การสนับสนุนการเรียนการสอนในเด็กปฐมวัยกับครูผู้ดูแลเด็ก


นอกจากนี้ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า นวัตกรรม (Innovative) อาจไม่ได้หมายถึงเทคโนลยี คอมพิวเตอร์ ไอที สื่อดิจิตอล เท่านั้น นวัตกรรม อาจหมายถึง กระบวนการสร้างองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรม โดยมีเทคโนโลยีเหล่านั้นช่วยในการอำนวยความสะดวกมากขึ้นเท่านั้น ....

การสนับสนุนการเรียนการสอนในเด็กปฐมวัยกับครูผู้ดูแลเด็ก

            ๒-๓ สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี เป็นการสอนให้กับคุณครูผู้ดูแลเด็กที่ต้องการเสริมทักษะทางวิชาการ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ต่อยอดการทำงานที่นอกเหนือจากภารกิจที่คุ้นชิน ในวิชา “นวัตกรรมการเรียนรู้”  ในโครงการพัฒนาครูและบุคลากรประจำการทางการศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย

            นักศึกษาที่มาเรียนเป็นนักศึกษาภาคสมทบซึ่งจะมาเรียนในวันเสาร์ และวันอาทิตย์เท่านั้น เพราะวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ นักศึกษาเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่สอนหนังสือให้กับเด็กๆ ในโรงเรียนเช่นกัน สำหรับนักศึกษาห้องนี้ (ศูนย์อ่างทอง) เท่าที่พอจะแยกแยะได้มีอยู่ ๒ กลุ่ม คือกลุ่มครูพี่เลี้ยงเด็กที่มาจากหน่วยงานอปท. ทั้งเทศบาล และ อบต. และคุณครูที่มาจากโรงเรียนเอกชน แต่กลุ่มครูผู้ดูแลเด็กที่มาจาก อปท.มีมากกว่าครึ่งห้อง (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งก็คือครูผู้ดูแลเด็ก ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ดูแลเด็กต่อในระดับปริญญาตรี สาขาปฐมวัย เพื่อเพิ่มเติมทักษะ เสริมศักยภาพทางวิชาการ)

            เท่าที่สังเกตุจากทักษะการปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษา กับอาจารย์ผู้สอนแล้ว เห็นถึงความแตกต่างของครูผู้ดูแลเด็ก ที่มาจากหน่วยงานอปท. กับคุณครูในโรงเรียนเอกชน ได้ชัดเจน และด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนรอบนี้เป็นหลักสูตรแบบเร่งรัด (Intensive course) นักศึกษาและอาจารย์จะได้เจอกันเพียง ๕ คาบเท่านั้น (คาบละ ๓ ชม.) และเอกสารการเรียนการสอนที่อาจารย์ประจำวิชา (ตัวจริง) ทำยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี จึงได้โอกาสขอออกแบบ และปรับการเรียนการสอนกันหน้าห้องเรียนนั้นเลย ...

            ครูผู้ดูแลเด็กจาก อปท.บางคนไม่เคยทำงานชุมชน คุณครูบางคนไม่เคยทำงานวิจัยในชั้นเรียน มีเพียงคน หรือ ๒ คนเท่านั้นที่เคยทำวิจัยหน้าเดียว โดยใช้ปัญหาในการเรียนรู้ของเด็ก (PBL : Problem Based learning ) มาเป็นคำถามในการทำวิจัยหน้าเดียวในครั้งนี้ จะว่าไปก็เหมือนกับ R2R ดีๆ นี่เอง ...

