จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

การศึกษากับทุนทางสังคม(2)


ก่อนเข้าสู่ประเด็นผลการสัมมนา คืนนี้คงต้องคุยเรื่องรอบข้างต่อก่อนนะครับ เนื่องจากยังไม่มีเวลาพอจะจับประเด็นมาเรียบเรียงได้ แต่ก็มีบางประเด็นที่ท่านอาจารย์เสียงเล็กๆ นำเสนอไปบ้างแล้ว

คำถามคือ ทำไมการเข้าไปมีส่วนร่วมของผมกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาในสามจังหวัดต้องด้วยการทำวิจัย ฮือ น่าคิดนะครับว่า ถ้าไม่ใช่การทำวิจัย แล้วมีอะไรดีกว่านี้บ้าง

เอาทางเลือกอื่นแบบง่ายๆ มานำเสนอก่อนนะครับ อะไรดีละ วิธีทั่วไปที่ใช้ในการพัฒนาคน พัฒนาบุคลากรคือการอบรมครับ อาจารย์ๆ มหาวิทยาลัยก็ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้กัน เมื่อหลายวันก่อนนั่งคุยกับอาจารย์ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งว่า ท่านรับเงินค่าวิทยากรเฉลี่ยแล้วเดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่าหมื่น ส่วนผมคงห่างไกลครับ และส่วนใหญ่ก็เสนอตัวไปพูดให้ฟรี โดยเอางบวิจัยเป็นค่ารถ ฮา (กรณีไม่เยอะหรอกครับ) แต่ถ้าเทียบปริมาณการเป็นวิทยากรบรรยาย ผมว่าความถี่ของผมก็ไม่น้อยนะครับ คำถามคือ ได้ผลอะไรต่อการยกระดับคุณภาพบ้าง ในส่วนตัวรู้สึกว่า การบรรยายจะสามารถสร้างความตื่นตัวให้กับผู้ฟังหรือผู้เข้าอบรมได้ครับ แต่ยังเป็นเรื่องยากที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะว่าในการบรรยายไม่สามารถให้รายละเอียดสู่การปฏิบัติได้มากนัก โดยเฉพาะให้บรรยายชั่วโมงสองชั่วโมง ที่สำคัญคือผู้เข้าอบรมยังขาดพี่เลี้ยงที่จะสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติจริง

จากประสบการณ์ส่วนตัว หลายครั้งที่ลงจากเวทีแล้วมีคนถามว่า อาจารย์ยกประเด็นมาคุยได้โดนกับที่นี้จริงๆ อาจารย์รู้ได้งัยว่าที่นี้มีปัญหานี้อยู่ ฮือ ผมตอบไปว่า ผมไม่รู้ว่าที่นี้มีปัญหาอะไรบ้าง แต่ผมคิดว่าอันนี้เป็นปัญหาโดยรวม คำตอบนี้เพื่อจากบอกว่า ความจริงของการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง ต้องรู้ถึงต้นตอของปัญหา แล้วนำไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขที่ตรงจุด ไม่ใช่เพียงแต่ให้ความรู้ทั่วไป หรือการทำนายเหตุการณ์แบบที่วิทยากรเดาเอาเอง อย่างนี้บรรยายไปอีกกี่ปีจึงจะเห็นผล (คงหาคนตอบได้ยากครับ)

วิธีการต่อมาที่ผมได้ทำไป คือ การจัดอบรม (โดยเฉพาะช่วงหลังทำบ่อยขึ้นครับ) อันนี้ผมคิดว่า น่าจะเห็นผลเชิงความเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการไปเป็นวิทยากรที่คนอื่นจัดเสียอีก เพราะเราจะเป็นคนออกแบบกระบวนการเองทั้งหมด เรามีเป้าหมายที่อาจจะมีมิติที่แตกต่างจากหลายหน่วยงานจัด ที่สำคัญมันได้เครือข่ายและความกว้างของการขยายผลมากกว่าแบบแรกครับ ฮือ แต่บางครั้งมุมที่เรามองต่างจากมุมที่คนปฏิบัติมองครับ มีครั้งหนึ่ง ผมว่าประเด็นที่ผมจะอบรมเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก แต่สุดท้ายมีคนตอบรับมาเพียงสี่คน ถามว่าทำไม คำตอบคือ คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักสิ่งที่ผมจะอบรม ฮา เพื่อไม่ให้ขาดทุน เวลาจัดอบรมเลยต้องเป็นประเด็นตามกระแสครับ มันจึงจะมีคนเข้าร่วม

จุดที่อาจจะเป็นตัวบอกถึงความล้มเหลวของการพัฒนาด้วยกระบวนการนี้คือ ขาดการติดตาม ขาดการกระตุ้นที่ต่อเนื่องครับ เสร็จอบรมอาจจะลืมไปเลยก็ได้ ที่สำคัญอย่างหลังนี้ลงทุนเองครับ โอกาสขาดทุนก็เยอะ เหนื่อยด้วยเมื่อเทียบกับแบบแรกที่ได้รับเงินแบบเห็นๆ (ฮือ ไม่โลภเลย)

ผมจึงมองว่า การวิจัยจะเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในสามจังหวัด เพราะกระบวนการนี้แตกต่างจากสองแบบที่ผมกล่าวมา ผมเลยแนะนำเพื่อนอาจารย์ที่ออกแบบวิธีการวิจัยที่ผูกโจทย์ว่า เป็นการวิจัยปฏิบัิติการว่า การวิจัยแบบนี้ไม่ใช่ไปจัดอบรม ไปบรรยายให้ใครฟัง ถ้าเข้าใจว่า การวิจัยเป็นการเอาความรู้ไปให้กลุ่มเป้าหมายของเราทำตามเรา ถือว่า เข้าใจผิดครับ เพราะถ้าทำอย่างนั้นมันก็เป็นแค่ชุดฝึกอบรมเท่านั้นเอง แต่นี้ที่เรากำลังจะทำ เราเรียกมันว่า "การวิจัย"

การวิจัยเป็นการหาคำตอบโดยผ่านเครื่องมือที่เชื่อถือได้ ถ้าคำตอบที่เราต้องการจะได้คือ การศึกษาที่มีคุณภาพ จะตอบว่า ครูต้องดี มีศักยภาพ แค่นี้คงไม่ถูกแน่ เพราะถ้าแค่นี้อบรมกันให้แห้งไปเลยก็แก้ปัญหาได้แล้ว ฮา แต่ต้องมองแบบรอบด้าน แล้วก็มองต่อว่าจะแก้อย่างไร แล้วอะไรจะนำไปใช้แก้ปัญหานั้นได้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด

เราอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมได้ และเราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วครับ แต่ถ้าเราเห็นเป้าที่ต้องการ แล้วทำไปเรื่อยๆ เราก็จะไม่หลงทาง หรือแก้ปัญหานี้แล้วเจอะกับอีกสิบปัญหาใหม่ครับ

ที่สำคัญ การวิจัยไม่ได้ใช้เพื่อการแก้ปัญหาอย่างเดียวครับ แต่นักวิจัยจะต้องถอดองค์ความรู้จากการดำเนินการในเรื่องนั้นออกมาให้ได้ครับ ซึ่งอันนั้นสำคัญมากสำหรับการขยายผล 

อือ เอาอีกสักมุมมองหนึ่งนะครับ ระหว่างการเป็นวิทยากร การจัดอบรม และการวิจัย อันไหนสร้างประโยชน์ให้กับต้นสังกัดมากที่สุด อย่างแรก ต้นสังกัดเกือบจะไม่ได้อะไรมาก แถมบางคนอาจจะคิดไปอีกทางหนึ่งว่า เบียดบังเวลาทำงานอื่นที่สำคัญกว่าไปหาเงินค่าวิทยากร (อันนี้ก็มองแคบไปนิดหนึ่งครับ) ความจริงการออกไปบรรยาย ทำให้คนข้างนอกเกิดความมั่นใจต้นสังกัดมากขึ้นในแง่วิชาการด้วยครับ เป็นการประชาสัมพันธ์ต้นสังกัดไปในตัว

กิจกรรมอย่างที่สอง การจัดอบรม อันนี้ได้แน่ๆ ก็คือการประชาสัมพันธ์ต้นสังกัด การผลิตงานการบริการวิชาการแก่ชุมชน อันนี้ได้มากกว่าอย่างแรกแน่นอน แต่อาจจะต้องควักกระเป๋าเองบ้าง

ส่วนกิจกรรมอย่างที่สาม ผมว่าหน่วยงานต้นสังกัดมีแต่ได้กับได้ ได้ปริมาณงานด้านการวิจัย ได้งบอุดหนุนสถาบัน ได้การยอมรับจากชุมชน ได้การยอมรับในวงวิชาการ ได้อาจารย์ที่มีคุณภาพ เอ้อ อาจารย์คุณภาพได้มายังงัย ง่ายๆ ครับ ถ้าใครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่อ่านจากตำราชาวบ้านมาบอกลูกศิษย์ต่อ มันจะต่างอะไรกับให้ลูกศิษย์ไปอ่านเอง แต่การวิจัยเป็นการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับอาจารย์ที่ชัดเจนมาก (จำได้ว่าเคยเขียนบันทึกไปหลายครั้งแล้ว แต่อยากพูดซ้ำในประเด็นหนึ่งครับ ผมเคยเห็นเอกสารประกอบการสอนของอาจารย์สถาบันหนึ่ง ฮือ หนังสืออ้างอิงเมื่อสักสามสิบปีที่แล้ว เลยสงสัยว่าทำไมอาจารย์อ้างอิงหนังสือเก่ามากๆ ขนาดนี้ แล้วได้คำตอบหลังว่า ก็อาจารย์เขาเอาวิทยานิพนธ์เขามาทำเป็นเอกสารประกอบการสอนงัย อันนี้ไม่รู้้ว่าจะแสดงถึงอะไรได้บ้างครับ อาจารย์ขาดการศึกษาค้นคว้าที่ต่อเนื่อง หรืออาจารย์ท่านมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งงานวิจัยจะเป็นตัวหนึ่งที่จะพลักดันอาจารย์สู่การเรียนรู้ตลอดเวลาครับ) เมื่ออาจารย์ได้รับการยอมรับทางวิชาการ ตำแหน่งวิชาการก็ตามมา ซึ่งอันนั้นก็ได้รับสถาบันด้วยเช่นกัน

เอ๋ แล้วมีเหตุผลอะไรที่สถาบันไม่ควรที่จะสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยบ้าง และมีเหตุผลอะไรบ้างที่จะบอกกับตัวอาจารย์เองว่า อาจารย์ไม่ควรทำวิจัย ผมนึกไม่ออก มีใครนึกออกคุยกันได้นะครับ

(เอ๊ะ ผู้เข้าร่วมสัมมนาเงยหน้ามองอะไรกัน คิดได้ว่า มองเห็นภาพเดียวกันแล้ว เราจะเดินหน้าพร้อมกันอย่างมีพลังครับ อินชาอัลลอฮ์ฺ)

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 314520เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาอ่านบันทึกก่อนทำหน้าที่ครับ (ไปเป็นวิทยากรที่ศูนย์เยาวชนยะลาให้ สช. ยะลาครับ) เผื่อได้ประเด็นพูดคุย คำตอบของผมไม่มีเหตุผลได้ที่อาจารย์จะไม่ทำวิจัย เพราะทุกการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการต่างๆเป็นหน้าที่ของเราทุกคนครับ อิอิ

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد 

แสวงหาความรู้เป็นหน้าที่ของผู้รู้ครับ เราเฝ้าดุอาว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ขอพระองค์เพิ่มพูนความรู้แก่ฉัน" แต่เราไม่มีอะไรที่แสดงให้เห็นถึงว่าเราได้พยายามเพิ่มพูนความรู้ของเราเลย

นอกจากนั่งเรียนแล้ว การค้นคว้า การวิจัยเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มพูนความรู้ครับ

  • จากประสบการณ์ที่ทำมา ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ "จุดที่อาจจะเป็นตัวบอกถึงความล้มเหลวของการพัฒนาด้วยกระบวนการนี้คือ ขาดการติดตาม ขาดการกระตุ้นที่ต่อเนื่องครับ"
  • เมื่อเราคิดจะช่วยต้องช่วยทั้งระบบ การบรรยายทำได้แค่กระตุ้น แต่การทำจริงๆ อยู่ที่ผู้บริหารและความตระหนักของครู
  • อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องหนักสำหรับผม คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ฝังลึก โบราณเคยจัดการเรียนการสอนอย่างไร ทุกวันนี้ก็เลียนแบบอยู่
  • ครับ.. วิจัยช่วยครูอาจารย์ได้มาก.. ผมเองก็ยังไม่ได้ทำวิจัย แต่คิดว่าสมองผมได้ความรู้ใหม่ๆมาประดับเสมอ ผมชอบอ่าน อ่านแล้วคิด ไตรตรอง โดยเฉพาะอัลกุรอานที่เป็นแหล่งความรู้(คิดว่า)แหล่งเดียวที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และไม่มี่ความขัดแย้งเลย  อย่างอายัตที่ว่า

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

ประเด็นชัดมากครับ เนื่องจากการเพิ่มพูนความรู้ทำได้หลากหลายวิธีครับ ซึ่งจากที่เป็นความรู้ในตัวของเราแล้ว ทำอย่างไรให้ความรู้ดังกล่าวนั้นถูกรับรู้และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องอีกรอบ อย่างที่เรารับรู้กันครับ ความรู้ที่ตกผลึกแล้วก็มี ซึ่งก็คือ ที่เป็นนัคลีึ แต่เรายังคงต้องพิสูจน์และต่อยอดในความรู้ที่เป็นอัคลีครับ อันนี้ไม่รู้จบ

คำถามของอาจารย์จารุวัจน์ที่ถามว่า

ทำไมการเข้าไปมีส่วนร่วมของผมกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาในสามจังหวัดต้องด้วยการทำวิจัย ฮือ น่าคิดนะครับว่า ถ้าไม่ใช่การทำวิจัย แล้วมีอะไรดีกว่านี้บ้าง

จำได้ว่าเมื่อเกือบ 14-15 ปีที่แล้ว ดร.รุ่ง แก้วแดง ตำแหน่งในขณะนั้นคือ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (ชื่อตำแหน่งน่าจะประมาณนี้) หลังจากที่ได้จัดอบรมผู้บริหารครูอาจารย์โรงเรียนเอกชนสามัญและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาอย่างต่อเนื่อง  ท่านก็ถามคำถามนี้ในที่ประชุมผู้บริหารโรงเรียนเอกชนซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเอเซีย ในครั้งนั้นผมได้มีโอกาสนำเสนอว่า การอบรมเป็นการพัฒนารูปแบบหนึ่งมีประโยชน์ที่ไม่อาจปฏิเสธ พวกเราชาว สช.ต่างซาบซึ้งและขอขอบพระคุณท่านและผู้เกี่ยวข้องในโอกาสนี้ แต่ จะดีไม่น้อยหากพวกเราชาว สช.จะได้รับโอกาสเข้าไปนั่งเรียนในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่านี้ ซึ่งคิดว่า การเรียนในระดับป.โทหรือเอกจะเป็นการปรับและพัฒนาครูเอกชนทั้งระบบคิด... หลังจากนั้นไม่นาน โรงเรียนก็ได้รับหนังสือให้ทุนเรียน ป.โท แต่... ผจก.ร.ร.ในขณะนั้นบอกว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะส่งครูเรียน ป.โท (เศร้า)

ขอบคุณครับ

คำตอบน่าสนใจมากครับ 

คำถามของอาจารย์จารุวัจน์ที่ถามว่า

ทได้รับโอกาสเข้าไปนั่งเรียนในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่านี้ ซึ่งคิดว่า การเรียนในระดับป.โทหรือเอกจะเป็นการปรับและพัฒนาครูเอกชนทั้งระบบคิด...

ถ้าได้ประเด็นนี้ก็ถือว่า "พัฒนาอย่างครบวงจรครับ"

  • "คำตอบคือ คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักสิ่งที่ผมจะอบรม"
  • ได้พบประสบการณ์เดียวกับอาจารย์บ่อยครั้งมากเลย
  • สังเกตว่าผู้คนเขามีแฟชั่นตามกันเข้าอบรมตามกระแส
  • เป็นด้วย...กลัวตกเทรนด์ู้...ซึ่งแปลกดี
  • แปลกใจว่าทำไมเขาไม่คิดว่า
  • ที่เสนอเรื่องใหม่ที่เขาไม่รู้จักให้นั้น
  • หากเขาได้เข้าอบรมเป็นรุ่นแรกๆ...
  • เขาคือผู้นำกระแส
  • สรุปเรื่องใจคนเดาทางไม่ง่ายเลยนะคะ....อาจารย์
  • ......
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

ขอบคุณครับคุณหมอหมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ 

สบายดีครับ แต่อาจจวุ่นๆ หน่อยหนึ่ง ฮิฮิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท