มนุษยสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน


ไม่ควรยึดติดกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา อะไรที่ไม่ดีผ่านมาแล้วก็ขอให้ผ่านเลยไป เก็บเอาสิ่งที่ดี ๆ ที่มีให้ต่อกันเอาไว้เท่านั้น เพราะถ้าเรายึดติดกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีเรากับเขาก็จะไม่เข้าใจกัน


          เมื่อวันศุกร์เข้าไปสอนนักศึกษาชั้น ปวส.1 ในตอนเช้า 2 ชั่วโมง ก่อนจะออกจากห้องได้สัญญากับนักศึกษาแผนกวิชาช่างยนต์ไว้ว่า วันอาทิตย์หากครูกลับมาจาก กทม. และไม่เหนื่อยจนเกินไป ก็จะมาลงบทความให้อ่าน กลับมาถึงยะลาตอนเช้าของวันนี้ ก็เผลอหลับไปตื่นอีกทีก็ใกล้เที่ยง เหนื่อยค่ะเหนื่อยมากกับการเดินทาง และมีเรื่องที่เพิ่งจะทำให้เหนื่อยมาก ๆ เมื่อสักครู่ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องแต่มันก็เป็นเรื่องขึ้นมา... แต่ก็ยังไม่ลืมคำสัญญาที่ให้กับเด็กนักศึกษาค่ะ

          ครูพยายามคัดเลือกบทความอยู่หลายสิบบทความ ที่จะนำมาเผยแพร่แต่ไม่ได้ต้องการให้นักศึกษาแข่งขันกันว่าของใครดีเลิศ หรือของใครแย่สุด เพราะทุกคนก็มีส่วนที่เป็นจุดเด่นของแต่ละคนที่แตกต่างกัน แต่จุดประสงค์หลักคือต้องการให้นักศึกษามุ่งมั่นสนใจ ใส่ใจกับการทำงาน กิจกรรมในชั้นเรียนให้มากขึ้น บทความที่คัดเลือกมามี 2 บทความ ในหัวข้อนักศึกษาใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์อย่างไรในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ?

          บทความที่ 1  เป็นของนายรุสลี  มะแซะ   นักศึกษาชั้น ปวส.1 แผนกวิชาเทคนิคการผลิต เขียนไว้ว่า

          “ใช้หลักการให้อภัย, เกรงใจซึ่งกันและกัน, ไม่ถือตัว”
          หากมีใครทำอะไรผิด ถ้าเขามาขอโทษก็ควรให้อภัย ไม่ควรยึดติดกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา อะไรที่ไม่ดีผ่านมาแล้วก็ขอให้ผ่านเลยไป เก็บเอาสิ่งที่ดี ๆ ที่มีให้ต่อกันเอาไว้เท่านั้น เพราะถ้าเรายึดติดกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีเรากับเขาก็จะไม่เข้าใจกัน การให้อภัยก็จะไม่เกิดขึ้นสุดท้ายเราเองก็จะเป็นฝ่ายที่ทุกข์ใจ เพราะไม่ยอมปล่อยวางสิ่งที่ไม่ดี

          บทความที่ 2 เป็นของ นายไพฑูรย์  แก้วทอน  นักศึกษาชั้น ปวส.1  แผนกวิชาช่างยนต์ เขียนไว้ว่า

          “ทักทายเมื่อเราพบเจอกับเพื่อน และเราสามารถเป็นที่ปรึกษาและแนะนำเพื่อนได้”
          เมื่อเพื่อนมีปัญหา ไม่กล้าที่จะไปพูดหรือปรึกษากับใครเราก็สามารถยื่นมือเข้าไปขอเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่เพื่อน ปลอบใจเพื่อน ชี้นำทางไปในทางที่ถูกที่ควร เพราะหากถ้าเราซ้ำเติมเขาเขาก็อาจจะหลงทางและอาจทำให้มีหลายคนที่เสียใจ ที่แน่ ๆ คือ พ่อแม่ นั่นเอง เพราะฉะนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและทุก ๆ คนที่อยู่รอบข้างนั้นแหละคือสิ่งที่ถูกต้องเพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

          ครูขอชื่นชมในผลงานของนักศึกษาทุกคน ถึงแม้จะไม่ได้นำมาลงในบทความหมดทุกคน แต่ครูก็อ่านบันทึกของทุกคนแล้วและล้วนแต่เป็นการตอบที่ครูประทับใจมาก ๆ เป็นกำลังใจให้สำหรับก้าวต่อไปค่ะ "เพราะเรามิได้อยู่บนโลกนี้เพียงลำพังคนเดียว มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคม...มองและเข้าใจคนอื่นอย่างที่มองและเข้าใจตนเอง สังคมแห่งความสงบสุขก็จะเกิดขึ้น"

หมายเลขบันทึก: 31589เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2006 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีครับ ถ้าเด็กเห็นชื่อเห็นเรื่องของเขา เป็นรางวัลที่เขาภูมิใจมากเลยครับ พี่บอกให้เขาดูซิครับ ผมว่าพฤติกรรมเขาเปลี่ยนแน่ เปิดคลินิคให้คำปรึกษาเด็กบน blog ซิครับ

เห็นด้วยคะ  อาจารย์เก่งจังเลย สอนนักศึกษาช่างยนต์ ด้วย...ของนิวจะไม่ค่อยกล้าสอนเด็กช่างหรอกคะ  กลัว !! (แต่ก็เข้าใจว่าเด็กช่างที่ดี ๆ ก็มี เหมือนกัน...อย่างที่นิวเคยเขียนไว้ว่าทำไมสังคมถึงต้องมองเด็กอาชีวะไม่ดี นั่นแหละ !! ทั้ง ๆ ที่นิวก็เป็นเด็กอาชีวะคนนึง)

คุณ "007"

เป็นความคิดที่ดีค่ะ พี่เคยได้ยินคำพูดนี้จากใครคนหนึ่งบอกให้พี่เปิดคลินิคให้คำปรึกษากับเด็กบน blog และพี่ก็เห็นด้วยอย่างมาก แต่ตอนนี้กำลังดูระบบข้อมูลนักศึกษานิดหน่อย แต่คาดว่าจะสำเร็จในไม่ช้าค่ะ

พี่เคยทดลองค่ะ พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนไปมาก ห้องนึงไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะขึ้น blog ให้ ก็เห็นเขาเฉย ๆ ในกิจกรรมที่จัดให้ แต่อีกห้องคือช่างยนต์เมื่อวันศุกร์ที่แล้วได้แจ้งนักศึกษาไป ปรากฎว่าทุกคนดีใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมครั้งนี้มาก เห็นแล้วก็รู้สึกว่ามันเปลี่ยนแปลงไปจริง ๆ ในขณะที่ไม่เคยเห็นเด็กช่างจะกระตือรือร้นได้ขนาดนี้ ก็เป็นความภูมิใจของครูที่เห็นเด็กกระตือรือร้นได้ขนาดนี้ ยังบอกเขาว่าครั้งนี้ไม่ได้ลงไม่เป็นไรนะ เดี๋ยวครั้งต่อไปตั้งใจให้มากกว่านี้ มีโอกาสแน่ เพราะครูเชื่อว่าทุกคนทำได้ และทำได้ดีด้วย "ดูเขามีความสุขกับการเรียนขึ้นเยอะเลยค่ะ"

น้องนิว...คนสวย

เด็กช่างไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเลยค่ะน้องนิว เขาเป็นเด็กน่ารักมาก หากแต่เราได้ใช้วาจาที่ไพเราะกับเขาเข้าใจเขา เขาก็จะพูดภาษาดอกไม้กับเราค่ะ ครูบางคนมองว่าเด็กช่างต้องใช้วาจาสื่อสารกับเขาแบบหยาบคาย แข็งกระด้าง เขาถึงจะเชื่อฟัง แต่เท่าที่สัมผัสมาไม่เป็นเช่นนั้นเลย หากแค่ครูได้ใช้กัลยาณมิตรกับเขาแน่นอนที่สุดเขาก็ย่อมต้องตอบด้วยกัลยาณมิตรที่ดีกลับมาเช่นกัน

 

อิอิ...นิวยังไม่ค่อยเก่งคะ  วิธีการของนิวเวลาที่ต้องสอนนักศึกษาชาย ก็คือ จะเฉย ๆ และไม่พูดเล่นกับเค้า เหอ ๆ  จะทำให้เค้ารู้สึกเกรงใจมั๊งคะ  แล้วก็ไม่กล้าคุย+เล่น ในห้องกันมาก ..  นิวก็ไม่รู้ว่าทำถูกหรือเปล่านะ แต่มันก็ได้ผลคะ  (แต่จริง ๆ แล้วนิว ก็นึกขำอยู่เหมือนกันว่า..อืมมม ทำไมเราถึงทำมาดเข้มได้ขนาดนี้ อิอิ...) // คิดถึงอาจารย์วิจิตรา กับ อาจารย์ขจิต เสมอนะคะ  ช่วงนี้นิวคงยังไม่มีบทความคะ  แต่จะมีเร็ว ๆ นี้แน่นอน อย่าลืมเข้ามาอ่านแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะคะ ขอบคุณคะ

น้องนิว...คนสวย

คิดถึงเช่นกันจ๊ะสาวน้อยที่น่ารัก...แล้วจะรออ่านบทความของน้องนิวค่ะ "มองว่าอยู่ที่เทคนิคการสอนของแต่ละบุคคล บวกกับสภาพการณ์ในชั้นเรียนขณะนั้นที่ครูพบเจอด้วยว่าเป็นเช่นไร" ไม่มีผิดไม่มีถูกค่ะ...ส่งภาพมาให้ก็ค่อยคลายความคิดถึงไปนิดนึง...

  • รออ่านบทความอยู่ครับ
  • ช่วงนี้ไปประชุมกับคุณชายขอบสุดหล่อและDr. Ka-poom สุดสวย
  • ขอบใจเจ้าคะ ที่ยังระลึกถึงอยู่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท