ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

KM ในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาข้อสอบกลางของมหาจุฬาฯ


ผลจากการที่มหาจุฬาฯ ได้นำระบบการจัดการองค์ความรู้มาใช้ในการดำเนินโครงการข้อสอบกลางนั้น ในปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยมีเกณฑ์มาตรฐานในการวัดผลและประเมินผลของนิสิตที่มีอยู่ทั่วโลก ประมาณ 10,300 รูป/คน ฉะนั้น ไม่ว่าอาจารย์จะสอนในมุมใดของโลก แต่เราก็สามารถมีข้อสอบกลางที่ได้มาตรฐานในการวัดผลและประเมินผลเพื่อให้ นิสิตมีคุณภาพทั้งในแง่ของกายภาพและจิตภาพ

         “การจัดสอบด้วยข้อสอบกลาง” เป็น “นโยบาย” ที่สำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพราะเป็นเครื่องมือ และกลไกสำคัญประการหนึ่งในการสร้างมาตรฐานทางวิชาการ และประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อนำไปสู่การเป็นเลิศทางวิชาการด้านการศึกษาพระ พุทธศาสนา และสาขาวิชาอื่นๆ ที่จัดโดยมหาวิทยาลัย 

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลและเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจการก้าวหน้ามาโดยตลอด ได้ขยายส่วนงานจัดการศึกษาขึ้นในส่วนภูมิภาครวม ๑๐ วิทยาเขต ๕ วิทยาลัยสงฆ์ ๑๒ ห้องเรียน และ ๑๖ หน่วยวิทยบริการ มีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และในปีการศึกษา ๒๕๕๐ ปรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาของคณะพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ ให้มีจำนวนหน่วยกิต ๑๔๐ หน่วยกิต และคณะครุศาสตร์ มีจำนวนหน่วยกิต ๑๕๐ หน่วยกิต

         ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะได้รับปริญญา ”พุทธศาสตรบัณฑิต” เหมือนกันทั้งหมด เนื่องจากต้องศึกษาวิชาแกนพระพุทธศาสนา จำนวน ๓๐ หน่วยกิตเป็นภาคบังคับ แต่จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีตนั้น คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่างจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามแนวทางของตนเองแม้จะเป็นวิชาเดียวกันก็ตาม บางรายวิชาไม่มีตำราที่กำหนดใช้ร่วมกัน โครงสร้างรายวิชาไม่ตรงกัน การวัดและประเมินผลมีการใช้เครื่องมือ วิธีการและเกณฑ์ในการประเมินที่แตกต่างกันทั้งที่เป็นการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยจึงขาดความเป็นเอกภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงคุณภาพบัณฑิต อันเป็นผลผลิตร่วมกันในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงได้นำแนวคิดเรื่อง "การจัดการความรู้" ใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยนำระบบการผลิตตำรา และระบบการจัดสอบโดยใช้ “ข้อสอบกลาง” มาใช้ร่วมกัน

          ด้วยเหตุนี้ กระบวนการแบ่งปันองค์ความรู้ (Knowledge Sharing) จึงเกิดขึ้นในกลุ่มของคณาจารย์ที่ดำเนินการเรียนการสอนในวิชาแกนของมหาวิทยาลัย เช่น วิชาการปกครองคณะสงฆ์ไท วิชาธรรมภาคภาษาอังกฤษ และวิชาพระวินัยปิฏก โดยแต่ละท่านได้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยการทบทวนการปฏิบัติงานนั้น ๆ หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมผ่านมา (After Action Review: AAR)

          ผลจากการที่มหาจุฬาฯ ได้นำระบบการจัดการองค์ความรู้มาใช้ในการดำเนินโครงการข้อสอบกลางนั้น ในปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยมีเกณฑ์มาตรฐานในการวัดผลและประเมินผลของนิสิตที่มีอยู่ทั่วโลกประมาณ 10,300 รูป/คน ฉะนั้น ไม่ว่าอาจารย์จะสอนในมุมใดของโลก แต่เราก็สามารถมีข้อสอบกลางที่ได้มาตรฐานในการวัดผลและประเมินผลเพื่อให้นิสิตมีคุณภาพทั้งในแง่ของกายภาพและจิตภาพ       

 

หมายเลขบันทึก: 315589เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอชื่นชมพระอาจารย์นะครับที่มุ่งทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ คิดว่าคงจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนทนาธรรมกับพระอาจารย์นะครับ

นมัสการพระคุณเจ้า

มาตามข่าวต่อเจ้าค่ะ

  • นมัสการท่านรองฯ
  • ดีใจที่พบพระ
  • เคยไปเป็นอาจารย์พิเศษด้วย
  • แต่นานมาแล้ว
  • มีอะไรพอช่วยเหลือได้ยินดีครับ
  • เอาอันนี้มาฝากก่อนครับ

http://gotoknow.org/blog/katti/199894

ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

  • ไปที่เมนูของ ….
  • ไปที่ไฟล์อัลบัม
  • กดนำไฟล์ขึ้น
  • browse หาภาพจากเครื่อง
  • กดบันทึก
  • ไปที่บันทึก
  • กดแก้ไขบันทึก
  • ข้างล่างมีเขียนว่า
  • แทรกรูปภาพ
  • กดที่แทรกภาพ
  • จะเห็นภาพปรากฏ
  • กดที่ภาพ
  • ภาพจะไปอยู่ที่บันทึก
  • กดบันทึกเก็บ
  • เดี๋ยวจะตามมาดูนะครับ

เจริญพร อาจารย์

ขอบใจที่แวะมากทักน่ะ จะหาโอกาสดีๆ เชิญมาเยี่ยมชมมหาจุฬาฯ บ้าง มาบรรยายภาษาอังกฤษใ้ห้ลูกศิษย์อาตมาที่สถาบันภาษาฟังบ้าง

นมัสการครับ ด้วยความยินดีครับ อาจารย์ ดร.อุทัย เคยไปช่วยทำงานอยู่ช่วงหนึ่งใช่ไหมครับ

เจริญพร

อุทัยไหนเอ่ยยยยย มีหลายอุทัยมากเลยอาจารย์

เจริญพร อาจารย์

ถ้าแบบนี้หล่ะก็ชัดเจนมาก มาบรรยายที่มจร.บ่อยๆ ในฐานะศิษย์พี่ของพวกเรา ขอบใจอาจารย์มากๆ ที่กรุณาส่งมาให้

ถ้าไม่ผิด...สอบภาคการศึกษาที่ ๒

ทางกองวิชาการก็ได้แจ้งเรื่องการรับข้อสอบกลางแล้ว.....และสอบถาม ..เรื่อง...การพัฒนาคณาจารย์...โดยให้อาจารย์ผู้สอนเสนอเเนะ...วิธีการสอน.อะไรบ้าง..ด้วย.คับ

บางสิ่งที่ผ่านมา

นิสิตได้เข้ามาสอบถามอยากให้อาจารย์ผู้สอนได้มีส่วนร่วมในการออกข้อสอบ.....

..ข้อจำกัดของนิสิต ต่างจังหวัด...มีบางส่วนท่านเป็นพระสังฆาธิการ.....ค่อนข้างเยอะ......

......สิ้นปีการศึกษานี้อยากให้มีการประชุม ระดมปัญหา...ข้อสอบกลางที่ผ่านมา....ว่าเป็นอย่างไร ครับ

หลวงพี่ครับ

กำลังเตรียมการครับ เรากำลังระดมเอาอาจารย์ทุกท่านมาคุุยเรือ่งข้อสอบกลาง และเป็นการคุยใหญ่เลยครับ หวังว่าจะได้แลกเปลีย่นมุมมองดีๆ จากทุกภาคสว่นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท