาแล้วมาเรียนประกาศนียบัตรครูอีก 1 ปี) จะดึงดูดให้คนเก่งและดีอยากเป็นครู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ (คุณชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ได้ยืนยันสนับสนุนโครงการนี้ และเชื่อว่าน่าจะมีการขยายโครงการในอนาคต

ใน 10 ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณอายุถึง 188,000 คน จากจำนวนครูที่มีทั้งหมด 420,000 คน (และครูอัตราจ้างอีก 30,000 คน) หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง การทดแทนขาดแคลนครูเกษียณอายุด้วย 36,600 อัตรา เป็นเพียงร้อยละ 19 ของครูที่เกษียณอายุใน 10 ปีข้างหน้าเท่านั้น

โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ล่าสุด 4กพ.53

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

"ครูพันธุ์ใหม่" ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ หลายคนคงสงสัยว่ามีด้วยหรือที่ครูเป็นพันธุ์เก่าหรือพันธุ์ใหม่ วันนี้ขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้ท่านผู้สนใจการศึกษาของชาติฟัง

ในเรื่องคุณภาพการศึกษาของบ้านเราที่มีเสียงวิจารณ์ว่าเลวร้ายและตกต่ำมากจน เด็กไม่สามารถสอบผ่านเฉลี่ยเกินร้อยละ 50 ได้สักวิชาเดียว ในความเห็นของผู้เขียนเมื่อดูเผินๆ ก็เป็นเช่นนั้นจริง เมื่อก่อนผู้เขียนก็เชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยว่าข้อสรุปดังกล่าวเป็นจริง แต่เมื่อได้เห็นความจริงของคุณภาพการศึกษาไทยในชนบทเมื่อเทียบกับในเมืองแล้ว ผู้เขียนก็ชักไม่แน่ใจ

เด็กไทยในโรงเรียนใหญ่ในเมือง ในโรงเรียนนานาชาติ ในโครงการเรียนสองภาษา ที่เรียกว่า EP (English Program) และโรงเรียนใหญ่ทั่วประเทศ ผู้เขียนเชื่อว่าโดยทั่วไปมีคุณภาพใช้ได้โดยสามารถเทียบเคียงกับประเทศอื่นได้อย่างไม่ยากเย็น เด็กพวกนี้สอบได้คะแนน O-NET (ข้อสอบวัดสัมฤทธิผลการศึกษาที่ใช้ข้อสอบเดียวกันทั่วประเทศและสอบในเวลาเดียวกัน) เฉลี่ยสูงเกินกว่า ร้อยละ 50 และบางโรงเรียนอาจถึงร้อยละ 60-70 ในเกือบทุกวิชาด้วย

แต่สำหรับเด็กในโรงเรียนเล็กในชนบทที่มีอยู่นับหมื่นโรงเรียน (ทั้งประเทศไทยมีโรงเรียนประมาณ 31,000 โรงเรียน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนมัธยมประมาณ 4,000 โรงเรียน) คะแนนเฉลี่ย O-NET ต่ำอย่างน่าใจหาย สมมุติว่าคะแนนเฉลี่ยวิชาหนึ่งทั้งประเทศเท่ากับ 40 คะแนน เด็กในเมืองได้คะแนนกันสูงมาก แต่เด็กในชนบทได้คะแนนต่ำมาก จนเมื่อเฉลี่ยกันออกมาแล้วเป็น 40 คะแนน (คะแนนต่ำจากเด็กจำนวนมากมายในชนบท ดึงคะแนนเฉลี่ยสูงของเด็กในเมืองที่มีจำนวนน้อยกว่ากันหลายเท่าตัวลงมา)

ทำไมคะแนนเด็กชนบทต่ำกว่ามาก? คำตอบมีตั้งแต่พื้นฐานการศึกษาของพ่อแม่ ฐานะทางเศรษฐกิจของพ่อแม่ ความเอาใจใส่เรื่องการศึกษาของพ่อแม่ และที่สำคัญคุณภาพของครู โรงเรียนในต่างจังหวัดจำนวนมากขาดแคลนครู (เป็นเวลาหลายปีที่อัตราของครูเกษียณอายุปีละ 4-5 พันอัตราถูกยุบและไม่ได้คืนให้ ต่อมาก็คืนในร้อยละ 25 และร้อยละ 50 ปัจจุบันคืนให้ทั้งหมด) เพราะครูไม่อยากไปอยู่ ครั้นจะสั่งครูให้ไปโรงเรียนชนบทหรือที่เรียกว่าเฉลี่ยอัตราจากที่ล้นอยู่ในเมืองสู่ชนบทก็ทำได้ยากลำบาก

โรงเรียนในชนบทจำนวนมากโดยเฉพาะชั้นประถมเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก (ร้อยละ 40 มีนักเรียนน้อยกว่า 200 คน) ครูที่มีอยู่จำนวนน้อยก็ทำงานหนักมาก เพราะต้องสอนหลายชั้น ทำงานธุรการ และต้องทำเอกสารของโรงเรียนเพื่อให้พร้อมต่อการประเมิน บ้างก็มัวแต่ทำเอกสารเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งซึ่งจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกพอควรจนไม่ได้ดูแลเด็กจริงจัง

ส่วนโรงเรียนในเมืองใหญ่ ครูอยากไปอยู่เพราะสะดวกสบาย อัตราครูไม่ขาดแคลน (ถึงขาดจำนวนไปก็ใช้เงินของโรงเรียนจ้างลูกจ้างเพิ่มได้) มีโอกาสสอนพิเศษ และมีโอกาสก้าวหน้ากว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง ครูจำนวนมากจึงอยากอยู่โรงเรียนในเมือง และนี่คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณภาพโรงเรียนชนบทต่ำ

ในการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 (2552-2561) รัฐบาลต้องการดึงดูดคนดีและเก่งมาเป็นครูเพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มคุณภาพการศึกษา โครงการผลิต "ครูพันธุ์ใหม่" จึงเกิดขึ้นภายใต้ดำริของนายกรัฐมนตรีและจากการผลักดันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาไปดำเนินการให้เกิดเป็นจริงขึ้น ผู้เขียนเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ ได้เพื่อนร่วมงานที่แข็งขัน เช่น ดร.วิชัย ตันศิริ (ที่ปรึกษากรรมการ) ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ดร.สมบัติ นพรัก ดร.มนตรี แย้มกสิกร ดร.พิษณุ ตุลสุข คุณพรสวรรค์ วงษ์ไกร คุณวัฒนาพร สุขพรต คุณอรชร เสาเวียง ฯลฯ ได้ร่วมกันทำงานใน 6-7 เดือนที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าสำเร็จลุล่วงเป็นรูปเป็นร่างจริงจัง โดยสรุปได้ดังนี้

(1)ผลิตครูพันธุ์ใหม่ 30,000 คน ใช้อัตราเกษียณอายุที่ได้คืนมารวม 5 รุ่น ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2554-2558 โดยใช้งบประมาณประจำปีซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้วพร้อมระบุให้บรรจุอัตราได้ทันทีทุกตุลาคมของทุกปี รวมเป็นเงิน 4,235 ล้านบาท

รายละเอียดก็มีดังนี้ สำหรับผู้จบจากคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี (ปัจจุบันเรียน 5 ปี เพราะเป็นเงื่อนไขของการได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูด้วย) มีจำนวน 17,500 คน และสำหรับผู้จบปริญญาอื่นๆ ที่ต้องมาเรียนและฝึกสอนอีก 1 ปี เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 12,500 คน (รวม 30,000 คน) ทั้งหมดคือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันผลิตครูที่มีคุณภาพซึ่งจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูทันทีที่เรียนจบโดยไม่ต้องไปสอบแข่งขันอีก (เรียกว่าประกันงาน)

หากแยกออกอีกลักษณะหนึ่งของยอด 30,000 คน ก็จะเป็นว่าผู้ที่ได้บรรจุ 18,000 คน มาจากพวกเรียน 5 ปี (รับนักศึกษาปี 4 ที่เรียนอยู่แล้วปีละ 1,000 คน รวม 4,000 คน และรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ 6 ที่เพิ่งเข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ปีละ 1,600 คน รวม 8,000 คน) ส่วนอีก 6,000 คน รับผู้ที่จบปริญญาต่างๆ ตามที่ขาดแคลน และมาเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครูอีก 1 ปี (ปีละ 1,200 คน เป็นเวลา 5 ปี รวม 6,000 คน)

จำนวนรวม 18,000 คน ข้างต้นนี้ที่เรียนระหว่างปีการศึกษา 2554 ถึง 2558 ได้รับการประกันงานแต่ไม่มีทุนการศึกษาให้ ทุกคนจะมีการทำสัญญากับทางการและรู้จังหวัดที่ตนจะต้องไปทำงานก่อนล่วงหน้า ซึ่งเมื่อลงไปทำงานแล้วจะย้ายออกจากพื้นที่ไม่ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง พื้นที่เหล่านี้ขาดแคลนอัตราครูและสาขาความเชี่ยวชาญ ทางการจะพยายามบรรจุลงภูมิลำเนาของนักศึกษา สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีจะได้รับการพิจารณาสิทธิการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นลำดับต้น

ที่เหลืออีก 12,000 คน จะได้รับทั้งการประกันงานและทุน โดยกลุ่มเรียน 5 ปี จะมีจำนวน 5,500 คน (5 ปี ปีละ 1,100 คน) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ 6,500 คน ( 5 ปี ปีละ 1,300 คน) กลุ่มนี้คือนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่เฉพาะกิจโดยบรรจุลงพื้นที่ที่ขาดแคลนครูและสาขาเชี่ยวชาญมากซึ่งอยู่ชายขอบจังหวัด และพื้นที่เฉพาะกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นอกเหนือจากนี้จะมีการบรรจุครูพันธุ์ใหม่อีก 6,600 คน ในลักษณะเดียวกันโดยใช้เงินจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (2555) ซึ่งกำลังรอเงินจากพระราชบัญญัติเงินกู้ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา รวม 467.50 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบยอดเงินแล้ว เป้าหมายคือผลิตครู 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2552-2554) แบ่งออกเป็นปีการศึกษา 2552 มีการประกันงาน 2,000 คน (พิจารณาจากนักศึกษาปี 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์) ปีการศึกษา 2553 ประกันงาน 2,000 คน (พิจารณาจากนักศึกษาปี 4 ในลักษณะเดียวกัน) และประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 1,300 คน และปีการศึกษา 2554 ประกันงานและให้ทุนแก่ผู้เรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 1,300 คน

นักศึกษาทั้งหมดในโครงการประกันงาน และประกันงานและรับทุน จะอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมาธิการ (ระดับชาติ) ที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน (ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์) ส่วนการคัดเลือกนักศึกษานั้นจะมีคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งมี ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้จะคัดเลือกสถาบันผลิตครูที่มีคุณภาพและผลิตนักศึกษาในสาขาที่ต้องการ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาและการรักษาสถานภาพของการอยู่ในโครงการ โดยสถาบันจะเป็นผู้คัดเลือกนักศึกษาเองในขั้นสุดท้ายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

สถาบันผลิตครูจะได้รับงบประมาณในการดูแลและพัฒนานักศึกษาของโครงการตลอดเวลา 5 ปี และ 1 ปีที่เรียน โดยมุ่งพัฒนาจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความเป็นครูเพื่อสร้างครูที่มีเชื้อพันธุ์ของครูรุ่นเก่า

เป็นที่มั่นใจได้ว่าการดึงดูดคนดี คนเก่ง เพื่อมาสร้างให้เป็นครูพันธุ์ใหม่ที่มีเชื้อพันธุ์ของครูรุ่นเก่าอย่างแท้จริงจะสามารถช่วยยกคุณภาพของการศึกษาได้โดยตรง การได้เป็นข้าราชการครูทันทีเมื่อเรียนจบ และ/หรือได้รับทุนการศึกษาระหว่างเรียน 5 ปีถึงปีละ 69,000 บาทต่อคน (103,500 บาทต่อคนต่อปี สำหรับพวกจบปริญญาแล้วมาเรียนประกาศนียบัตรครูอีก 1 ปี) จะดึงดูดให้คนเก่งและดีอยากเป็นครู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ (คุณชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ได้ยืนยันสนับสนุนโครงการนี้ และเชื่อว่าน่าจะมีการขยายโครงการในอนาคต

ใน 10 ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณอายุถึง 188,000 คน จากจำนวนครูที่มีทั้งหมด 420,000 คน (และครูอัตราจ้างอีก 30,000 คน) หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง การทดแทนขาดแคลนครูเกษียณอายุด้วย 36,600 อัตรา เป็นเพียงร้อยละ 19 ของครูที่เกษียณอายุใน 10 ปีข้างหน้าเท่านั้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ขึ้นปี 3 ปีการศึกษา2553 มีสิทธิรับทุนนี้ไหม

ข่าวออกมา แต่ละข่าวก็ไม่ค่อยจะเหมือนกันเท่าไหร่ อาจจะยังไม่นิ่ง ต้องรอให้เขาประกาศรับออกมาถึงจะทราบได้แน่ชัดครับ

นักศึกษาที่เรียนในแต่ละสาขานั้นมีความยากง่ายที่แตกต่างกันอย่าง วิทย์-คณิต จะเอาเกรดไปเทียบกับประถมวัย-ภาษาไทยอย่างนั้นหรอคะ แค่ 2.75 ก็ยากมากแล้ว แต่ละมหาลัยมีเกณฑ์ที่ต่างกันอีกคนที่เรียนเก่งไม่ใช่คนที่สอนดี สอนเก่งและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้มากนักอยากทราบว่าผู้ใหญ่ในเบื้องบนท่านคิดอย่างไรกันเกณฑ์ของทุนรุ่นแรกของปี 47 นั้นก็ถือว่าดีอยู่แล้วนะคะทำให้เด็กได้รู้จักการกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลาเอาเกณฑ์เหมือนเดิมแต่ไปแข่งขันกันอีกในขั้นต่อไปจะดีกว่านะคะ

อยากทราบว่าโครงการครูพันธุ์ใหม่ตั้งแต่ปี 54ถึง58เขานับปีจบหรือปีที่เข้าเรียนครับ

รายชื่อสถาบันการศึกษาฝ่ายผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง ปีการศึกษา 2552

+โพสต์เมื่อวันที่ : 4 พ.ค. 2553

.....

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) แถลงผลการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง ปีการศึกษา 2552 ว่าหลังจากที่คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่อนุมัติหลักเกณฑ์ทั่วไป เพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ สำหรับปีการศึกษา2552-2553 จำนวน 4,000 อัตรา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 จำนวน 2,000 คน และส่วนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 จำนวน 2,000 คนนั้น

ขณะนี้ได้ประกาศรายชื่อสถาบันฝ่ายผลิตโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง ที่จะคัดนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 จำนวน 45 สถาบัน ได้แก่

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ม.เชียงใหม่

3.ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

4.ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

5.ม.บูรพา

6.ม.ขอนแก่น

7.ม.ทักษิณ

8.ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

9.ม.มหาสารคาม

10.ม.นเรศวร

11.ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

12.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี

13.มทร.สุวรรณภูมิ

14.มรภ.นครสวรรค์

15.มรภ.นครปฐม

16.มรภ.ราชนครินทร์

17. มรภ.สวนดุสิต

18.มรภ.อุบลราชธานี

19.มรภ.พระนคร

20.มรภ.มหาสารคาม

21.มรภ.สกลนคร

22.มรภ.นครศรีธรรมราช

23.มรภ.สวนสุนันทา

24.มรภ.สุราษฎร์ธานี

25.มรภ.นครราชสีมา

26.มรภ.พิบูลสงคราม

27.มรภ.ภูเก็ต

28.มรภ.อุตรดิตภ์

29.มรภ.ยะลา

30.มรภ.ร้อยเอ็ด

31.มรภ.พระนครศรีอยุธยา

32.มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

33.มรภ.กำแพงเพชร

34.มรภ.เพชรบุรี

35.มรภ.เชียงใหม่

36.ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

37.มรภ.ธนบุรี

38.มรภ.บุรีรัมย์

39.มรภ.อุดรธานี

40.มรภ.หมู่บ้านจอมบึง

41.มรภ.เชียงราย

42.มรภ.เลย

43. มรภ.สงขลา

44.มรภ.จันทรเกษม และ

45.มรภ.กาญจนบุรี

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวไปดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งคาดว่าเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนอีกกลุ่มคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นั้น ทางคณะกรรมการฯจะพยายามประกาศรายชื่อสถาบันผลิตให้ได้ปลายเดือนพฤษภาคมนี้และจะเสร็จสิ้นการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการภายในเดือนมิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนำร่องทั้ง 2 ปีจะได้รับการประกันเรื่องการมีงานทำ โดยเมื่อจบแล้วจะได้บรรจุเป็นข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เนื่องจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติคืนอัตราเกษียณให้แก่ศธ.แล้ว

สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณานักศึกษาทุนดังกล่าว มีดังนี้ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.00 ผลการเรียนในวิชาเอกสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ เป็นผู้ที่มีบุคลิกดี มีจิตอาสา จิตวิญญาณความเป็นครู และเหมาะสมจะเป็นครู มีความยินดีและเต็มใจปฎิบัติตามเงื่อนไขการรับทุน เช่น การผูกพันเข้ารับราชการ การชดใช้ทุน ผลการเรียนในระหว่างรับทุน เป็นต้น โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สกอ. www.mua.go.th

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ มติชนออนไลน์ วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?

newsid=1272887255&grpid=&catid=04

และที่เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม http://www.kroobannok.com/33318

พี่ค่ะแล้วครู 5 ปีจะได้บรรจุเลยเหมือน 6 ปีไหมค่ะ

หรือว่าต้องต่อโทอีก 2 ปี

ทำไมเอาเกรดเป็นตัวตัดสินในการคัดเลือกกันล่ะครับเพราะมาตรฐานของแต่ละสถาบันนั่นย่อมแตกต่างกันมากบางแห่งจะให้ถึง2.5ยังยากเลยบางแห่งมีแต่3.8 3.9มีหลายคนที่เรียนที่ราชฎัฏแล้วได้บรรจุไปแล้วไม่ได้ว่าราชฎัฏไม่ดีนะแต่ต้องยอมรับว่ามาตรฐานสู่มหาลัยต่างๆไม่ได้จริงทำไมไมจัดให้มีการสอบแข่งขันหล่ะถึงจะได้คนที่เก่งๆตามต้องการ

ทำไมมีหลายมาตรฐานกันครับ เอกภาษาไทยคนที่ได้เกรดสูงๆๆ 3.00 ขึ้นไปงัยไม่ได้บรรจุ บรรจุแต่เอกปฐมวัย และเอกอื่นๆๆ ขนาดได้เกรดต่ำๆๆยังได้บรรจุ มันน่าน้อยใจจริง มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนครเค้าคิดอะรัยกันเอาคนเกรดต่ำๆๆ เลือกที่รักมักที่ชังนี่หว่า

โอ้ยน้อยใจ...ครูพันธ์ใหม่อะไรกัน....น้อยจริง..

อยากเป็นครูจังค่ะแต่กลัวตกงาน ตอนนี้หนูสับสนค่ะ จะจบม.6แล้ว ยังลังเลอยู่เลยว่าจะเรียนอะไรดี

ครูในสาขาที่ขาดแคลนมีสาขาอะไรบ่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท