เครื่องดื่มชาเขียว


เครื่องดื่มชาเขียว...อร่อย>>

อย. น้อย

เครื่องดื่มชาเขียว

 ข้อมูลทั่วไป : ชาเขียวเตรียมจากใบชา (Camellia sinensis) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก มีกระบวนการผลิตโดยวิธีทำให้ใบชาแห้งที่อุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นใบชาจึงมีคุณภาพเหมือนใบชาสด เมื่อนำมาทำเป็นเครื่องดื่มชาจะให้สีเขียวหรือเหลืองอมเขียว มีรสฝาดกว่าชาจีน

ส่วนประกอบที่สำคัญ และสารประกอบอื่นๆ ที่พบในชาเขียว

1. Tea Favonols หรือ catechins มีปริมาณ 20-30 %ของน้ำหนักชาแห้ง (Balentine, et al., 1997, Sanderson et al., 1972) ซึ่งสารประกอบสำคัญของ catechin ได้แก่ (-)-Epigallocatechin-3-gallate(EGCG),(-)-Epigallocatechin(EGC), (-)-Epicatechin-3-gallate(ECG) และ (-)-Epicatechin(EC) คุณสมบัติของ catechin ละลายน้ำได้ รสขมฝาด โดยรสชาติของชาเขียวไม่ว่าจะเป็นสี กลิ่น รส มาจากการเปลี่ยนแปลง catechin (Balentine et al., 1997, Sanderson, 1972)

2. flavonoid มีปริมาณ 1-2 % ของน้ำหนักชาแห้ง ซึ่งสารประกอบที่สำคัญของ flavonoid ได้แก่ myrecetin, quercetin และ kaempferol (Balentine et al., 1997, Cheng and Chan, 1994)

3. alkaloid ได้แก่ caffeine มีปริมาณ 2.5-4.0 % ของน้ำหนักชาแห้ง (Cheng and Chan, 1994)

4. Phenolic acid ได้แก่ Gallic acid มีปริมาณ 0.4-1.6 % ของน้ำหนักชาแห้ง และ theogallin มีปริมาณ 1.0 % ของน้ำหนักชาแห้ง ( Cheng and Chan, 1994)

5. volatile compounds มีปริมาณ 0.01-0.03 % w/w

 การวิเคราะห์สารประกอบพฤษเคมี (Phytochemical) ได้แก่ วิธี spectrophotometric method, HPLC method, Capillary electrophoresis เป็นต้น

 ข้อแนะนำในการบริโภคชาเขียว
ประโยชน์และการป้องกันหรือรักษาโรคในการบริโภคชาเขียวที่มีการศึกษาเป็นการศึกษาเฉพาะในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลองซึ่งยังไม่เคยมีการศึกษาในมนุษย์และปริมาณที่ใช้ในการทดลองก็เป็นปริมาณที่สูงมากกว่าที่คนทั่วไปบริโภคหลายเท่าตัวอย่างเช่น การศึกษาที่พบว่าสาร (-)-Epigallocatechin-3-gallate (EGCG) ในชาเขียวในปริมาณ 10 ?M มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Johnson and Loo, 2000) แต่ถ้าทดสอบในปริมาณ 100 ?M จะมีผลทำลาย DNA (Long et al., 2000)

 ดังนั้นข้อแนะนำในการบริโภคชาเขียว เพื่อมุ่งหวังประโยชน์ด้านสุขภาพควรตระหนักในเรื่องปริมาณกาแฟอีน (Caffeine) ในชาเขียวเพราะกาแฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของประสาท เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต โดยเฉพาะเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ป่วยหัวใจก็ไม่ควรดื่มชา ปัจจุบันเครื่องดื่มชาเขียวที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมีปริมาณกาแฟอีนในชาประมาณ 14 -15 mg/100 ml ดังนั้นหากบริโภคชาเขียว 1 ขวด (500 ml) ก็จะได้รับ caffeine ในชาเขียว 70-75 mg/kg และที่สำคัญการดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้ เครื่องดื่มชาเขียวมีสารอาหารสำคัญได้แก่ น้ำตาล วิตามินซี และโซเดียม

 การที่ได้มีการกล่าวอ้างว่าชาเขียวมีสาร polyphenol ที่เป็นแอนติออกซิแดนซ์ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และโคเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน ความดันโลหิตสูง ให้สุขภาพที่ดีต่อหัวใจหรือร่างกาย การดื่มเป็นประจำทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพนั้น ผู้บริโภคต้องทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงว่าปริมาณของสารสำคัญที่กล่าวอ้างที่จะมีผลดังกล่าวต้องบริโภคมากกว่าที่บริโภคปกติหลายเท่า สรุปคือการบริโภคเครื่องดื่มชาเขียวทั่วไปเป็นเพียงเพื่อดับกระหายให้ความสดชื่นเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 315323เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท