แฟงน้อย-โหบิเนียน และอาเซียน อดีตที่เชื่อมโยงกันมาอย่างยาวไกล


            วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน ก่อนลมหนาวจะพัดมา  ผมพานักเรียนไปศึกษาประวัติศาสตร์และธรรมชาติที่ริมแม่น้ำแควน้อยมาครับ  ไล่เรียงกันตั้งแต่น้ำตกไทรโยคน้อย  อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า  และมาสิ้นสุดลงที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว
            แม่น้ำแคว..ไม่น่าเชื่อว่าสายน้ำสวยงามสายนี้..สั่งสมวัฒนธรรมและเหตุการณ์ของโลกไว้อย่างมากมาย  เกินกว่าจะบรรยายครับ
            สะพานข้ามแม่น้ำแควกับบาดแผลของสงครามโลกครั้งที่สองนั้น อาจเป็นรอยอดีตที่เจ็บปวดของคนเป็นจำนวนมาก  แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบอารยธรรมสำคัญของคนในถิ่นนี้..
            เพราะว่าช่วงของสงครามครั้งนั้น  เฉลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายนี้  ได้พบกับร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย  ดร.แวน  ฮีเกอเรน (Dr.Van Heekeren)คือเชลยศึกคนนั้น  ผู้พบเครื่องมือสมัยหิน ซึ่งได้ชื่อว่าวัฒนธรรมแฟงน้อย หรือวัฒนธรรมแควน้อยและถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรีอย่างจริงจังในเวลาต่อมา
           เมื่อคณะของผมเดินทางไปถึงพิพิธภัณฑ์บ้านเก่า  ทำให้ผมได้ความรู้อีกว่า....มีการพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ได้จากถ้าหินปูนในจังหวัดกาญจนบุรี เช่น ที่ถ้ำเขาทะลุ ถ้ำเม่น ถ้ำหีบ เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินกลาง ซึ่งจัดเป็นวัฒนธรรมโหบิเนียน (Hoabinhian)ที่คล้ายคลึงกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เครื่องมือหินกะเทาะเครื่องมือ  เครื่องใช้ทำจากกระดูกสัตว์และเปลือกหอย
           เป็นวัฒนธรรมของใคร..เราไม่อาจรู้ได้  รู้แต่เพียงว่า..ผู้คนเหล่านี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผาใกล้แม่น้ำ  รู้จักนำหินกรวดแม่น้ำมากะเทาะเป็นขวานหินและเครื่องมือสะเก็ดหิน ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์  และเก็บพืชผักผลไม้เป็นอาหาร  รวมทั้งมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับชนในที่ราบ
           สำหรับวัฒนธรรมโหบิเนียน เป็นชื่อวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่ได้ชื่อมาจากแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดหัวบิน ตอนเหนือของเวียดนาม  เป็นวัฒนธรรมที่กระจายอยู่ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน เวียดนาม พม่า ลาว ไทย ไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนิเซีย..
           เป็นวิถีของมนุษย์เพิงผา  เก็บของป่าล่าสัตว์ ..
           เรื่องของแฟงน้อย..โหบิเนียน ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนในดินแดนแถบนี้มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกันมาเป็นเวลานานแล้ว..ก่อนที่จะเป็นอาเซียนเสียอีก

หมายเลขบันทึก: 315590เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เก็บตกเรื่องราว นำมาเล่าฝากกันครับ

สวัสดีค่ะ P

* จำได้ว่าไม่ได้มาทักทายอาจารย์นานมาก ต้องขอโทษด้วยนะคะ

* ที่โรงเรียนพึ่งเสร็จ ภารกิจประเมินนักเรียนรางวัลพระราชทาน สมศ. และการแข่งขันทักษะทางวิชาการค่ะ เลยไม่มีเวลาได้มาทักทายกัลยาณมิตรทั้งหลายได้มากนัก

* เคยไปทัศนศึกษาสมัยเรียนมัธยมค่ะ ยังประทับใจในความงดงามของแม่น้ำแคว สะพานข้ามแม่น้ำ อันเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ สุสานพันธมิตร  น้ำตกไทรโยค สวยงามเป็นที่สุด มีโอกาสคงต้องไปอีกสักครั้ง

* ขอบพระคุณอาจารย์ที่ทำให้ระลึกถึงวันเก่าๆ ค่ะ

* ระลึกถึงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท