น้ำส้มสายชูลดน้ำตาลในเลือด [EN]


ท่านอาจารย์อะนาฮัด โอ'คอนเนอร์ ตีพิมพ์เรื่อง 'The Claim: Vinegar can help lower blood sugar levels' = "เคลม (ข้อกล่าวอ้าง): น้ำส้มสายชูช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ nytimes ]

การศึกษาหนึ่งจากอิตาลีทดลองให้อาสมัครที่มีสุขภาพดีกินน้ำส้มสายชู 4 ช้อนชา = 20 มิลลิลิตร (1 ช้อนกินข้าวไทย = 7-9 มิลลิลิตร; เฉลี่ย 8 มิลลิลิตร; 20 มล. = 2 ช้อนกินข้าวกับอีกครึ่งช้อน)

... 

การศึกษานี้ให้ใช้น้ำส้มสายชูเป็นน้ำสลัด (salad dressing; dressing = น้ำสลัด) กินกับขนมปังขาวเล็กน้อย ไม่ถึง 2 ออนซ์ (50 กรัม) [ wikianswers ]

กลุ่มควบคุมให้กินน้ำสลัดแบบทำให้ความเป็นกรดลดลง (neutralized vinegar; ใช้เบสหรือด่างเสริม เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต / ผงฟู ฯลฯ) [ answers.yahoo ]

...

ขนมปังในสหรัฐฯ มีน้ำหนักเฉลี่ย 28-31 กรัม/แผ่น หรือประมาณ 30 กรัม/แผ่น, ปริมาณขนมปังขาว 50 กรัม = 1 แผ่น + 2/3 แผ่น

ผลการศึกษาพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารเพิ่มช้าลง 30%

...

กลไกที่เป็นไปได้ คือ น้ำส้มสายชูมีฤทธิ์ไปยับยั้ง (block) น้ำย่อยคาร์โบไฮเดรต (enzymes) ที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลได้บางส่วน ทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง

การศึกษาในปี 2547 (ตีพิมพ์ใน Diabetes Care) ทำการศึกษาในคนไข้เบาหวาน หรือคนไข้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

... 

กลุ่มหนึ่งให้กินน้ำส้มสายชู อีกกลุ่มหนึ่งให้กินยาหลอก (placebo) ก่อนอาหารที่มีคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรตสูง (carb-heavy meal; carb = carbohydrate = อาหารกลุ่มแป้ง-ข้าว-น้ำตาล)

ผลการศึกษานี้พบว่า คนไข้ที่กินน้ำส้มสายชูก่อนอาหารช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน

...

อ.ซู แมคลัฟลิน โฆษกหญิง (spokeswoman) แห่งสมาคมเบาหวานแนะนำว่า ยังไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมใดที่ช่วยในการควบคุมเบาหวาน หรือระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเท่าการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

ทว่า... คนไข้เบาหวาน หรือคนที่เป็นภาวะก่อนเบาหวาน (prediabetes; pre- = ก่อน; diabetes = เบาหวาน) อาจทำการทดลองง่ายๆ กับตัวเองได้

...

วิธีที่ทำได้ไม่ยาก คือ ทดลองกินอาหาร 2 แบบ กินอาหารให้เหมือนกัน เวลาเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน ออกแรง-ออกกำลังให้เท่ากัน แบบหนึ่งให้กินน้ำส้มสายชูก่อนอาหาร อีกแบบหนึ่งไม่กินน้ำส้มสายชู

แล้วเจาะเลือดดูว่า วิธีนี้ดีกับตัวเราหรือไม่

...

ข้อดีอื่นๆ ของการกินน้ำส้มสายชูก่อนอาหาร หรือใช้น้ำส้มสายชูแทนสลัด คือ กรดอ่อนๆ ในอาหารช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ [ howstuffworks ]

ข้อควรระวังของการกินน้ำส้มสายชู คือ กรดทุกชนิดทำให้เคลือบฟันอ่อนลงชั่วคราว ควรบ้วนปากหลายๆ ครั้งทันทีหลังกิน และบ้วนปากซ้ำอีกหลายๆ ครั้งทุกๆ 5-10 นาที

... 

อย่าเพิ่งรีบแปรงฟันหลังอาหาร เนื่องจากอาหารที่มีกรด เช่น ผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ ทำให้เคลือบฟันอ่อนลงประมาณ 30-60 นาที

การแปรงฟันในช่วงที่เคลือบฟันอ่อนตัวทำให้ฟันสึกเร็ว เสี่ยงเสียวฟันและฟันผุมากขึ้น, ตรงกันข้ามการบ้วนปาก การใช้น้ำยาบ้วนปากหลังอาหาร หรือเคี้ยวหมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาล ลดเสี่ยงนี้ได้ 

...

ถ้าชอบแปรงฟันหลังอาหารที่มีกรด เช่น น้ำส้มสายชู ฯลฯ ผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ฯลฯ ... ควรรอ 30-60 นาที (ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำอัดลม ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำผลไม้กรองกากทิ้ง ควรดืมน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก-ไม่เติมน้ำตาล หรือ 'Smoothie' แทน)

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'The Claim: Vinegar can help lower blood sugar levels' = "เคลม (คำกล่าวอ้าง: น้ำส้มสายชูช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@@ [ vinegar ] > [ วิ้น - นี - เก่อ ] แบบอเมริกัน; [ วิ้น - นี - ก่า ] แบบอังกฤษ > http://www.thefreedictionary.com/vinegar > noun = น้ำส้มสายชู

...

@@ blood sugar = น้ำตาลในเลือด (blood = เลือด; sugar = น้ำตาล)

@@ [ spokesman ] > [ s - โป๊ค - s - แหม่น ] > http://www.thefreedictionary.com/spokesman > noun = โฆษก (ใช้ในความหมายรวมๆ ไม่แบ่งเพศ หรือใช้แบ่งเพศว่า เป็นโฆษกชาย)

@@ [ spokeswoman ] > [ s -โป๊ค - s - วู้เมิ่น ] > > noun = โฆษกหญิง

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 26 พฤศจิกายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 316179เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009 03:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท