ขั้นตอนการดำเนินการ KM
ของ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร
ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จังหวัดชุมพร
ที่ |
การดำเนินงาน |
หมายเหตุ |
ขั้นตอนที่ 1 |
1. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบบริหารความรู้ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร ได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร โดยออกคำสั่ง ที่ 7/2548 ลงวันที่ 22 เมษายน 2548 ซึ่งประกอบด้วย 1. นายวิทยา มุลกุณี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผังเมือง 7ว 2. นายสุวิชัย จงหวัง วิศวกรโยธา 7 วช 3. นายปรีชา กลางณรงค์ นายช่างโยธา 6 4. นางมนัญญา เกิดมณี เจ้าพนักงานธุรการ 5 รับผิดชอบปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้ |
|
ขั้นตอนที่ 2 - 3 |
1. มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานยุทธศาสตร์เข้าสัมมนา และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ นายปรีชา กลางณรงค์ นายช่างโยธา 6 ตามที่จังหวัดกำหนด (หนังสือที่ ชพ 0016.2/6213 ลงวันที่ 19 เมษายน 2548) 2. มอบหมายให้คณะทำงานพัฒนาระบบบริหารความรู้ของหน่วยงาน จำนวน 1 คน เข้าสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (หนังสือที่ ชพ 0016.2/6213 ลงวันที่ 19 เมษายน 2548 ได้แก่ นายวิทยา มุลกุณี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผังเมือง 7ว) |
|
ขั้นตอนที่ 4 |
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4 วันที่ 17 มิถุนายน 2548 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานโยธาธิการ-และผังเมือง โดยได้เรียนเชิญคุณโชคชัย จากสำนักงานแขวงการทางจังหวัดชุมพร มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ประสบการณ์การดำเนินงาน ผลจากการประชุมปฏิบัติการฯ ของกลุ่ม ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการทำ KM (KV) และกำหนดสมรรถนะหลักของหน่วยงาน โดยวิเคราะห์สถานภาพโดยใช้ตารางอิสรภาพ ดังตัวอย่างที่แนบมาพร้อมนี้ (ภาคผนวก) |
|
ขั้นตอนที่ 5 |
กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ KM ของหน่วยงาน (CKO) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร ได้กำหนดผู้รับผิดชอบ KM ของหน่วยงาน 3 คน ได้แก่ 1. นายวิทยา มุลกุณี 2. นายสุวิชัย จงหวัง 3. นายปรีชา กลางณรงค์ กำหนดให้มีการประชุมทุกวันจันทร์ เวลา 13.30 น. ของทุกสัปดาห์ โดยได้มีการจัดมุมความรู้ และบรรยากาศห้องประชุม ฯ ให้เป็นแบบกระดานความรู้ |
|
ขั้นตอนที่ 6 |
การบันทึกกิจกรรมและขุมความรู้ (KA) ของกลุ่มใน VBB BLOCK 1. . 2. . |
กำลังดำเนินการ อยู่ระหว่างการจัดส่งของกลุ่มสมาชิก |
การประชุม KM ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร
วันที่ 17 มิถุนายน 2548
หัวปลา (KV) พัฒนาขีดความสามารถในการส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวางผังและจัดทำผังเมือง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
สมรรถนะหลัก ปัจจัย / องค์ประกอบ |
ระดับ 1 |
ระดับ 2 |
ระดับ 3 |
ระดับ 4 |
ระดับ 5 |
1. การวางและจัดทำผังเมือง |
มีการกำหนดแผนงานวางและจัดทำผังเมือง |
มีแผนปฏิบัติการในการดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง |
ดำเนินการตามขั้นตอนของการวางและจัดทำผังเมืองตามขั้นตอนของกฎหมาย |
มีการประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวม โดยออกเป็นกฎกระทรวงบังคับใช้ |
มีการประเมินผลผังเมืองรวม |
2. การจัดทำฐานข้อมูล |
กำหนดให้มีข้อมูลสำหรับการวางผังเมืองในเขตวางผังเมืองต่าง ๆ |
มีการจัดเก็บข้อมูลตามที่ กำหนดไว้ |
มีการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลข้อมูล |
จัดเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถนำออกมาใช้ในงานวางผังเมืองได้ |
มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน |
3. การจัดทำแผนที่เพื่อใช้ในการวางผังเมือง |
กำหนดให้มีการจัดทำแผนที่ด้วยมาตราส่วน เพื่อใช้สำหรับงานวางผังเมือง |
มีการจัดทำแผนที่ด้วยระบบ Digital |
จัดเก็บแผนที่ที่ได้จัดทำไว้ในระบบ Digital |
ให้บริการแผนที่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
ปรับปรุงงานด้านการจัดทำแผนที่ |
4. การฝึกอบรมงานวาง ผังเมืองให้กับท้องถิ่น |
มีแผนงานสำหรับการถ่ายโอนงานวางผังเมืองให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
มีแผนปฏิบัติการจัดการอบรมงานวางผังเมือง โดยการจัดเตรียมหลักสูตรเอกสาร คู่มือ อุปกรณ์ |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมโดยการจัดส่งเจ้าหน้าที่มาเรียนรู้งานวางผังเมืองโดยการฝึกปฏิบัติ |
ดำเนินการวางผังเมืองร่วมกับท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นและนักวิชาการผังเมือง ตามขั้นตอนวางผัง |
ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ถึงขั้นเสนอผังร่างต่อคณะกรรมการผังเมือง |
5. การบริหารและพัฒนาบุคลากรภายใน องค์กร |
จัดสรรบุคลากรให้เหมาะสม กับงาน |
มอบหมายงานให้ปฏิบัติ |
ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้เพิ่มขึ้น |
บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ |
ประเมินผลการพัฒนาบุคลากรและวางแนวทางในการพัฒนาบุคลากร |
6. การควบคุมมาตรฐานงานก่อสร้าง |
รวบรวมเอกสารมาตรฐานงานก่อสร้างทุกประเภท |
จัดทำแผนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานงานก่อสร้าง |
นำแผนไปสู่การปฏิบัติกับงานแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม |
ติดตามผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ |
สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ |
7. การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคในการก่อสร้าง |
มอบให้มีคณะบุคคลหรือบุคคลรับผิดชอบ |
จัดทำแผนสำหรับการถ่ายทอดเทคนิคด้านการก่อสร้าง |
จัดทำแผนปฏิบัติพร้อมคู่มือ อุปกรณ์ |
ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ประเมินผลในการดำเนินการจัดฝึกอบรม |
8. การควบคุมคุณภาพวัสดุก่อสร้าง |
กำหนดคุณสมบัติของวัสดุตามมาตรฐานการก่อสร้าง |
จัดทำแผนการควบคุมคุณสมบัติวัสดุให้มีคุณภาพ |
นำแผนไปสู่การปฏิบัติกับงานก่อสร้าง |
วิเคราะห์ / ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุเทียมกับมาตรฐานการก่อสร้าง |
ประเมินผลการนำวัสดุไปก่อสร้าง |
9. สารสนเทศเพื่อผู้รับ บริการ |
มอบหมายผู้รับผิดชอบในการพัฒนาสารสนเทศองค์ความรู้ทุกด้านเกี่ยวกับงานก่อสร้างและผังเมือง |
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาสารสนเทศองค์ความรู้ด้านแผนก่อสร้างและผังเมืองผ่านเครือข่าย Internet |
มีการรวบรวมและนำเข้าข้อมูลด้านการก่อสร้างและด้านผังเมือง |
มีการติดตามการให้บริการสารสนเทศอย่างต่อเนื่องและทันสมัยตลอดเวลา |
มีการสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านความรู้เพื่อนำมาพัฒนาขีดความสามารถ |
ไม่มีความเห็น