            ดังนั้นจึงตั้งโจทย์บูรณาการทั้ง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน คือ การทำงานวิจัยชิ้นเล็กๆ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

            หลังจากป้อนข้อมูลในคาบแรกๆ ก็ถึงการประมวลผลกลุ่มนักศึกษา โดยเริ่มจาก BAR : Before Action Review กันในกลุ่มของตัวเอง ได้ผลอย่างไรเอาไปปรับแก้และนำไปทดลองใช้ โดยทั้งกลุ่มจะใช้เวลา ๑ สับปดาห์หลังการเรียนการสอนของพวกเค้าเองลงไปในชุมชนใกล้เคียง ไม่ว่าจะแถวๆ บ้าน หรือแถวๆ โรงเรียนที่ทำงานกันอยู่ซึ่งก็ถือว่าเป็นชุมชนการทำงานของตนเอง ก็แล้วแต่จะออกแบบกันมา ๑ สัปดาห์มานำเสนอกัน

            ๑ สัปดาห์ผ่านไป ก่อนที่นักศึกษาจะขอนำเสนอ ได้แจกกระดาษปรู๊ฟ และสีเทียน กลุ่มละ ๑ กล่องเพื่อทำการ AAR : After Action Review กันเองภายในกลุ่ม ให้ได้รูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างไปจากเดิมที่คุ้นชิน โดยขอยืมวิธีการ ของ อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ มาเป็นเครื่องมือในการแปลผลการวิจัยชิ้นย่อยๆ นี้ของนักศึกษา หรือ วิธีจัดการกับผลการวิจัย (Research Result  Management) นั่นคือ วิธีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology)

            ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มกันเอง และการทำงานกับชุมชนที่ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและร่วมกระบวนการไปด้วยกัน ...

            นอกจากนี้ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า นวัตกรรม (Innovative) อาจไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ไอที สื่อดิจิตอล เท่านั้น นวัตกรรม อาจหมายถึง กระบวนการสร้างองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรม โดยมีเทคโนโลยีเหล่านั้นช่วยในการอำนวยความสะดวกมากขึ้นเท่านั้น ....

 

หมายเลขบันทึก: 316859เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นบันทึกบทเรียนจากการสอน ทั้งสำหรับการอ่านหาความคิดและเป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ไปด้วยอย่างดีเลยนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

  • ขอบพระคุณสำหรับข้อมูล สื่อพาวเวอร์พอยด์ที่อาจารย์หยิบยื่นได้ทันใช้ (ทันใจ)
  • แล้วจะกลับไปขอคำแนะนำอีกทีที่ศาลายาค่ะ

ได้รับคำชมแล้วณัชพัชร์..สู้ๆจ้า...

 

  • ใช่ค่ะ ครูอ้อยเล็ก เป็นกำลังใจเล็กๆ จากคำพูดน้อยๆ แต่ในความรู้สึกมันมหาศาลกับอาจารย์จากอาจารย์ของอาจารย์อีกทีแหละค่ะ
  • สู้ๆ แน่นอนค่ะ ขอบพระคุณครูอ้อยเล็ก ด้วยเช่นกันนะค่ะ ^^

P..ขอบคุณค่ะณัชพัชร์..หวังว่ามีโอกาสจะแวะไปเยี่ยมเยือนพี่อาจารย์ดร.วิรัตน์สักครั้งนึง..เป็นเรื่องแปลกที่คนใกล้ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้ไป..แต่คนไกล..มาพบเจอกันไปเรียบร้อยแล้ว...

สวัสดีค่ะ ครูอ้อยเล็ก

  • งั้นรีบหาโอกาสแวะมาให้ได้ภายใน  ๒ สัปดาห์นี้นะค่ะ
  • เพราะจะโยกย้ายผลงานของอาจารย์วิรัตน์ ไปแสดง และทำกิจกรรมกันที่ โรงเรียนพลอยภูมิ (โรงเรียนวิถีพุทธ) ต่อไปค่ะ ^^
  • ขอบคุณสำหรับดอกบัวงามๆ นะค่ะ

                           

 เรียนรู้แบบเด็กประถมในการใช้แผนที่ทางความคิด  ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยมีคุณครูชวนกันคุย พากันทำ มองจากภาพรวมแล้ว ผลที่ได้ไม่ซับซ้อน ถามมา ตอบไป ผลไม้สีเหลือง ก็กล้วย ผลไม้รูปร่างยาวๆ ก็มะละกอ รูปร่างกลมๆ ก็นึกถึงส้มเป็นอันดับแรกๆ รูปร่างใหญ่ก็แตงโมผลใหญ่ๆ แต่ถ้าไปดู Mind Map ของเพื่อนคนอื่นอาจจะได้ชื่อผลไม้ที่แตกต่างไปจากของเรา ก็ตามแต่ใครจะรู้จักผลไม้ชนิดไหน ถ้าคุณครูเอา Mind Map ของทุกคนมารวมเป็นภาพใหญ่ นักเรียนก็จะได้รู้จักผลไม้ชนิดอื่นๆ จากเพื่อนในห้องอีกด้วย ...

มองแบบบูรณาการการสอน คุณครูสามารถนำกระบวนการนี้ หรือนำ Mind Map แผ่นนี้ผนวกการสอนวิชาอื่นๆ ลงไปด้วย นอกเหนือจากวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว อย่าง วิชาศิลปะ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิชาภาษาไทย หรืออาจจะเพิ่มภาษาอังกฤษ (ถ้าบ้างโรงเรียนเริ่มสอนแล้ว โรงเรียนรัฐบาลเริ่มเรียนชั้นประถม ๕)

การได้นำกระบวนการเรียนรู้ผ่าน แผนที่ทางความคิด (การเรียนรู้แบบการคิดมโนทัศน์) และแผนภาพปรากฏการณ์วิทยา ของอาจารย์ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ไปทดลองใช้กับนักศึกษาเพื่ออธิบายผลงานวิจัยชิ้นเล็กๆ ของเค้า อีกส่วนนึงก็เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม แต่นักศึกษากลับใช้ผิดวิธี เพราะบางกลุ่มชวนคุยกันแล้วจดลงในกระดาษก่อนนำมาบันทึกลงในแผนภาพปรากฏการณ์ .. ความผิดพลาดนี้เดาได้ไม่ยาก เป็นเพราะตัวอาจารย์เอง Conceptual Thinking ยังอ่อนแต่ริอาจหยิบไปใช้ ทำให้นักศึกษาเห็นเป็นเรื่องยากไป จะว่าตัวอาจารย์ไม่คุ้นเคยก็ไม่ใช่ แต่ขาดการฝึกฝนนั่นเอง สงสัยว่าจะต้องหันกลับไปใช้กระบวนการของเด็กประถม ๑ ถามมา ตอบไป ตรงไป ตรงมาดี อันนี้ถือว่าเป็นเงื่อนไข(ปัญหา) ของตัวอาจารย์มือใหม่หัดสอน .....

เข้าใจง่ายขึ้นเหมาะสำหรับครูที่ยังไม่ไ้เป็นครูเต็มตัว(ขาดใบประกอบวิชาชีพ)

สวัสดีค่ะ คุณสมพร พงษ์วัน :

  • ขอบคุณค่ะที่แวะเข้ามาพูดคุยกัน ..
  • ครูขาดใบประกอบวิชาชีพ ตอนนี้เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ?
  • ที่คุณสมพร บอกนี่หมายถึงครูหลักสูตร ๔ ปีหน่ะรึค่ะ?
  • ข่าวว่าหลักสูตร ๕ ปีจะยกเลิกเพราะปริมาณครูล้นตลาด แต่ก็มีข่าวว่าจะมีหลักสูตรครู ๖ ปี จบโทเลย จะยังงัยกันหล่ะนี่???

คุณ ณ้ฐพัชร์

สบายดี นะครับ

ด้วยความระลึกถึง ครับ

สวัสดีค่ะ คุณแสงแห่งความดี

  • ก็สบายดีขึ้นแล้วหล่ะค่ะ ที่บอกอย่างนี้ก็คือ เพิ่งออกจากโรงพยาบาลมาหมาดๆ ค่ะ ^^"
  • แล้วคุณแสงแห่งความดี สบายดีนะค่ะ เห็นหายไปพักนึงหน่ะค่ะ ระลึกถึงเช่นกันค่ะ
  • รุ้งสวย สดใสจังค่ะ ..
  • ขอบคุณค่ะ ^^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท