GotoKnow

จากโรงเรียนชาวนา สู่นาโยง

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2548 08:42 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:57 น. ()

จากโรงเรียนชาวนา  สู่นาโยง


          เมื่อวันที่ 28 ส.ค.48   ผมไปบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ   ให้แก่แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ มสช.  ที่ ม.มหิดล  ศาลายา


          คุณพิศิษฐ์  ชาญเสนาะ   แห่งมูลนิธิหยาดฝน  จ.ตรัง   เล่าเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านระบบนิเวศลุ่มน้ำ   และเล่าว่าในการดำเนินการ   ยุทธศาสตร์อย่างหนึ่งคือต้องดำเนินการจัดการความรู้โดยการเอาประสบการณ์ตรงของชาวบ้านเอง  มาลบล้างวาทกรรมจากภายนอกที่เข้ามาสร้างความเชื่อผิด ๆ    ตัวอย่างคือวาทกรรมว่าทำนาไม่คุ้ม   สู้ซื้อข้าวกินดีกว่า    คุณพิศิษฐ์ได้เชิญคุณเดชา  ศิริภัทรไปเล่าเรื่องโรงเรียนชาวนาให้ชาวนาของ อ.นาโยง  จ.ตรัง   ให้เห็นว่าสามารถทำนาได้ผลผลิตไร่ละ 120 ถังโดยไม่ยาก   ในสัปดาห์หน้า   ชาวนาที่ อ.นาโยงจะไปอยู่กับ มขข. 5 วันเพื่อเรียนรู้ดูงาน   ดร. เลิศชาย  ศิริชัย  อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มวล.  จะร่วมไปด้วย


          นี่คือตัวอย่างการขยายเครือข่าย KM แบบ “เครือข่ายที่มีชีวิต” คือขยายได้เอง   โดย สคส. จะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย   นี่ถ้าผมไม่พบคุณพิศิษฐ์และ ดร. เลิศชาย   เราก็จะไม่ทราบว่า KM ทำนาแบบเกษตรยั่งยืนได้ขยายเครือข่ายไป จ.ตรังแล้ว

 

                                     

                                             คุณพิศิษฐ์  ชาญเสนาะ


                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                                                                                                   28 ส.ค.48



ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย