องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

update การดูแลหญิงตั้งครรภ์...การทำอัลตร้าซาวน์,การร้องขอเพื่อผ่าตัดคลอด


การประชุมวิชาการสู่เวทีเผยแพร่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนต่อไป

   ผู้เล่าเรื่องในวันนี้ เป็นน้องพยาบาลจากห้องคลอด..วิไลวรรณ สุรารักษ์ ได้เตรียม powerpoint พร้อมข้อมูลที่คัดมาแล้วว่าเกี่ยวข้องกับพยาบาลที่ควรทราบ

อัลตร้าซาวน์ในสูติศาสตร์

การตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์

  • ตรวจก่อนอายุครรภ์ 6 สัปดาห์สามารถคำนวณได้จากการวัดขนาดgestational  sac เริ่มเห็นเมื่อ 4 สัปดาห์ วัดตั้งแต่ศีรษะถึงก้น crow-rump-length
  • ช่วงอายุครรภ์  6-10 สัปดาห์แม่นยำที่สุด ในไตรมาสที่สามโดยการวัดกระดูกต้นขา femer-length จะมีความแม่นยำที่สุดแต่จะมีความคลาดเคลื่อนจากอายุครรภ์จริงประมาณ 3-4 สัปดาห์
  • การตรวจอัลตราซาวนด์สามารถลดอัตราการตายในทารกแต่ไม่สามารถอัตราการเจ็บป่วยของทารก
  • ทารกในกลุ่มดาวน์เกิดกับมารดาที่อายุน้อยมากว่ามารดาอายุมากเนื่องจากมารดาอายุมากมักจะได้รับการเจาะน้ำคร่ำตรวจและมักขอยุติการตั้งครรภ์แต่มารดาอายุน้อยมักถูกละเลย

สูติแพทย์ควรจะทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับการร้องขอให้ผ่าตัดคลอด?

  •   ฟัง :  ได้ข้อมูลจากไหน  ประสบการณ์คลอดความทรงจำที่เป็นลบ
  •   ให้ข้อมูล : ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดและคลอดทางช่องคลอดปราศจากอคติ  เป็นวิทยาศาสตร์
  •   วางแผนการดูแล : บางรายรู้สึกว่าข้อมูลจากสูติแพทย์ที่ได้รับเป็นความเข้าใจผิด  บางรายค้างคาใจ มีประสบการณ์เดิมไม่ดีสูติแพทย์ควรพิจารณาเป็นรายๆไป

   แล้ววันนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และมีผู้บริหารของกลุ่มการพยาบาล..หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลและรองหัวหน้ากลุ่มการฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมฟัง และแสดงความคิดเห็นร่วมด้วย โดยเฉพาะเรื่องกรณี ร้องขอผ่าตัดคลอด ที่ขัดต่อแนวปฏิบัติเราว่าอยากให้คุณแม่ตั้งครรภ์เรากลับมาคิดอยากคลอดธรรมชาติมากกว่า

   แล้วสมัยนี้ก็เจอบ่อยด้วยที่ขอจะผ่ากันประจำ  แล้วน้องไก่ผู้เล่าเรื่องก็ได้บอกว่ามีพยาบาลคนหนึ่งในการประชุมที่ไปมาบอกว่า "การขอผ่าตัดคลอดถือเป็นสิทธิของผู้ป่วยที่ควรจะเลือกได้ " พี่แต๋ว เลขา PCT เลยเล่าว่าในโรงพยาบาลเราก็เคยพูดคุยกันเรื่องนี้กับทีม และสูติแพทย์ว่าแนวทางควรทำอย่างไร คุณหมอก็ตกลงกันว่า ให้พิจารณาเป็นรายๆไป หลังจากที่พยาบาลได้อธิบายข้อดีข้อเสียแล้ว ยังมุ่งมั่นจะผ่าอีกก็ให้สูติแพทย์ตัดสินใจร่วมกับผู้ใช้บริการก็ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในประเด็นนี้ ณ.เหตุการณ์ปัจจุบันนี้

หมายเลขบันทึก: 317511เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2009 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สิทธิของผู้ป่วยต้องควบคู่ไปกับ Safety

ถ้าอายุครรภ์ยังน้อย ความเสี่ยงก็จะตามมา

เห็นด้วยกับการตัดสินใจร่วมกันค่ะ

คุณระพี ขอบคุณค่ะ เพราะโดยส่วนตัวก็เป็นห่วงพยาบาลอย่างเราๆว่า เสี่ยงนะ ควรให้ความสำคัญกับการเขียน nurse note ให้รอบคอบมากขึ้นเพราะผู้ใช้บริการเราก็มีความรู้ ในขณะที่สูติแพทย์ก็มีความเสี่ยง ถ้าตัดสินใจดี เกิดผลลัพธ์ที่ดีก็ดีไป แต่ถ้าตัดสินแล้วเกิดปัญหาที่นี่ยุ่งล่ะ..หวาดเสียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท