เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
ผศ.ดร. วิบูลย์ วั...
สมุด
นเรศวรวิจัย-QA-KM
ประโยชน์ของการมีห...
ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
ประโยชน์ของการมีหัวปลาชัดและเครือข่ายที่เข้มแข็ง
“อยากได้ทุนวิจัยจากจังหวัด โจทย์วิจัยต้องตรงกับปัญหาของจังหวัด”
วันพฤหัสบดีที่ 25 ส.ค. 48 ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยม ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์เป็นครั้งแรก เพื่อเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการ
“งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่สนองยุทธศาสตร์การพัฒนา”
ทำให้ได้เรียนรู้และฉุกคิดอะไรหลายอย่าง ที่จะนำมาพูดคุยวันนี้คือ เรื่องของหัวปลาและ Networking ของบรรดา ม.ราชภัฏทั้งหลาย
ผมว่าทิศทางหรือว่าหัวปลาของเขาชัดที่จะเป็น Community University ลองดูหัวข้อการประชุมทางวิชาการในครั้งนี้ก็จะเห็นว่าสอดคล้องกับทิศทางหลัก เนื้อหาจริง ๆ ของผลงานวิจัยที่นำมานำเสนอและวิทยากรต่าง ๆ ที่เชิญมาก็สอดคล้องกับทิศทางหลัก
อีกเรื่องที่ผมเห็นว่าเป็นจุดเด่นเช่นกันคือ มีผู้เข้ามาร่วมงานจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่ายราชภัฏ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากกว่า 40 แห่ง ทำให้บรรยากาศของงานมีความคึกคัก มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันอย่างกว้างขวาง นี่ก็เป็นผลจากการมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทำให้การจัดการประชุมทางวิชาการมีความเข้มแข็งไปด้วย
วิทยากรท่านหนึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายสุขสันต์ วนะภูติ) ได้เล่าเรื่องขณะที่ท่านมาทำงานที่อุตรดิตถ์ใหม่ ๆ ลางสาดที่เป็นผลไม้เศรษฐกิจของเมืองกำลังมีปัญหา เนื่องจากผลิตได้ถึง 60,000 ตัน แต่ราคาตกลงเหลือ ก.ก.ละ 3 บาท จ้างคนเก็บก็ ก.ก.ละ 3 บาทแล้ว ต้อง ก.ก.ละ 6-8 บาท ชาวสวนจึงจะอยู่ได้ ปัญหาอีกอย่างคือ พอเก็บลางสาดมาแล้ว 2-3 วันก็จะเริ่มเป็นจุดดำ ๆ ทำให้ราคาตก คนไม่อยากซื้อ ท่านเล่าว่าตอนนั้นท่านนึกถึงเรื่องวิชาการมาก (ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านเล่าว่าไม่ค่อยได้ใช้ ไม่ค่อยได้นึกถึง) และอยากได้นักวิชาการมาช่วยคิดช่วยวิจัยเพื่อแก้ปัญหานี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของลางสาดและสินค้าทางการเกษตรอื่น ๆ ของจังหวัด ท่านก็ฝากความหวังไว้ที่สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดซึ่งก็คือ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ซึ่งก็มีความสัมพันธ์อันดีกับจังหวัดอยู่แล้ว นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนที่ประชุมและท่านอธิการม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ที่อยู่ในที่ประชุมว่า “งบ CEO ของจังหวัดปี 49 ที่กำลังจะมาถึงนี้ได้กันไว้ 53 ล้านบาท สำหรับให้ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง” นอกจากนี้ท่านยังย้ำด้วยว่า
“อยากได้ทุนวิจัยจากจังหวัด โจทย์วิจัยต้องตรงกับปัญหาของจังหวัด”
ตอนขับรถกลับผมเกิดแนวความคิดอะไรดี ๆ หลายอย่างมาก ซึ่งคงไม่ใช่ว่าจะต้องไปเอาอย่างใครเขาเสียทั้งหมด บริบทของม.นเรศวรเป็นอย่างไร เราจะไปทางทิศไหนและอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนในมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ใครมีความคิดอะไรดี ๆ อยากให้ช่วยเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
วิบูลย์ วัฒนาธร
เขียนใน
GotoKnow
โดย
ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร
ใน
นเรศวรวิจัย-QA-KM
คำสำคัญ (Tags):
#หัวปลา
#networking
#อุตรดิตถ์
หมายเลขบันทึก: 3170
เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2005 11:12 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
ผศ.ดร. วิบูลย์ วั...
สมุด
นเรศวรวิจัย-QA-KM
ประโยชน์ของการมีห...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท